Isuzu D-Max EV กระบะไฟฟ้า 100% ค่าย "อีซูซุ" ผลิตในไทยปี 68
อีซูซุ ประกาศนโยบายเป็นกลางทางคาร์บอนระดับโลก เผยโฉมรถต้นแบบกระบะไฟฟ้า Isuzu D-Max EV
อีซูซุมอเตอร์ ประเทศญี่น และ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด แถลงนโยบายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในระดับโลกและระดับประเทศ ผ่าน “โซลูชั่นอันหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” พัฒนาพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบการจัดการและกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
การประกาศนโยบายครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแต่รถไฟฟ้าแบตเตอรี่ หรือรถไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน แต่ยังรวมถึงพลังงานอื่นๆ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนกับเครื่องยนต์สันดาปภายในอีกด้วย

สำหรับรถที่ อีซูซุ นำมาจัดแสดง 4 รุ่น ดังนี้
รถปิกอัพไฟฟ้าต้นแบบ “อีซูซุ ดีแมคซ์” หรือ Isuzu D-Max EV Concept
รถปิกอัพ 4 ประตู ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Full Time โดยใช้แพลตฟอร์มเดียวกัน กับรถปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซล
ชุดมอเตอร์ไฟฟ้าคู่และเฟืองท้ายภายใต้ “eAxle” ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ทำงานร่วมกัน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ผสานกับช่วงล่างด้านหลังใหม่หมดแบบ De-Dion มั่นใจบนทุกสภาพถนน เหมาะสมกับการใช้งานของรถปิกอัพ สร้างดุลยภาพในการขับขี่ทั้งความนุ่มนวลและความสามารถในการบรรทุกอันยอดเยี่ยม
- มอเตอร์ไฟฟ้ากำลังสูง 2 ตัว แรงบิดรวมกัน 325 นิวตัน-เมตร
- มอเตอร์ไฟฟ้าคู่กำลังสูงและการออกแบบโครงและตัวถังที่แข็งแกร่งช่วยเพิ่ม ความสามารถในการลากจูงได้
ทั้งนี้ มีแผนจะเริ่มผลิตเพื่อส่งออกอย่างเป็นทางการจากฐานการผลิตประเทศไทยในปี 2568 รวมถึงจะเปิดตัวในประเทศภาคพื้นทวีปยุโรปบางประเทศ เช่น นอร์เวย์ ในปี 2568 จากนั้นมีกำหนดการจะเปิดตัวในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไทย ตลอดจนประเทศหรือภูมิภาคอื่นๆ เป็นลำดับถัดไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและความพร้อมของสาธารณูปโภคด้านสถานีชาร์จรถไฟฟ้า
รายละเอียดตัวรถ
- ระบบขับเคลื่อน: ขับเคลื่อน 4 ล้อ Full-time
- กำลังรวมสูงสุด: 130 กิโลวัตต์
- ระบบขับเคลื่อน eAxle ด้านหน้า : กำลังสูงสุด 40 กิโลวัตต์, แรงบิดสูงสุด 108 นิวตัน-เมตร
- ระบบขับเคลื่อน eAxle ด้านหลัง : กำลังสูงสุด 90 กิโลวัตต์, แรงบิดสูงสุด 217 นิวตัน-เมตร
- แรงบิดรวมสูงสุด : 325 นิวตัน-เมตร
- ความเร็วสูงสุด: มากกว่า 130 กิโลเมตร/ ชั่วโมง
- ความสามารถในการลากจูง : 3.5 ตัน
- ประเภทแบตเตอรี่: ลิเธียมไอออน
- ความจุแบตเตอรี่สูงสุด : 66.9 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
- น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 1 ตัน
รถปิกอัพ “อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮ-แลนเดอร์ MHEV” 4 ประตู
เป็นระบบการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก โดยการติดตั้งแบตเตอรี่ 48 โวลต์ ทำหน้าที่เสริมกำลังขับเคลื่อนให้กับเครื่องยนต์ 1.9 Ddi Blue Power ลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ในช่วงออกตัว รวมถึงช่วยลดการสั่นสะเทือนในจังหวะ สตาร์ทเครื่องยนต์และช่วยลด CO2
“อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮ-แลนเดอร์ MHEV” เป็นรถทดลอง ประกอบเพื่อเป็นหนึ่งในทางเลือกให้กับลูกค้าในการลด CO2 โดยรถประเภทนี้อาจจะเหมาะกับ ความต้องการของลูกค้าบางกลุ่ม ซึ่งเราอยู่ในระหว่างการสำรวจตลาดก่อนกำหนด แผนการจำหน่าย ต่อไป
รถบรรทุกไฟฟ้า “อีซูซุ เอลฟ์ อีวี” หรือ Isuzu Elf EV
พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด Isuzu Modular Architecture and Component Standard : I-MACS สำหรับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พร้อมการออกแบบ “Center Drive System EV” ซึ่งเป็นการออกแบบรถบรรทุกไฟฟ้าโดยเฉพาะ กระจายน้ำหนักรถ ระยะ ช่วงล้อหลัง และรัศมีวงเลี้ยวที่เหมาะสม เหมาะกับการใช้งานบรรทุกเบา วิ่งระยะสั้น อาศัยความคล่องตัว โดยใช้แพลตฟอร์มเดียวกันกับรถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซล
เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ มีนาคม 2566 ในขณะเดียวกันเรากำลังพัฒนาเทคโนโลยีการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping System) ในระยะเวลาอันสั้นเพื่อลดระยะเวลาในการจอดเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ อีกทั้งยังสามารถเลือก แบตเตอรี่ ได้ตั้งแต่จำนวน 2-5 ก้อน เพื่อให้เหมาะกับระยะทางการขนส่ง
รายละเอียดตัวรถ
- ระบบขับเคลื่อน : ขุมพลังไฟฟ้าแบบมอเตอร์ไฟฟ้าเดี่ยวแบบ 4X2 (ขับเคลื่อนล้อหลัง)
- ช่วงล่างด้านหน้า : ช่วงล่างแบบอิสระ
- ช่วงล่างด้านหลัง : ช่วงล่างแบบแหนบ
- ระบบเบรก : ดิสก์เบรก หน้าและหลัง พร้อมเบรกมือไฟฟ้า และระบบ Auto Brake Hold
- ประเภทแบตเตอรี่ : ลิเธียมไอออน
- ความจุแบตเตอรี่ (ที่ใช้งานได้) : 100 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
- กำลังสูงสุด : 150 กิโลวัตต์
- แรงบิดสูงสุด : 370 นิวตัน-เมตร
- ขนาดรถ : (ยาว) 6,098 มม. × (กว้าง) 1,995 มม. × (สูง) 2,214 มม.
- ระยะฐานล้อ : 3,395 มม.
- น้ำหนักรถเปล่า : 3.2 ตัน
- น้ำหนักรวมการบรรทุก : 7.5 ตัน
- การชาร์จ : รองรับมาตรฐานการชาร์จแบบ ChadeMo อีกทั้งมีระบบ Regenerative Braking ซึ่งสามารถชาร์จในระหว่างการเบรกกลับเข้าแบตเตอรี่และผู้ใช้งานสามารถเลือกระดับการชาร์จพลังงานกลับได้ อีซูซุได้เตรียมมาตรฐานการชาร์จที่เหมาะสมกับแต่ละประเทศ เช่น เครื่องชาร์จ CCS2 ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา เพื่อรองรับการใช้งานในยุโรป เป็นต้น
ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ ADAS (Advanced Driver Assistance Systems)
- ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (Advanced Emergency Braking System (AEBS))
- ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ เมื่อคนขับไม่ตอบสนองต่อการขับขี่ (Emergency Driving Stop System (EDSS))
- ระบบแจ้งเตือนออกนอกเลน (Lane Departure Warning System (LDWS))
- ระบบช่วยเตือนขณะถอย (Rear Cross Traffic Alert (RCTA))
- ระบบตรวจป้ายจราจร (Traffic Sign Recognition (TSR))
- ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน พร้อมฟังก์ชั่น Stop & Go (Full Range Adaptive Cruise Control (ACC))
- ระบบควบคุมรถให้อยู่ในเลน (Lane Keep Assist (LKA))
- ระบบควบคุมความเร็วตามป้ายจราจร (Intelligent speed assistance (ISA))
- ระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ (Adaptive Driving Beam (ADB))
ช่างภาพพีพีทีวี
Isuzu Elf FCEV

รถบรรทุกไฟฟ้าขนาดกลางเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน หรือ Isuzu Elf FCEV
การพัฒนาร่วมกัน ระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจภายใต้โครงการ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) เหมาะกับการใช้งานบรรทุกหนัก สามารถเติมเชื้อเพลิงได้รวดเร็ว และไม่ก่อให้ เกิดมลพิษเป็นการเพิ่มตัวเลือกรถบรรทุกในตลาด ตอบรับกับความต้องการก้าวสู่ยุคความเป็นกลางทาง คาร์บอนโดยในญี่ปุ่นได้มีการวิ่งทดสอบตามการใช้งานจริงตามเมืองและประเภทการใช้งานต่างๆ จำนวน 90 คัน เมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่โตเกียว ฟุกุชิมะ และฟุกุโอกะ ส่วนประเทศไทย ได้มีการวิ่งทดสอบแล้วจำนวน 4 คัน เมื่อเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน 2566
รายละเอียดตัวรถ
- ความจุก๊าซไฮโดรเจน : 10.5 กิโลกรัม
- ระยะทางวิ่งสูงสุด : 260 กิโลเมตร ขึ้นไป
- กำลังสูงสุด : 109 กิโลวัตต์
- ความเร็วสูงสุด : 80 กิโลเมตร/ ชั่วโมง
- ขนาดรถรวมตัวถัง : (ยาว) 6,300 มม. mm × (กว้าง) 2,200 มม. × (สูง) 2,960 มม.
- ระยะฐานล้อ : 3,395 mm
- น้ำหนักรถเปล่า : 2.82 ตัน
- น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก : 7.5 ตัน
รู้จัก “รยูจุนยอล” นักแสดงมากความสามารถ หนุ่มผู้ครองหัวใจสาวฮันโซฮี
ลูกน้องบิ๊กโจ๊ก แฉ! เส้นทางการเงิน “นายพล ต.-ครอบครัว”โยงเว็บพนัน BNK
เริ่มแล้ว! พายุฤดูร้อนถล่มหนัก! ฝนตก-ลูกเห็บตก บ้านเรือนเสียหายเพียบ