เฟคนิวส์! ทำ IF ปล่อยหิว ช่วยกำจัดเซลล์ที่ป่วย และโรคอัลไซเมอร์
ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับเรื่องทำ IF ปล่อยให้ร่างกายหิว ช่วยกำจัดเซลล์ที่ป่วย และโรคอัลไซเมอร์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบ พบเป็นข่าวปลอม ไม่มีหลักฐานสนับสนุน
Anti-Fake News Center Thailand เปิดเผยหลัง จากกรณีที่มีข้อมูลด้านสุขภาพโดยระบุว่า ทำ IF ปล่อยให้ร่างกายหิว ช่วยกำจัดเซลล์ที่ป่วย และโรคอัลไซเมอร์ ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การทำ Intermittent fasting หรือ IF ในปัจจุบันเป็นวิธีการที่นิยมมากขึ้นเพื่อใช้ในการลดน้ำหนักด้วยวิธีการควบคุมอาหาร
มีหลักฐานพอสมควรที่สรุปว่า วิธีการนี้อาจทำให้การลดน้ำหนักและควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานได้ผลดี
วิจัยใหม่เผย ทำ IF 8 :16 เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่ม 91%
สธ.ยืนยัน กินวิตามินดี คีโต+IF ไม่สามารถรักษาโรค PCOSได้
ถ้าปฏิบัติอย่างถูกวิธี ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและการรักษาอื่น ๆ แต่การทำ IF ไม่ใช่การปล่อยให้ร่างกายหิว
โดยเฉพาะในคนปกติที่ไม่ต้องลดน้ำหนัก เมื่อไรก็ตามที่ทำแล้วร่างกายรู้สึกหิวมาก จนมีความอ่อนล้า ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย แสดงว่าอาจจะปฏิบัติไม่ถูกต้อง และความหิวแท้จริงแล้วเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่บ่งชี้ว่าร่างกายต้องการสารอาหารและน้ำ เพื่อตอบสนองการทำงาน ดังนั้นการไปบังคับให้ร่างกายอดต่อเนื่องอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่า ซึ่งแสดงออกมาในรูปของอาการไม่สบายกายและใจ
สำหรับในแง่ของการกำจัดเซลล์ที่ป่วย ฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง หรือกระทั่งการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ไม่มีหลักฐานสนับสนุนเลยว่า วิธีนี้สามารถชะลอภาวะสมองเสื่อมได้ ในทางตรงกันข้ามหากผู้ป่วยเบาหวานได้รับสารอาหารที่น้อยเกินไปจนเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ หรือผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มได้รับสารอาหารไม่เพียงพออยู่แล้ว เกิดภาวะอดอาหารเข้าไปอีก มีข้อมูลจากรายงานจำนวนมากว่า ทำให้เกิดภาวะซึม สมองได้รับความเสียหาย สมองถดถอย และอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นอย่างชัดเจน
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การทำ IF หรือปล่อยให้ร่างกายหิว ไม่มีหลักฐานสนับสนุนเลยว่า วิธีนี้สามารถกำจัดเซลล์ที่ป่วย ฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง หรือกระทั่งการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ เมื่อไรก็ตามที่ทำ IF แล้วร่างกายรู้สึกหิวมาก จนมีความอ่อนล้า ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย แสดงว่าอาจจะปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02 3069899
รู้จัก IF ให้ดีกว่าเดิม แนะ 3 รูปแบบทำแล้วเห็นผลและข้อควรระวัง