สธ.เผยช่วงสงกรานต์พบเยาวชนดื่มแล้วขับ 324 ราย อายุน้อยสุด แค่ 10 ปี!
อากาศร้อนจัด สธ. เตือนระวังเดินทางกลับหลังเทศกาลสงกรานต์เสี่ยงอ่อนเพลีย ฮีทสโตรก หลับในง่าย เผยสกัดกั้นเมาแล้วขับได้เกือบ 1 หมื่นราย
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพร้อมด้วยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณะสุข นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์ดิเรก ขำแป้น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ร่วมแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
ช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ว่า ตั้งแต่วันที่ 11 - 15 เมษายน เกิดอุบัติเหตุสะสม 1,564 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บสะสม 14,621 ราย ลดลงจากปี 2566 ร้อย 1.37
“7 วันอันตรายสงกรานต์ 2567” วันที่ห้า ยอดรวมเสียชีวิตทะลุ 206 ราย!
ฝรั่งภูเก็ตซัดกันนัวรับสงกรานต์ 2567 เหตุไม่พอใจถูกฉีดน้ำใส่

ในจำนวนนี้ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 1,593 ราย ลดลงร้อยละ 8.28 ส่วนผู้เสียชีวิตสะสม 206 ราย ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.37 โดยจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่
- กรุงเทพมหานครและเชียงราย 13 ราย
- ร้อยเอ็ด 12 ราย
- นครราชสีมา 10 ราย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุยังคงเป็นขับรถเร็ว ร้อยละ 41.18 การดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ ร้อยละ 23.66 และตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 17.52 โดยมักเกิดเหตุในถนนสายรองหรือในหมู่บ้าน ด่านชุมชนจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลคัดกรองผู้มีอาการมึนเมาสุรา ซึ่งในช่วง 5 วันนี้ สามารถสกัดกั้นคนเมาไม่ให้ออกมาขับขี่บนท้องถนนได้ถึง 9,144 ราย นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ขับขี่รถยนต์/รถจักรยานยนต์มากกว่าร้อยละ 80 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย/ไม่สวมหมวกนิรภัยด้วย ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น
พบเยาวชนอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่ดื่มแล้วขับถึง 324ราย โดยมีอายุน้อยที่สุดเพียง 10 ปี
กระทรวงสาธารณสุขจึงมุ่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งการตรวจตราร้านค้า สถานที่และเวลาห้ามจำหน่าย และการห้ามจำหน่ายให้กับเยาวชนอายุต่ากว่า 20 ปี รวมทั้งมีการตั้งด่านตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ และตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุทุกรายด้วย โดยหากเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี จะมีการสืบเอาผิดไปถึงยังร้านค้าที่จำหน่ายให้ด้วย
วิธีรับมือภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว สงกรานต์ 2568 ป้องกันหมดไฟการทำงาน!
ทั้งนี้ช่วงวันที่ 16 - 17 เมษายน นี้ ประชาชนเริ่มเดินทางกลับมาทำงานตามปกติ การจราจรจึงมีความหนาแน่นมากขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้อ่อนเพลียระหว่างขับรถได้ง่าย และมีโอกาสเกิดอาการหลับในสูง
ดังนั้น ก่อนเดินทางจึงควรตรวจเช็คสภาพรถและเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วง ระหว่างขับรถหากรู้สึกอ่อนล้าหรือง่วง ขอให้จอดพักผ่อนที่จุดบริการประชาชนแล้วค่อยไปต่อ รวมทั้งปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด สวมหมวกนิรภัย/คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกล
เครื่องดื่มแก้แฮงค์หลังปาร์ตี้หนัก ชดเชยอาการขาดน้ำ หายปวดหัวเร็ว!
สงกรานต์ 2567 ห้ามขายเหล้าให้เยาวชน ฝ่าฝืนมีโทษ หลังพบเมาแล้วขับ