แพทย์ไทย ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจจากหมู-วัว ชี้ผลดีกว่าลิ้นหัวใจเทียม
รพ.ศูนย์การแพทย์ โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซ่อมหัวใจมนุษย์จากชิ้นส่วนหัวใจหมูและวัว จ่อวิจัยพัฒนาผลิตได้เอง ลดการนำเข้า ขยายโอกาสรอดชีวิตสำหรับผู้ป่วยลิ้นหัวใจ
ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช มีการใช้เยื่อหุ้มหัวใจจากวัว และหมู มาใช้ซ่อมลิ้นหัวใจมนุษย์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกนำมาใช้มากขึ้นเนื่องจากมีคุณสมบัติดีกว่าลิ้นหัวใจจากโลหะหรือวัสดุสังเคราะห์ ที่สำคัญมีโรงพยาบาลเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย ที่ทำการผ่าตัดซ่อมแซมหัวใจได้ด้วยเทคโนโลยีนี้ ถือเป็นทางเลือกที่ประชาชนเข้าถึงได้ไม่ซับซ้อน และได้รับการตอบรับจากผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
3 ปัญหาสุขภาพคนทำงานกะดึกต้องระวัง เผยข้อแนะนำจากแพทย์ก่อนทรุดโทรม!
สปสช. เผยบริการ “สิทธิบัตรทอง” ยื่นบัตรประชาชนใบเดียวใช้ ได้ทั่วประเทศ

นายแพทย์สมชาย ไวกิตติพงษ์ แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทรวงอก ประจำ รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ กล่าวว่า วิธีดังกล่าวมีผลดีกว่าการใช้ลิ้นหัวใจเทียม ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วและมีอาการข้างเคียงน้อยกว่าลิ้นหัวใจเทียม
สำหรับชิ้นส่วนจากหัวใจวัว และหมู นายแพทย์สมชาย ย้ำว่าไม่ได้มาจากการเลี้ยงทั่วไป เป็นการเลี้ยงในระบบควบคุมทางเทคโนโลยีชั้นสูง หลังได้ชิ้นส่วนมาแล้ว จะนำมาตรวจสอบคัดกรองอย่างละเอียด ไม่มีร่องรอยหินปูนหรือสิ่งแปลกปลอมอื่น จากนั้นจะนำมาเย็บด้วยมือมนุษย์ แล้วนำมาใช้ซ่อมแซมลิ้นหัวใจในการผ่าตัด
ด้านนายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ กล่าวว่า การผ่าตัดซ่อมหัวใจด้วยวิธีดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิต กลับไปใช้ชีวิตในครอบครัวได้อย่างปกติ เป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจมากขึ้น แต่ปัจจุบันยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งมีมูลค่าสูง จึงมีแผนเตรียมวิจัยพัฒนาผลิตเอง ลดการนำเข้า เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยนี้ได้มากขึ้น