กินเก่ง อายุน้อย หนักเกือบร้อย ระวัง "โรคนิ่วในถุงน้ำดี"
นิ่วในถุงน้ำดี ไม่ใช่โรคไกลตัว เพราะพฤติกรรมการกินส่งผลให้เกิดโรค หากมีอาการต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์
ใครที่เคยคิดว่า “นิ่วในถุงน้ำดี” เป็นโรคไกลตัว อาจต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เนื่องจากพฤติกรรมการกินของคนที่เปลี่ยนไป ทำให้คนส่วนใหญ่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน หรือแม้แต่คนน้ำหนักตัวปกติ แต่มีไขมันและคอเรสเตอรอลสะสมก็เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำดีตกตะกอนจนกลายเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีอาการท้องอืด จุกเสียด ปวดท้องทุกครั้งหลังกินข้าว ซึ่งหากใครมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์
เกิดอะไรขึ้นเมื่อ "ไขมันพอกตับ" โรคที่มาพร้อมการกินและความอ้วน
ส่อง 8 โรคแทรกซ้อนที่ซ่อนใน "ความอ้วน"
พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง หากไม่อยากเสี่ยงโรคนิ่วในถุงน้ำดี
- เลี่ยงและลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเรสเตอรอลสูง เพื่อป้องกันการสะสมในร่างกาย รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากก็มีผลเช่นกัน
- ดูแลสุขภาพ อย่าปล่อยให้เบาหวานมาเยือน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และถุงน้ำดีจะมีการบีบตัวน้อยในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
- อร่อยปากลำบากท้อง ความอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดีเพิ่มขึ้น
- การลดน้ำหนักอย่างหักโหมรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆ จะส่งผลให้ตับทำงานผิดปกติ ตับจะหลังคอเลสเตอรอลมากขึ้น ถุงน้ำดีบีบตัวลดลง จนน้ำดีที่ค้างอยู่ภายในเกิดการตกตะกอนได้
- การใช้ยาคุมกำเนิด หรือใช้ฮอร์โมนทดแทนต่อเนื่องนานๆ จะส่งผลต่อคอเลสเตอรอลที่มากขึ้นและลดการเคลื่อนตัวของถุงน้ำดี
10 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการ "ลดความอ้วน" ที่ควรรู้
10 โรคฮิตสาวใสวัยกลางคน รู้เท่าทันเพื่อเตรียมรับมือ
อาการเฝ้าระวังโรคนิ่วในถุงน้ำดี
- ท้องเฟ้อบริเวณเหนือสะดือ เรอ คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายอาหารไม่ย่อย มักเป็นหลังทานอาหารมันๆ
- ปวดบิดรุนแรงนานกว่าชั่วโมง บริเวณใต้ชายโครงขวา ปวดร้าวจนถึงไหล่ และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วม
- ปวดท้องรุนแรงจนเหงื่อออก เป็นลม โดยมักเป็นหลังกินอาหารมันหรือกินอาหารมื้อหนัก
- อาการดีซ่าน (ตาเหลือง) เกิดขึ้นตามหลังอาการปวดท้อง
ท้องอืด จุดเสียดหลังมื้ออาหาร ทนไม่ไหวมาตรวจ E.R.C.P
การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography) หรือ E.R.C.P เป็นวิธีการส่องกล้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน โดยแพทย์จะทำการส่องกล้องผ่านทางหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ไปจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็ก หลังจากนั้นจะทำการฉีดสารทึบแสงและถ่ายภาพเอกซเรย์
นอกจากการตรวจวินิจฉัย การส่องกล้อง E.R.C.P ยังช่วยในการรักษาภาวะท่อทางเดินน้ำดี หรือท่อตับอ่อนอุดตัน ด้วยการใส่ท่อระบายน้ำดีหรือน้ำย่อยจากตับอ่อน และสามารถรักษานิ่วในท่อทางเดินน้ำดี ด้วยการดึงนิ่วออกได้ในขณะส่องกล้องได้ทันทีอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลพญาไท