เดินลุยน้ำเท้าเปล่า ระวังโรคฉี่หนู เผยอาการสุ่มเสี่ยง อันตรายถึงชีวิต
น้ำท่วม นอกจากบั่นทอนจิตใจแล้ว ยังเสี่ยงสารพัดโรค หนึ่งในโรคอันตรายคือ โรคฉี่หนู ที่ตั้งแต่ต้นปีคร่าชีวิตแล้ว 26 ราย แพทย์เผยอาการสุ่มเสี่ยง ระยะฟักตัวไม่แน่นอน ติดเชื้อได้จากหลายสาเหตุ แนะไม่ควรลุยน้ำเท้าเปล่า และล้างน้ำให้สะอาดทันทีหลังขึ้นจากน้ำ
โรคฉี่หนู (Leptospirosis) ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 3 กันยายน 2567 พบผู้ป่วย 2,452 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 55-64 ปี (20.5%)และพบผู้เสียชีวิต 26 ราย สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไปพบแพทย์ช้า และซื้อยามารับประทานเอง โดยโรคฉี่หนู พบมากในหน้าฝนและพื้นที่น้ำท่วมขัง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งในคนและสัตว์ การติดเชื้อในคนมีสาเหตุมาจากการสัมผัสดิน น้ำ
สรุปน้ำท่วม-ดินถล่ม คร่าชีวิต 29 ราย เตือน 8 โรคระบาด-ภัยที่ต้องระวัง!
“โรคฉี่หนู” ระบาดหนักหน้าฝน ติดเชื้อเกือบ 2,000 ราย แนะสัญญาณอันตราย!
อาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์ที่มีเชื้อ เช่น สุนัข วัว ควาย หนู สุกร ม้า หรือแม้กระทั่งสัตว์ป่าต่างๆ
อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อโรคฉี่หนู
ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับเชื้อโรคฉี่หนูจะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย มีเพียงประมาณ 10-15% ที่จะมีอาการรุนแรง เมื่อเชื้อโรคฉี่หนูเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย มีระยะฟักตัวก่อนเกิดอาการเร็วหรือช้าในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน บางรายมีอาการเร็วภายใน 2 วัน บางรายนานหลายสัปดาห์หรืออาจจะถึง 1 เดือน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมีอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ และผู้ติดเชื้อก็มีอาการในหลายระดับ บางคนไม่มีเลย หรือบางคนก็อาการรุนแรง มีภาวะแทรกซ้อน และในบางรายเป็นอันตรายถึงชีวิต
อาการเด่นๆ ของโรคฉี่หนู
ผู้ที่เป็นโรคฉี่หนูมักมีอาการที่เป็นลักษณะเด่นๆ 2 ระยะ คือ
อาการระยะแรกของโรคฉี่หนู
- อาการไข้สูง หนาวสั่น
- ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
- ปวดหน้าท้อง
- ปวดต้นขา ปวดน่อง
- เจ็บคอ เจ็บหน้าอก
- ไอ คลื่นไส้ อาเจียน
- ตาแดง เยื่อบุตาบวม มีผื่น
- ต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต ม้ามโต
อาการมักเป็นหลายอย่างๆ ร่วมกัน ไม่เฉพาะเจาะจงกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง คล้ายๆ กับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้ไทฟัส (ไข้รากสาดใหญ่) ซึ่งอาการระยะแรกนี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วอาการจะดีขึ้น แต่หลังจากนั้น 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการในระยะที่ 2 ตามมา
สธ. เร่งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม สนับสนุนชุด V clean ทำน้ำสะอาด 600 ชุด
อาการระยะที่สองของโรคฉี่หนู
เป็นอาการที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของตนเอง ซึ่งมักทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้หลายอย่าง เช่น
- การเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ตาอักเสบ
- หลอดเลือดอักเสบ
- ปอดอักเสบ
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- เลือดออกในเนื้อปอด
- ตัวเหลืองตาเหลือง หรือภาวะดีซ่าน
- ไตวายเฉียบพลัน
- ภาวะเลือดออกง่ายตามอวัยวะต่างๆ และอาจทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลวและเป็นอันตรายถึงชีวิตในที่สุด
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรค เราควรหลีกเลี่ยงการเดินไปในที่น้ำขัง มีน้ำสกปรก หรือสวมใส่รองเท้าบูท และควรล้างเท้าด้วยน้ำสบู่หลังย่ำน้ำสกปรก หรือหากสงสัยว่ามีอาการของโรคฉี่หนู ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที ไม่ควรซื้อยากินเอง และควรแจ้งด้วยว่ามีความเสี่ยงใดมา
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
“น้ำท่วม”โรคติดต่อและภัยอันตรายที่มาพร้อมกัน รู้ทันเฝ้าระวังสุขภาพได้