เตือนหน้าร้อน! ฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง “หมา-แมว” ก็เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
รู้หรือไม่? ฮีทสโตรก ไม่ได้เกิดแค่ในคนแต่สามารถเกิดได้กับสัตว์เลี้ยง สุนัข-แมวได้เช่นกัน รู้ทันสัญญาณและวิธีรักษาเบื้องต้นก่อนส่งถือมือสัตวแพทย์อย่างทันท่วงที เพราะฮีทสโตรก ในสัตว์อันตรายไม่แพ้ในคน เสี่ยงตายได้หากช่วยไม่ทัน
โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (heat stroke) หรือ ภาวะช็อคจากความร้อนสูง ไม่ได้เกินขึ้นเฉพาะกับคนเท่านั้นแต่กับสัตว์ สุนัข แมวและสัตว์ทุกชนิดสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อสัตว์มีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมากกว่า 106-109 องศาฟาเรนไฮด์ ประมาณ(40 องศาเซลเซียสขึ้นไป)ซึ่งภาวะนี้พบมากในสัตว์ที่อ้วนหรือมีปัญหาตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น และสุนัขพันธุ์หน้าสั้น โดยภาวะนี้จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อส่วนต่างๆในร่างกาย
แพทย์แนะวิธีสังเกตอาการฮีทสโตรกแตกต่างจากเป็นลมปกติอย่างไร ?
ตั้งเป้าปี 68 ไทยปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ชวนร่วมเป็นอาสาปศุสัตว์เฝ้าระวังโรคฯ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ heat stroke
- การปล่อยสัตว์เลี้ยงวิ่งเล่นในบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้นเป็นเวลานาน
- ถูกขังในบริเวณที่อากาศไม่ไหลเวียน ตากแดด ไม่มีน้ำดื่มเพียงพอ
- การถูกเป่าขนด้วยไดร์เป่าขนความร้อนสูง
สัญญาณฮีทสโตรกในสัตว์
- สัตว์หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว อาเจียน ท้องเสีย
- มีภาวะขาดน้ำ หากไม่ได้รับการแก้ไขทันทีอาการจะมีความรุนแรงขึ้นโดยสัตว์จะมีภาวะหายใจลำบาก
- เยื่อเมือกสีม่วงคล้ำ เกิดจุดเลือดออก
- เป็นลม ชัก เสียการทรงตัว
- ปัสสาวะน้อย ท้องเสียเป็นเลือด และอาเจียนเป็นเลือด
- เหงือกที่เคยมีสีแดงเข้มอาจเริ่มมีสีซีดหรือซีดอมเทา
- ชีพจรอ่อน อุณหภูมิที่เคยสูงขึ้นอาจลดต่ำลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติ และอาจพบอาการทางประสาทได้ เช่น ชัก และเสียชีวิตในที่สุด
ขณะที่สัตว์เลี้ยงมีผลกระทบจากฮีทสโตรกได้ทั้งระบบร่างกายเหมือนกับคน อุณภูมิที่สูงส่งผลต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงไตซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะไตวาย เนื้อเยื่อบริเวณ ทางเดินอาหารและลำไส้ถูกทำลายและเกิดเป็นเนื้อตาย ส่งผลให้สัตว์เกิดภาวะท้องเสียและอาเจียนเป็นเลือดอีกทั้งอาจทำให้บวมน้ำและเนื้อสมองตายเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้ผนังเส้นเลือด หรือเซลล์ประสาทถูกทำลายอย่างถาวร รวมทั้งอาจทำให้เซลล์ตับและกล้ามเนื้อหัวใจตาย
รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี นำสุนัขบำบัด เยียวยาจิตใจผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาฮีทสโตรกในสัตว์
- การลดอุณหภูมิร่างกาย ด้วยการเช็ดตัว อาบน้ำ หรือสเปรย์ด้วยน้ำเย็น และอาจเป่าด้วยพัดลมเพื่อช่วยในการระเหยของความร้อน ในกรณีที่อุณหภูมิสูงมากอาจทำการสวนทวารหนักด้วยน้ำเย็น แต่การสวนส่งผลให้ไม่สามารถวัดอุณหภูมิร่างกายทางทวารหนักได้ และต้องขีดตัวหนาๆไว้เลยว่า ไม่ควรใช้น้ำแข็งหรือน้ำที่เย็นจัดเพราะจะทำให้เส้นเลือดส่วนปลายหดตัว และสุนัขเกิดอาการสั่น ซึ่งจะไปชะลอกระบวนการลดความร้อนของร่างกาย
- ให้ดื่มน้ำเย็น ( ที่ไม่เย็นจัดเช่นกัน ) และไม่บังคับจับกรอก
- เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลงถึง 103 องศาฟาเรนไฮด์(39 องศาเซลเซียส) ให้หยุดเช็ดตัว แล้วหมั่นวัดอุณหภูมิสุนัขทุกๆ 10นาทีในอีก 2-3 ชั่วโมงต่อมา โดยอุณหภูมิร่างกายอาจจะยังคงลดต่ำลงเรื่อยๆจนถึงระดับต่ำกว่าปกติหรือเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติได้อีก แล้วรีบพาสุนัขมาหาคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายต่อไป
- ให้สารน้ำพวก crystalloid fluids ทางเส้นเลือดแบบ bolus ในขนาด 20-30 ml/kg
- ในกรณีที่มีความดันเลือดต่ำมากควรให้ hetastarch ขนาด 5-10 ml/kg ควบคู่กับ crystalloid fluids
- ถ้าพบอาการของ DIC ให้ทำ plasma transfusion ขนาด 10-20 ml/kg/d
วิธีป้องกันที่แนะนำ คือ ไม่พาออกไปเดินเล่นตอนแดดร้อนๆ ให้เลือกช่วงเช้า หรือช่วงเย็นแดดไม่แรงมากนัก ห้องหรือกรงที่สัตว์เลี้ยงอยู่ต้องระบายอากาศได้ดี และไม่ควรไม่ขังสุนัขไว้ในรถ และย้ำว่าต้องมีน้ำให้สัตว์เลี้ยงกินตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงนี้ที่อากาศร้อนจัด อีกทั้งสัตว์เลี้ยงอย่างหมาและแมวไม่สามารถบอกเราได้เลยว่าพวกเขากำลังป่วยตรงไหนหรือเกิดภาวะอะไรอยู่ คนเลี้ยงและดูแลอย่างเราๆ จึงต้องใส่ใจและดูแลอย่างเต็มที่ เพราะเรานี้แหละคือโลกทั้งใบของเขา
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสัตวแพทย์ 4
28 กันยายน วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก - ยึดคาถา 5 ย. ลดเสี่ยงโรค