ญี่ปุ่นประสบปัญหาอัตราการเกิดต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด รัฐบาลเดินหน้านโยบายให้ ข้าราชการสามารถลาหยุดงานได้ 10 วันต่อปี เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก และคาดหวังว่าภาคเอกชนจะดำเนินนโยบายดังกล่าวด้วยเช่นกัน
รพ.รามาธิบดี เปิดจองแอสตร้าเซเนก้า 16 ส.ค. นี้ พร้อมเงื่อนไขรับวัคซีน
"สมศักดิ์" สั่งเปลี่ยนแท่นปั๊มยา ดัดแปลงผลิตเม็ดฟ้าทะลายโจร
ผลสำรวจผ่านออนไลน์ เมื่อเดือน ม.ค. และ ก.พ. ได้รับการตอบกลับจากข้าราชการทั่วประเทศ ประมาณ 47,000 คน ถึงนโยบายดังกล่าว พบว่า 1.8% กำลังเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก ในขณะที่ 10.1% กล่าวว่าพวกเขามีประสบการณ์ในเรื่องนี้ และ 3.7% กล่าวว่าพวกเขากำลังพิจารณาที่จะเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก
ในบรรดาผู้ที่ได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยากหรือกำลังพิจารณาว่าจะรักษาภาวะมีบุตรยาก 62.5% กล่าวว่า "เป็นเรื่องยากมาก" ที่จะรักษาไปพร้อมๆกับการทำงานไปด้วย ขณะที่ 11.3% กล่าวว่า นโยบายนี้ "เป็นไปไม่ได้" เพราะการรักษาภาวะมีบุตรยากต้องเข้าพบแพทย์บ่อย และมีค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่สอดคล้องกับเวลาการทำงาน
หน่วยงานด้านบุคลากรแห่งชาติ จึงมีเป้าหมายเพื่อแบ่งเบาภาระโดยให้พนักงานของรัฐทั้งประจำและชั่วคราว สามารถลางานโดยได้รับค่าจ้างได้ 5 วัน และเพิ่มวันหยุดอีก 5 วันหากจำเป็น
พร้อมแนะนำว่า สามารถจัดสรรเวลาในการทำงานเพื่อพบแพทย์ได้ เช่น หยุด 2-3 ชั่วโมงระหว่างทำงานเพื่อไปพบแพทย์
โยชิฮิเดะ สุกะ นายกรัฐมนตรี ให้ความสนใจและเตรียมผลักดันนโยบายนี้ตั้งแต่เดือน เม.ย. ปี 2565
สำหรับ ญี่ปุ่น จำนวนเด็กเกิดใหม่ในญี่ปุ่นลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 840,832 รายในปี 2563 ขณะที่แนวโน้มการลดลงนั้นรุนแรงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากโรคโควิด-19
เรียบเรียงจาก japantimes