6 ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุของอาการหลงลืม ทรงตัวยากหกล้ม
รู้หรือไม่? หลังจากอายุ 25 ปีประสิทธิภาพของร่างกายจะค่อยๆเสื่อมถอยลง หากไม่ได้รับการดูแล เผยปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุที่ไม่ควรมองข้ามการตรวจสมรรถภาพร่างกาย
มนุษย์มีการพัฒนาสมบูรณ์สูงสุดเมื่ออายุ 20 – 25 ปี จากนั้นประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและอวัยวะจะเริ่มถดถอยลง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อถึงวัยสูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ และโรคต่าง ๆ ซึ่งพบได้บ่อยกว่าในวัยอื่น ๆ โดยโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคอ้วน,โรคเบาหวาน,โรคความดันโลหิตสูง,โรคไขมันในเลือดสูง,โรคข้อเสื่อม,โรคหัวใจขาดเลือด,โรคสมองเสื่อม,โรคซึมเศร้า,อาการวิตกกังวลและนอนไม่หลับ,โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
“ผู้สูงอายุ” ควรวางแผนตรวจสุขภาพอะไรบ้าง? เผยโรคเรื้อรังที่พบบ่อย!
ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุแบบเชิงลึกคืออะไร ดีต่อผู้สูงวัยมากน้อยแค่ไหน?

ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
- ความเสื่อมของสติปัญญา เซลล์สมองจะน้อยลง เลือดไหลเวียนสมองน้อยลงและภาวะขาดอาหารและวิตามินบางชนิด ผู้สูงอายุจะมีความจำเสื่อม หลงลืม นอนไม่หลับ ภาวะสมองเสื่อมอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ
- ภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเรื้อรังทางกาย ขาดสมรรถภาพ และขาดความเอาใจใส่จากญาติพี่น้อง ผู้ป่วยจะมีอาการหลายอย่าง ได้แก่ ความผิดปกติของการนอน ขาดความสนใจ รู้สึกผิด ขาดสมาธิ เบื่ออาหาร ถ้ามีอาการรุนแรงอาจมีความคิดฆ่าตัวตาย
- อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอด หรือทางเดินปัสสาวะฝ่อและอักเสบ และผลข้างเคียงของการใช้ยาและรักษาหลายโรค เช่น ยาคลายเครียด ยารักษาอาการซึมเศร้า หรือยารักษาความดันบางชนิด ยาขับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมาก ก็อาจทำให้ปัสสาวะไม่ทันได้ นอกจากนี้ยังมีภาวะปัสสาวะไม่สะดวกเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ
- การหกล้ม เพศหญิง อัตราการหกล้มสูงถึง 30% ในแต่ละปี และสัดส่วนจะสูงขึ้นตามอายุการทรงตัวจะเสียไป และทำให้เซ่ได้ง่ายในผู้สูงอายุ ทำให้หกล้มได้ง่าย สาเหตุทำให้เกิดการหกล้ม เช่น เลือดไหลเวียนสมองน้อยลง อัมพาต ปอดบวม หัวใจขาดเลือด การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นลื่น เป็นต้น ยาและแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุเสริมที่พบได้บ่อย นอนไม่หลับปัสสาวะไม่ทัน เท้าและอาการบวมก็เป็นปัญหาได้
- การเคลื่อนไหวลำบาก เนื่องจากการปวดอ่อนแอ การเสียการทรงตัว และปัญหาทางจิต ทำให้ผู้สูงอายุต้องนอนอยู่เฉย ๆ ภาวะทุพโภชนาการ ความผิดปกติของเกลือแร่ โลหิตจาง ระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุร่วมจากโรคทางข้อ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ โรคพาร์กินสัน และยารักษาโรคจิต อาการเจ็บปวดจากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้สูงอายุไม่อยากเคลื่อนไหวได้
6 วัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิต
- ผลกระทบจากการใช้ยา ผู้สูงอายุมีโอกาสจะมีผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่าคนทั่วไป 2 – 3 เท่า การกำจัดของเสียในร่างกายช้าลงมาก เนื่องจากการทำงานของไตและตับเสื่อมลง ดังนั้นการเลือกใช้ยาเท่าที่จำเป็นและอย่างเหมาะสมจึงจำเป็นมากเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียดังกล่าว
จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแล ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุ (Geriatric Assessment) และการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อพบโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ควรรับการตรวจรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงเหมาะสมกับวัย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
5 วิตามินบำรุงสมอง สนับสนุนระบบประสาท ช่วยลดอัลไซเมอร์
ความดันโลหิตสูง รักษาและหยุดยาได้ด้วยการออกกำลังกาย ช่วยลดไขมัน