BYD ยืนยัน "คงราคาเดิมทุกรุ่น" หลังรัฐออกมาตรการ EV3.5
เรเว่ ออโตโมทีฟ ออกประกาศราคารถยนต์ไฟฟ้าของ BYD ทุกรุ่นราคาเดิม หลังสิ้นสุดมาตรการ EV3 รับเงินอุดหนุนสูงสุด 1.5 แสนบาท พร้อมออกมาตรการ EV3.5 ต่อ
บริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้า BYD ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ประกาศ "คงราคาเดิม" ภายหลังรัฐบาลออกมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ซึ่งประกาศผ่านทาง Facebook Fanpage : BYD RÊVER Thailand
BYD ลุ้นแซงเทสลา ชิงบัลลังก์แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้ายอดขายสูงสุดในโลก
“BYD” แซง “เทสลา” ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าไตรมาสสุดท้ายปี 2023
BYD SEAL เปิดราคา 3 รุ่นย่อยเริ่ม 1.32-1.59 ล้านบาท พร้อมส่งมอบทันที
ทั้งนี้ การประกาศคงราคาเดิมตามโพสต์ดังกล่าวสำหรับ BYD (บีวายดี) ทุกรุ่นโดยมีราคาดังนี้
BYD ATTO 3 Standard Range ราคาจำหน่ายอยู่ที่ 1,099,900 บาท
BYD ATTO 3 Extended Range ราคาจำหน่ายอยู่ที่ 1,199,900 บาท
BYD DOLPHIN Standard Range ราคาจำหน่ายอยู่ที่ 699,999 บาท
BYD DOLPHIN Extended Range ราคาจำหน่ายอยู่ที่ 859,999 บาท
BYD SEAL Dynamic ราคาจำหน่ายอยู่ที่ 1,325,000 บาท
BYD SEAL Premium ราคาจำหน่ายอยู่ที่ 1,449,000 บาท
BYD SEAL AWD Performance ราคาจำหน่ายอยู่ที่ 1,599,000 บาท
สำหรับ การประกาศคงราคาตามโพสต์ดังกล่าวมีผลตั้งแต่ วันที่ 1-31 มกราคม 2567
ก่อนหน้านี้ มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 1 หรือ EV3 มีการสนับสนุนเงินชดเชยสูงสุด 1.5 แสนบาท
ล่าสุด นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) กล่าวเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วงเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2567 – 2570) โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2567 เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และผลักดันไทยก้าวสู่การเป็นฐานผลิตชั้นนำของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค โดยครอบคลุมทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยสิทธิประโยชน์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เงินอุดหนุน การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูป และการลดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยเงินอุดหนุนจะเป็นไปตามประเภทของรถ และขนาดของแบตเตอรี่ ดังนี้
- ลดอากรขาเข้าไม่เกิน 40% สำหรับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU) ที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรก (พ.ศ. 2567 – 2568)
- ลดอัตราภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท
กรณีรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คันในปีที่ 1 75,000 บาท/คันในปีที่ 2 และ 50,000 บาท/คันในปีที่ 3-4
กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คัน ตลอดระยะเวลา 4 ปี เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ
โดยได้กำหนดเงื่อนไขการลงทุนในประเทศ ให้ผู้ได้รับการสนับสนุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 ในอัตราส่วน 1 : 2 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน) และจะเพิ่มอัตราส่วนเป็น 1 : 3 ในปี 2570 โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเดิมที่เข้าร่วมมาตรการ EV3 แล้ว หากมีความประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการ EV3.5 ให้สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแต่ละมาตรการภายใต้มาตรการ EV3.5 ซึ่งกรมสรรพสามิต คาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 34,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 4 ปี
นอกจากนี้ กรมสรรพสามิตยังขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 จากเดิมที่ต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ให้ขยายเวลาเป็นต้องจำหน่ายภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 เพื่อให้ผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้าในช่วงปลายปี 2566 สามารถยื่นจดทะเบียนได้ทันภายในเดือนมกราคม 2567
วันหยุดเดือนมกราคม 2567 เช็กวันหยุดราชการ-หยุดยาววันไหนบ้าง
อัปเดต!“เงินอุดหนุนบุตร 2567”เงื่อนไขรับสิทธิ-ปฏิทินรับเงินเช็กที่นี่!