“พะเยา”คลุกฝุ่น PM 2.5 พบตั้งแต่ต้นปีป่วยทางเดินหายใจ 1.48 หมื่นคน
สถานการณ์ฝุ่นใน “พะเยา” ยังวิกฤต พบป่วยทางเดินหายใจเพิ่ม ยอดสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.-18 มี.ค. 66 รวม 1.48 หมื่นคน
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ยังคงหนักหน่วงในภาคเหนือ ที่จังหวัดพะเยาตอนนี้ พบผู้ป่วยทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น โดยด้านสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ออกมาเตือนสภาพอากาศฝุ่น ควันพิษ ยังมีค่าเกินมาตรฐาน ส่งผลกระทบมลพิษทางอากาศทำมีผู้ป่วยภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบกำเริบเพิ่ม โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจและผู้คนทั่วไป ต้องเข้าทำการตรวจรักษาตัวในโรงพยาบาลพะเยา และ โรงพยาบาลชุมชนต่างๆ เพราะสูดดมเอาฝุ่นควันเป็นละอองขนาดเล็ก เข้าสู่ร่างกายจนมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรมอุตุฯประกาศ “พายุฤดูร้อน” ฉ.10 เช็ก 37 จังหวัดเสี่ยงรับฟ้าฝนถล่ม
สภาพอากาศวันนี้! ร้อนถึงร้อนจัด ตอนบนเจอพายุฤดูร้อน ส่วนใต้ฝนตก 20%
นายแพทย์ เอกชัย คำลือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยา กล่าวว่า หลังเกิดหมอกควัน พบผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลในสังกัด ยอดสะสมตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม - 18 มีนาคม 2566 จำแนกเป็นกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 14,859 คน, กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 12,596 คน, กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ จำนวน 1,375 คน และกลุ่มโรคเยื่อบุตาขาวอักเสบ จำนวน 1,066 คน
โดยนายแพทย์ เอกชัย ได้ขอให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้านหรือกลางแจ้ง ในช่วงที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานหรือมีระดับที่จะ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสหมอกควัน สวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นละออง จากควันพิษ PM 2.5 ก่อนออกจากบ้านทุกครั้งด้วย
ขณะที่ นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม–19 มีนาคมนี้ พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ 1,730,976 คน
ขณะที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 17 จังหวัด และพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 6 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, แพร่, และน่าน พิจารณาเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่
เลือกตั้ง2566 : ส่องนโยบายพรรคการเมืองแก้ปัญหาPM2.5–สิ่งแวดล้อม
เลือกตั้ง2566 : ส่องนโยบายพรรคการเมืองแก้ปัญหาPM2.5–สิ่งแวดล้อม