กินยาคุมกำเนิดนานแค่ไหน ? เพิ่มความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก-มะเร็งเต้านม
สาวๆ หลายคนอาจเคยได้ยินว่ากินยาคุม เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก นั้นคือเรื่องจริงที่สาวๆทุกคนต้องทราบ แต่กินบ่อยแค่ไหน นานแค่ไหน แล้วเลือกคุมกำเนิดแบบไหน? ลดความเสี่ยงได้
ทางการแพทย์ ได้ระบุเอาไว้ว่า การกินยาเม็ดคุมกำเนิด ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นมะเร็ง แต่การกินเป็นเวลานาน 5-10 ปี ต่างหากที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งมากขึ้น เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มากกว่าคนที่ไม่ได้กิน 2 – 4 เท่าเลยทีเดียว และเมื่อหยุดกินยาคุมความเสี่ยงก็จะลดลงตามไปด้วย
อย่างไรก็มะเร็งเต้านม มีปัจจัยหลักที่กระตุ้นทำให้คนไข้แสดงการเป็นมะเร็งขึ้นมาจากความผิดปกติของยีน การได้รับฮอร์โมนจากยาคุมกำเนิดอาจไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่มะเร็งเต้านมบางชนิดจะได้รับการกระตุ้นด้วยฮอร์โมน
พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก” ทำไมผู้หญิงถึงเสี่ยงทุกคน?
เช็กสัญญาณ “มะเร็งเต้านม” และคนกลุ่มไหนบ้างที่เสี่ยงเกิดโรค
ดังนั้นการได้รับยาคุมกำเนิดอาจมีส่วนในการกระตุ้นให้เป็นมะเร็งได้ เช่นเดียวกับมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุหลักเกิดจาก การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งการกินยาคุมกำเนิดเป็นเวลายาวนาน ก็อาจจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ รวมทั้งไวรัสชนิดนี้ด้วย
วิธีการใช้ยาคุมกำเนิดอย่างปลอดภัยมากที่สุด
- ใช้ยาคุมกำเนิดเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
- หลีกเลี่ยงการกินยาคุมกำเนิดติดต่อกันเกิน 5 ปี รวมถึงควรใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
- เปลี่ยนเป็นใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดที่ไม่มีฮอร์โมนแทน เช่น ถุงยางอนามัย ทำหมัน ใส่ห่วงชนิดที่ไม่มีฮอร์โมน เป็นต้น
- ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสม จะความเสี่ยงน้อยกว่าชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
- คุมกำเนิดแบบถาวร หรือการทำหมัน เหมาะสำหรับคนไม่ต้องการมีลูกตลอดชีวิต
- งดการมีเพศสัมพันธ์ (ไม่นิยมนัก)
วิธีไหนที่เหมาะกับเรามากที่สุด” คำนึกถึงปัจจัยเหล่านี้
- ช่วงวัย ว่าสมควรกับการตั้งครรภ์แค่ไหน เช่นอายุน้อยเกินไป อายุมากเกินไป
- จำนวนครั้งหรือความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ลักษณะการใช้ชีวิต เช่น งานที่ทำ สามารถทานยาได้ตรงตามเวลาหรือไม่
- มีความต้องการในการมีบุตรมากน้อยแค่ไหน
- โรคหรือปัจจัยที่เสี่ยงต่ออันตรายเมื่อตั้งครรภ์หรือเปล่า
ไขข้อสงสัย กินยาคุมกำเนิดนานๆแล้วเป็นมะเร็งเต้านม จริงหรือไม่ ?
หากมีความเสี่ยงโรคประจำตัว ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเริ่มใช้ฮอร์โมน และหากเราจำเป็นต้องรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ควรวางแผนตรวจสุขภาพตัวเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อป้องกันและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และหากพบความผิดปกติของร่างกาย เช่นน้ำหนักลดอย่างไม่มีสามารถ ปวดท้อง คลำเจอก้อน หรือตกขาวผิดปกติ รีบพบแพทย์โดยทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลเปาโล
รวมวิธีคุมกำเนิด เลือกที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ ปลอดภัยหายห่วง
ติดเชื้อ HPV ไม่เท่ากับเป็นมะเร็งปากมดลูก? เช็กความเสี่ยงและวิธีป้องกัน