วิจัยเผยอ้วนลงพุง เสี่ยง 4 โรคมะเร็งร้าย เชื่อมโยงอัลไซเมอร์
โรคอ้วน (Obesity) เป็น 1 ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ต้นตอของโรคเรื้อรังมากมายอาทิ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไขมันพอกตับ โรคหลอดเลือดและหัวใจ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากสหรัฐฯ พบเชื่อมโยงกับสารพัดมะเร็งเช่นมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และอัลไซเมอร์ อีกด้วย
จากการศึกษาของ National Institutes of Health (NIH) พบว่า ในสหรัฐฯ มีคนไข้ที่เป็น “โรคมะเร็ง” เพิ่มสูงขึ้น และกว่า 85,000 รายต่อปี มีความเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โดยพบว่า ค่า BMI ที่เพิ่มขึ้น 5 kg/m2 (น้ำหนัก kg) /ส่วนสูง (m)2 เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งสูงขึ้นถึง 10 %
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก46%
- มะเร็งหลอดอาหาร 40%
- มะเร็งลำไส้ 22%
- มะเร็งเต้านม (หลังหมดประจำเดือน) 16%
จากการศึกษาของ University College London ค่า BMI เพิ่มขึ้น 5 kg/m2 เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นสมองเสื่อม 30% ด้วย
3 ปัจจัยกระตุ้น “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ในคนรุ่นใหม่ ยิ่งตามใจปากยิ่งเสี่ยง
ท้องผูกเป็นปกติ 1ใน 5 สัญญาณเสี่ยง“มะเร็งลำไส้” ที่ไม่ควรมองข้าม
ขณะที่คนไทยมีภาวะโรคอ้วนเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากมาเลเซีย และตัวเลขยังขยับขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลจากกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานความชุกของปัญหาน้ำหนักเกินหรืออ้วนในผู้ใหญ่ ในปี พ.ศ. 2564 อยู่ที่ 47.2% เพิ่มขึ้นจาก 34.7%ในปี 2559 ซึ่งกรุงเทพมหานคร มีความชุกภาวะอ้วนลงพุงมากที่สุด (56.1%) รองลงมาคือ ภาคกลาง (47.3%), ภาคใต้ (42.7%), ภาคเหนือ (38.7%), และภาคอีสาน (28.1%) ที่น่ากังวลคือเด็กก็พบปัญหาโรคอ้วนและน้ำหนักเกินเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ ในปี พ.ศ. 2564 ความชุกของโรคอ้วนและน้ำหนักเกินในเด็ก อายุน้อยกว่า 5 ปี อยู่ที่ 9.07% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 5.7%
5 นิสัย“มะเร็งลำไส้” ชอบปิ้งย่าง-อาหารแปรรูปปล่อยตัวอ้วนเสี่ยงสูงกว่า 70%
ซึ่งสถิติดังกล่าวสะท้อนถึงปัญหาสุขภาพของคนทั่วโลก แล้วทำไมความอ้วนและไขมันถึงก่อโรคได้มากมายขนาดนี้?
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพราะไขมันมีผลกระตุ้นให้เกิดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มมากขึ้นด้วยนั่นเอง
- มะเร็งเต้านม(หลังหมดประจำเดือน) เนื่องจากมะเร็งเต้านมมีผลเกี่ยวโยงกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน..แม้รังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมนนี้แล้ว แต่เนื้อเยื่อไขมันยังสามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้ได้อยู่ ทำให้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมยังคงมีสูง
- มะเร็งลำไส้ จากกลไกของภาวะอ้วนลงพุง ทำให้เกิดการตั้งสมมติฐานว่า โอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น อาจเกิดจากระดับของอินซูลินที่สูงไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อ
- มะเร็งหลอดอาหาร สาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งหลอดอาหารอาจยังไม่แน่ชัด แต่ภาวะอ้วนลงพุง..คือปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้ และในบางการศึกษาเชื่อว่า “ภาวะกรดไหลย้อน” อาจมีผลต่อความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น
- สมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) การศึกษาพบว่า ค่า BMI ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 kg/m2 สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมถึง 30% เนื่องจากโรคอ้วนหรืออ้วนลงพุง ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งในสมองของเราเองก็มีอินซูลินด้วยเช่นกัน จึงส่งผลต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมได้นั่นเอง
เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ทางออกง่ายนิดเดียวคะ คือการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารไขมันสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอที่สำคัญอย่ามองข้ามการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้รู้เท่าทันโรคต่างๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
4 ระยะ “มะเร็งลำไส้ใหญ่”ระยะไหนหายขาดได้-อาการอะไรเสี่ยงมะเร็งลุกลาม
รู้จักการส่องกล้องคัดกรอง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ใครควรตรวจ-เจ็บหรือไม่?