ไวรัสตับอักเสบบี ภัยเงียบ แพร่ง่าย ก่อโรคร้ายถึงชีวิต
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นภัยเงียบ ก่อโรคร้ายโดยที่ผู้ที่ติดเชื้อไม่มีอาการ
เมื่อติดเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ตับจะก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบ ส่งผลให้ตับทำงานผิดปกติ มีอาการตับบวมโต อ่อนเพลีย ซึ่งไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ, บี, ซี, ดี, อี เป็นต้น แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขประเทศไทย ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี และ ไวรัสตับอักเสบซี
ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมักไม่มีอาการผิดปกติ กว่าจะเข้ามารับการตรวจรักษา ตัวโรคก็พัฒนาเกินระยะที่จะสามารถทำการรักษาให้หายได้ นั่นคือ...เกิดภาวะตับแข็งและมะเร็งตับระยะลุกลามแล้ว
ภัยเงียบ "ไขมันพอกตับ" มีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้กับทุกคน
ชำแหละสำนัก"พระบิดา"พบสกปรก-ของเสียเพียบ
อาการลองโควิด (Long Covid) มีวิธีรักษาอย่างไร? แล้วรักษาหายหรือไม่?
พาหะในการส่งต่อเชื้อ “ไวรัสตับอักเสบบี”
ไวรัสตับอักเสบบีสามารถพบได้ในสารคัดหลั่งทุกชนิดของผู้ติดเชื้อโดยเฉพาะในกระแสเลือด จึงสามารถแพร่เชื้อได้จากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคลหนึ่งได้ โดยช่องทางที่พบว่าเป็นสาเหตุให้มีการแพร่เชื้อมากที่สุดก็คือ ทางเพศสัมพันธ์และการถ่ายทอดจากแม่ที่มีเชื้อสู่ทารก
อาการไวรัสตับอักเสบบี
เมื่อได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าไปในกระแสเลือดและแทรกตัวเข้าไปในเซลล์ตับ ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับเชื้อมักไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจน แต่ในบางรายอาจมีอาการ ดังนี้
- มีอาการคล้ายไข้หวัด
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ตับโตและตัวตาเหลือง
จากนั้นภูมิต้านทานของร่างกายจะพยายามกำจัดเชื้อ หากไม่สามารถกำจัดได้หมดก็จะเกิดภาวะ “ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง”
“มะเร็งสมอง” ภัยเงียบ แต่มีสัญญาณเตือนให้สังเกตได้
ต้นเหตุก่อ “โรคตับแข็ง” และ “มะเร็งตับ”
จากข้อมูลที่มีการศึกษาติดตามผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังไปนาน 5 ปี จะพบว่ามีผู้ป่วยเกิดภาวะตับแข็งประมาณร้อยละ 8-20 คือมีอาการตัวบวมขาบวม ตัวตาเหลือง ซึม สับสน ซึ่งเกินจะเยียวยารักษาให้ดีขึ้น ต้องรอรับบริจาคตับเพื่อต่อการมีชีวิตอยู่ หรืออาจเสียชีวิตด้วยภาวะตับวาย หรืออาจตรวจพบว่ามีก้อนขนาดใหญ่ในตับ ซึ่งก็คือ...มะเร็งตับ
แนวทางการรักษา
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่อาศัยร่างกายมนุษย์ในการดำรงชีพ จึงสามารถแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในร่างกายได้ การติดตามดูนิสัยของเชื้อไวรัสว่าปริมาณเชื้อมีเท่าไร ความสามารถในการแบ่งตัวเร็วหรือช้า และทำลายตับมากหรือน้อย จะเป็นเครื่องมือที่นำมาสู่การประเมินแนวทางการรักษาให้เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย ยกตัวอย่างเช่น
- ถ้าผู้ป่วยมีไวรัสตับอักเสบบีที่นิสัยไม่ดีแบ่งตัวเร็ว มีปริมาณเชื้อมาก และมีตับอักเสบมาก แน่นอนผู้ป่วยรายนี้ก็มีโอกาสเกิดตับแข็งมาก มีโอกาสเกิดมะเร็งตับมาก จึงต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปริมาณไวรัสให้เหมาะสม
- แต่ถ้าผู้ป่วยมีไวรัสตับอักเสบบีปริมาณเชื้อน้อยและไม่ก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบ โอกาสการเกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับก็ย่อมน้อยตาม ก็จะยังไม่ต้องเริ่มการรักษา เพียงแต่ต้องมีการติดตามเป็นระยะๆ และพร้อมที่จะเริ่มให้การรักษาถ้าหากว่านิสัยของไวรัสเปลี่ยนไป ซึ่งในส่วนนี้แพทย์ผู้รักษามีหน้าที่ที่จะอธิบายและให้ความรู้เพื่อให้ผู้ติดเชื้อมีความเข้าในเกี่ยวกับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม...ช่วยรักษา “โรคตับ”
นอกจากติดตามการรักษาแล้ว การดูแลตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งควรปฏิบัติตัวดังนี้
- การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลทำลายตับ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานถั่วบดซึ่งมักมีเชื้อราบางชนิดที่ส่งผลกระทบต่อตับ การรับประทานยาบางชนิด
ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นการช่วยให้ตับแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการพัฒนาของโรคตับ ทั้งนี้ ผู้ที่ทราบว่าตนเองมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ ควรระมัดระวังเรื่องการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลพญาไท