อัปเดต! วัคซีน“HXP-GPOVac”ป้องกันโควิด-19ฝีมือคนไทย เล็งใช้เป็นเข็มกระตุ้น!
วัคซีนโควิดฝีมือคนไทย HXP-GPOVac ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยทดลองทางคลินิกในมนุษย์ระยะที่ 3 และผลการศึกษาเพื่อขอยื่นข้อมูลเพื่อขอรับทะเบียนและผลิตต่อไปในขั้นต่อไป คาดประสิทธิภาพสร้างภูมิคุ้มกันดี รู้จักนวัตกรรมผลิตวัคซัน HXP-GPOVac และใครบ้างเหมาะกับวัคซีนชนิดนี้ ?
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมเสวนา ในหัวข้อ วัคซีนโควิด 19 วัคซีนเอชเอ็กซ์พี-จีพีโอแวค (HXP-GPO-Vac) ขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งนับเป็นวัคซีนโควิด19ฝีมือนักวิจัยไทยที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด ในปัจจุบันที่ก่อนหน้านี้ได้ทำการศึกษาวิจัยทดลองทางคลินิกในมนุษย์ระยะที่ 3 แล้ว ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) โดยมีนพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ ดร.ภญ.พรทิพย์ วิรัชวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารยุทธศาสตร์ องค์การเภสัชกรรม
วัคซีนโควิดฝีมือคนไทย “HXP-GPOVac” เริ่มทดสอบเฟส 2 ในอาสาสมัครนครพนม
วัคซีนโควิด HXP-GPOVac ของไทย เริ่มทดลองในมนุษย์แล้ว
นพ.นคร ระบุว่า ในฐานะทีมประเทศไทยมีแนวคิดหารือผลิตวัคซีนใช้เองมาตั้งแต่ปี 2545 เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งชิงค้นหาวัคซีนกับนานาประเทศ จากประสบการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2552 ที่หาได้ยาก ต้องปิดโรคเรียนและสถานที่ทำงานเหมือนโควิด19 แต่มีระยะเวลาที่สั้นและเป็นบางพื้นที่และไม่มีการล็อกดาวน์เหมือนโควิด19 แต่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการจัดหาวัคซีนเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ แต่กลับได้ไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวเมื่อการระบาดเสร็จสิ้นไปแล้วทำให้ไม่ทันต่อสถานการณ์ จนเกิดความสูญเสีย จึงมีการหารือมาตลอดว่าจะทำอย่างไรให้ไทยพึงพาตัวเองได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินเพื่อสร้างศักยภาพในการวิจัยพัฒนา เตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดใหม่
นพ.นคร อธิบายต่อว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา เรามีความสามารถตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ และเชื่อว่าจะมีความมั่นคงด้านวัคซีน ไทยได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมกับนานาชาติและสร้างทีมวิจัยเพื่อพัฒนาวัคซีน-คนและโครงสร้างพื้นฐานตามลำดับขั้นจนเป็นที่ยอมรับของนานาชาติในการใช้วัคซีนสูตรไขว้(เชื้อตายและเชื้อเป็น)
ดร.ภญ.พรทิพย์ ระบุว่า ตามภารกิจขององค์การเภสัชกรรม ช่วยผลิตยา อุปกรณ์ป้องกัน โควิด19 ที่สำคัญคือได้เดินหน้างานวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 HXP-GPO-Vac วัคซีนชนิดเชื้อตายชนิดไวรัลเวกเตอร์ ไม่ใช่เชื้อตายปกติเพราะที่มีการดัดแปลงมากกว่าแบบดั้งเดิมเพื่อใช้ในการกระตุ้นและป้องกันโควิด19 โดยมีความร่วมมือกับหน่วยงานในต่างประเทศที่มีการพัฒนาตั้งต้น และหน่วยงานในประเทศ ดร.ภญ.พรทิพย์ ยังอธิบายต่อว่า วัคซีนดังกล่าวพัฒนามาจากนวัตกรรมการตัดต่อไวรัสนิวคาสเซิล (Newcastle disease virus, NDV) ให้มีการแสดงออกของโปรตีนหนามของไวรัสโคโรนาที่ถูกปรับแต่งด้วยเทคโนโลยีเฮกซะโปร (HexaPro) ให้มีความคงตัวมากขึ้น ซึ่งโปรตีนหนามเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19
โดยเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนชนิด NDV ถูกพัฒนาขึ้นโดย Icahn Mount Sinai ขณะที่ UT Austin เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี HexaPro และองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตวัคซีนวิจัยโควิด 19 ชนิด HXP-GPOVac จาก seed virus ที่ได้รับจากโรงเรียนแพทย์ที่เมาท์ไซนาย (Icahn Mount Sinai) โดยใช้เทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก เช่นเดียวกับที่ใช้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่โรงงานผลิต (วัคซีน) ชีววัตถุ ขององค์การเภสัชกรรม ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ดร.ภญ.พรทิพย์ ปัจจุบัน วัคซีนโควิด19 HXP-GPO-Vac ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปลายปี 2565 ภายใต้ผู้อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการกว่า 4,000 คน ซึ่งขณะนี้กำลังรอผลการศึกษาเพื่อขอยื่นข้อมูลให้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.เพื่อขอรับทะเบียนและผลิตต่อไปในขั้นต่อไป
จุดเด่นของโควิด19 HXP-GPO-Vac ใช้เทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก เช่นเดียวกับที่ใช้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่มีพัฒนาขึ้นมาพบว่ามีความปลอดภัยสูงจากผลการวิจัยทดลองในระยะ 1 และ 2 อย่างไรก็ตามต้องรอการพิสูจน์จากการวิจัยในระยะที่ 3ว่าจะสามารถกระตุ้นภูมิได้ดีหรือไม่
เปิดศักยภาพโรงงานผลิตวัคซีนโควิด-19 HXP-GPOVac ขององค์การเภสัชกรรม มาตรฐานระดับสากล
เป้าหมายที่วางไว้ โควิด19 HXP-GPO-Vac
ดร.ภญ.พรทิพย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้เป้าหมายคือสามารถขึ้นทะเบียนโควิด19ที่ใช้เป็นเข็มกระตุ้นตามวงรอบและต้องเพิ่มการผลิตมุ่งสู่ระดับอุสาหกรรมเพื่อจำหน่ายวัคซีนได้ อีกทั้งเดินหน้าปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ให้ตรงกับที่ระบาดซึ่งเป็นแนวทางที่ต้องดำเนินการต่อไป ขณะที่กำลังการผลิตวัคซีนอยู่ที่ 1-2 ล้านโดสต่อปี ยืนยันจะสามารถขยับขยายตามความต้องการของประเทศได้แต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยต้นทุนในประเทศด้วย
โควิด19 HXP-GPO-Vac เหมาะกับใครบ้าง ?
จากการทดลองที่ผ่านมาใช้อาสาสมัครที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงเริ่มต้นจึงต้องกำหนดเอาไว้สำหรับผู้ที่มีอายุ18ปีก่อน แต่ก็มีแผนที่จะเดินหน้าวิจัยทางคลีนิกเพื่อให้ชัดเจนว่าปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีได้ จากนั้นจะพัฒนาต่อไปยอดไปยังช่วงอายุอื่นต่อไป
แผนการฉีดวัคซีนโควิดในอนาคต คนไทยจะได้ใช้โควิด19 HXP-GPO-Vac หรือไม่?
นพ.นคร เปิดเผยว่าในแนวทางต่อจากนี้ผู้ที่ต้องฉีดเข็มกระตุ้นทุกปี คือกลุ่มสูงอายุ 50-60 ปีขึ้นไป และกลุ่มเด็กเกิดใหม่ 0-2 ปีเนื่องจากมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อและมีการอักเสบหลายอวัยวะ ส่วนช่วงอายุอื่นๆอาจเป็นไปตามความสมัครใจ ส่วนวัคซีนโควิด19 HXP-GPO-Vac จะเป็นในลักษณะของวัคซีนเข็มกระตุ้นตามวงรอบเพื่อลดอาการรุนแรงของโรคเหมือนไข้หวัดทั่วไป นพ.นคร ย้ำว่า โควิด19 ยังมีการกลายพันธุ์ต่อเนื่อง ทุกคนควรอัพเดตภูมิคุ้มกันอยู่เสมอ จึงขอเชิญชวนให้กลุ่มเสี่ยงทุกท่านรับวัคซีนทุก 6 เดือน
รู้จัก วัคซีนโควิด -19 HXP - GPO Vac ขององค์การเภสัชกรรม เดินหน้าศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 2
อภ. ทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 วัคซีน HXP-GPOVac ประเมินใช้เป็นเข็มกระตุ้น