เตรียมตัวก่อน “บริจาคเลือด” ให้สุขภาพดี ใครบ้างบริจาคได้ หรือควรเลี่ยง ?
ช่วงเทศกาลปีใหม่ นอกจากเฉลิมฉลองกับเทศกาลแล้ว ส่วนหนึ่งก็เลือกที่จะทำความดีให้กับเพื่อมนุษย์ด้วยกัน ด้วยการ “บริจาคเลือด” ที่เสมือนการส่งต่อชีวิตและเป็นความดีที่ยิ่งใหญ่ แล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนบริจาคเลือดและใครบ้างที่บริจาคได้?
“โลหิต” หรือ “เลือด” เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยผ่าตัด ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ป่วยมะเร็ง รวมทั้งการรักษาหลายๆ อย่างในปัจจุบันนี้ จะไม่สามารถทำได้หากไม่มีโลหิต และยังขาดแคลนต่อเนื่องซึ่งในร่างกายคนเรามีเลือดไหลเวียนอยู่ในตัว เพื่อทำหน้าที่แตกต่างกัน
เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เนื้อเยื่อออกไปขับถ่าย เม็ดเลือดแดงมีปริมาณประมาณร้อยละ 40 – 45 ของปริมาณเลือดทั้งหมด และมีอายุเพียง 120 วัน
BLOOD HERO ปี 3 รวมพลังฮีโร่สุขภาพดี บริจาคโลหิต ช่วยผู้ป่วยทั่วประเทศ
8 ข้อดีเมื่อ "บริจาคโลหิต" มากกว่าการให้ผู้อื่นคือสุขภาพดีของตนเอง
- เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ให้ภูมิคุ้มกันเหมือนทหารปกป้องเชื้อโรคในร่างกาย มีปริมาณ 1% ของเลือด
- เกล็ดเลือด ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนของเซลล์ขนาดเล็ก มีอยู่ประมาณ 5% ของเลือด
- พลาสมา เป็นสารน้ำสีเหลือง มีโปรตีน เกลือแร่ ไขมัน ฮอร์โมน ไวตามิน มีปริมาณร้อยละ 55 ของเลือด
คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิตรวม (Whole Blood)
- เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว
- อยู่ในระหว่างอายุ 17 ปีบริบูรณ์ จนถึงอายุ 65 ปี ทั้งนี้
- ผู้บริจาคโลหิตหากอายุไม่ถึง 18 ปี บริบูรณ์ ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครองตามกฏหมาย
- ผู้บริจาคโลหิตที่มีอายุ 60 ปีถึง 65 ปี ต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติอื่นๆของผู้บริจาคเลือด
- มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 48 กิโลกรัมขึ้นไป
- ไม่อยู่ในระหว่างรับประทานยาปฏิชีวนะ,ยาป้องกันเลือดแข็งตัว, ยาเพิ่มการเจริญเติบโต (Growth Hormone), ยารักษาสิว Isotretinoin, ยารักษาต่อมลูกหมาก, ยาปลูกผม (Finasteride)
- ไม่ได้รับการถอนฟันหรือขูดหินปูน ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนบริจาคเลือด
- ไม่มีบาดแผลสดหรือแผลติดเชื้อใดๆ ตามร่างกาย
- ไม่มีประวัติโรคมาลาเรียในระยะเวลา 3 ปี
- ผู้หญิงที่ไม่อยู่ในระยะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างมีประจำเดือน เมื่อประจำเดือนหยุดให้บริจาคโลหิตได้
ใครบ้างที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้
- ผู้ที่เป็นโรคประจำตัว อาทิ
- หัวใจ
- โรคปอด
- มะเร็ง
- ลมชัก
- อัมพฤษ์ อัมพาต
- โรคเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก
- โรคเบาหวานที่ต้องใช้ยาอินซูลินหรือคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
- ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือคู่ครอง (สามีหรือภรรยา) เป็นไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอสไอวีหรือซิฟิลิส
- ผู้เสพยาเสพติดชนิดใช้เข็มฉีดยา
- ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
- น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุมากกว่า 5 กิโลกรัม ในเวลา 2 เดือน
- มีต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายโต หรือมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
เตรียมพร้อมอย่างไรก่อนบริจาคโลหิต
- ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น เลือดไหลเวียนได้ดี
- งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ไม่ควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากก่อนบริจาคโลหิต 1 วัน
- รับประทานอาหารก่อนบริจาคโลหิตภายใน 4 ชั่วโมง
- นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงขึ้นไป
โรงพยาบาลต้องการโลหิตประมาณ 420 – 450 ซีซี / คน ซึ่งปริมาณจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้บริจาค และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่ปลอดภัย โลหิตที่ได้จะต้องผ่านกระบวนการทดสอบก่อนนำไปให้ผู้ป่วย คือ ตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส และตรวตหาไวรัสเอดส์
- ควรนั่งพักประมาณ 10-15 นาที
- รับประทานขนมหรืออาหารว่าง ดื่มน้ำ/เครื่องดื่ม 1-2 แก้ว แล้วรับประทานอาหารตามปกติ ไม่ควรงดอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ ตับ ไข่ เลือดหมู เลือดไก่ ผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง
- งดสูบบุหรี่ 1 ชั่วโมง หลังบริจาคโลหิต
- งดดื่มแอลกอฮอล์จนกว่าท่านจะได้รับประทานอาหาร
- ดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อทดแทนปริมาณเลือดที่ท่านเสียไป
หลังจากการบริจาคแล้ว ไขกระดูกในร่างกายจะทำการสร้างเม็ดเลือดใหม่ขึ้นทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่นั้นจะไหลเวียนในร่างกายยาวนานประมาณ 120 วัน
“ศิริราช”ขาดแคลนเลือดทุกหมู่ ชวนคนไทยบริจาคเลือดช่วยเหลือผู้ป่วย
ประโยชน์ของการบริจาคเลือด
- ช่วยกระตุ้นการทำงานของโขกระดูก ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
- ช่วยให้ทราบหมู่โลหิตของตนเองในระบบ ABO และ Rh
- ช่วยให้มีระบบไหลเวียนโลหิตที่ดี
- ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และมีความสุขในการเป็นผู้ให้
สามารถบริจาคเลือดได้ที่
- ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
- วันจันทร์และวันศุกร์ 08.00-16.30 น.
- วันอังคาร-พฤหัสบดี 07.30-19.30 น.
- วันเสาร์-อาทิตย์ 08.30-15.30 น.
- โรงพยาบาลศิริราช
- วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-18.00 น.
- วันเสาร์-อาทิตย์ 08.30-16.00 น.
- โรงพยาบาลรามาธิบดี
- ทุกวัน 08.30-12.00 น. และ 13.00-16.30 น.
- หน่วยเคลื่อนที่บริจาคโลหิต
- เช็กได้ตามตารางหน่วยเคลื่อนที่บริจาคโลหิต ได้ที่นี้ "ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ"
- โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ
ทั้งนี้ผู้ที่สนใจช่วยเพื่อมนุษย์ด้วยกันโดยการบริจาคเลือดโดยสามารถบริจาคเลือดได้ทุก 3 เดือนนะคะ
กินดื่ม ‘กัญชา-แอลกอฮอล์’ บริจาคเลือดได้หรือไม่ ต้องเตรียมตัวอย่างไร
สภากาชาดไทย เปิดรับบริจาคเลือดกรุ๊ปหายาก หลังขาดแคลนต่อเนื่อง