หน้าร้อนแนะวิธีเลือกซื้อ "อาหารทะเล" เลี่ยงสารเคมีเป็นพิษต่อร่างกาย
กรมอนามัย แนะประชาชนเลือกซื้ออาหารทะเลจากสถานที่จำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย เพื่อสุขอนามัยที่ดี
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในช่วงหน้าร้อน อาหารทะเลจะเน่าเสียง่าย จึงทำให้ผู้ประกอบการบางรายใช้วิธีการที่ผิดเพื่อรักษาความสด และชะลอการเน่าเสียของอาหารทะเลด้วยการนำมาแช่สารฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะสารฟอร์มาลีนเป็นสารที่ห้ามนำมาใส่อาหาร หากกินอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลีนไปในปริมาณ 60-90 มิลลิกรัม จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายดังนี้
"ข้าวเหนียวมะม่วง"ยืนหนึ่ง เผยเคล็ด (ไม่) ลับกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์
กรมอนามัยเตือนหน้าร้อน 'น้ำแข็ง - น้ำดื่ม' เสี่ยงปนเปื้อน แนะต้องเลือกที่สะอาด
- ระบบทางเดินอาหาร
- อาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- หัวใจเต้นเร็ว
- แน่นหน้าอก
- ปากและคอแห้ง
- คลื่นไส้อาเจียน
- ถ่ายท้องปวดท้องอย่างรุนแรง
- กระเพาะอาหารอักเสบ
- เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- ปัสสาวะไม่ออก
- หมดสติ ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้เสียชีวิต เพราะระบบหมุนเวียนโลหิตล้มเหลว
นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ประชาชนจึงควรเลือกซื้ออาหารทะเลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ตลาดที่ได้มาตรฐาน “ ตลาดสด น่าซื้อ” ของกรมอนามัย ซึ่งจะมีการสุ่มตรวจการปนเปื้อนสารฟอร์มาลีน อยู่เสมอ
สำหรับวิธีสังเกตอาหารทะเลที่จะเลือกซื้อ
- ซื้อปลา ต้องเลือกปลาที่มีเหงือกสีแดง ไม่เขียวคล้ำ เนื้อแน่น กดไม่บุ๋ม ไม่มีกลิ่นคาว ตาใส ไม่ช้ำเลือดหรือขุ่นเป็นสีเทา
- ซื้อปู จะต้องเลือกปูที่ยังไม่ตาย ตาต้องใส และขาต้องติดตัวปูครบทุกขา
- ซื้อกุ้ง ต้องมีเนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นคาวเหม็นคล้ายกลิ่นแอมโมเนีย ครีบและหางต้องเป็นมันสดใส หัวกับตัวจะยังติดกันแน่น เพราะกุ้งที่ไม่สด หัวหรือส่วนที่เป็นเปลือกส่วนหัว จะไม่ติดกับตัว
“ทั้งนี้ เมื่อซื้ออาหารทะเลมาแล้ว หากไม่นำมาปรุงกินทันที ควรล้างทำความสะอาดแยกเก็บใส่ตู้เย็น ที่ช่องแช่แข็ง อุณหภูมิติดลบที่ปรับตั้งได้ หากแช่ในอุณหภูมิ -1 ถึง 1 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการเก็บ ที่เหมาะสม 1-2 วัน เพื่อชะลอการเน่าเสีย ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ที่สำคัญเน้นปรุงสุกด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงการกินแบบดิบ หรือ สุก ๆ ดิบ ๆ และขอให้ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลางล้างมือ เพื่อลดความเสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษ และอุจจาระร่วง” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว