ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ผู้นำจีน และประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ได้พบปะหารือกันเมื่อวานนี้ ระหว่างพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่งเป็นเจ้าภาพ โดย ปูติน เป็นหนึ่งในผู้นำไม่กี่ประเทศที่เข้าร่วมเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งสหรัฐและพันธมิตรหลายประเทศ ประกาศไม่ส่งตัวแทนร่วมพิธีทั้ง แคนาดา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น โดยระบุว่าเป็นมาตรการตอบโต้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน
“รัสเซีย” ระดมทัพซ้อมรบใหญ่สุดตั้งแต่ยุคสงครามเย็น
“นาโต” เห็นพ้องแผนป้องกันเหตุโจมตีจากรัสเซีย รับความสัมพันธ์ตกต่ำสุด
ขณะที่ แถลงการณ์จากกระทรวงการต่างประเทศของจีนระบุว่าผู้นำทั้งสองประเทศได้หารือกันอย่างละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-รัสเซีย ตลอดไปจนถึงประเด็นด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่ง สีจิ้นผิง ได้ย้ำถึงความความสำคัญของความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ จีนและรัสเซียยังคงยืนหยัดดำเนินการตามเป้าหมายและส่งเสริมความพันธ์ในระดับทวิภาคีอย่างต่อเนื่อง การดำเนินตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องจะเป็นการสร้างหลักหลักประกันต่ออนาคต
เช่นเดียวกับการะทรวงการต่างประเทศรัสเซียที่ออกแถลงการณ์ ระบุว่า ขณะนี้มีบางประเทศ หรือ กลุ่มประเทศ พยายามสร้างความได้เปรียบทางทหารทั้งทางทางตรงและทางอ้อม จนทำให้เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศอื่น
แถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียยังระบุว่าทั้งจีนและรัสเซียได้เรียกร้องให้องค์การนาโตหยุดใช้วิธีการในยุคสงครามเย็น และหันมาให้ความเคารพอธิปไตย ความมั่นคง และความหลากหลายด้านวัฒนธรรม-ประวัติศาสตร์ ของประเทศอื่น รวมทั้งมีมุมมองที่เป็นธรรมต่อการพัฒนาประเทศอย่างสันติของประเทศอื่นด้วย
โดยทั้งจีนและรัสเซียได้แสดงจุดยืนร่วมกันในการเรียกร้องให้นาโตยุติการเสริมกำลังทหารในประเทศยุโรปตะวันออกที่มีแนวพรมแดนติดกับรัสเซีย
นอกจากนี้ทั้งสองประเทศยังประณามการก่อตั้งกลุ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ล่าสุดคือ “ออคัส” ซึ่งเป็นกติกาความร่วมมือด้านความมั่นคงแบบไตรภาคี ระหว่างสหรัฐ กับสหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย.
การหารือครั้งนี้ ยังถือเป็นครั้งแรกที่ประธานาธิบดีสี พบกับผู้นำโลกแบบเห็นหน้าค่าตากัน นับตั้งแต่วิกฤตโควิด-19 ระบาด ส่วนความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ หลังการพบปะกันระหว่าง สิจิ้นผิง และ ปูติน ที่กรุงปักกิ่ง เจน ซากี ( Jen Psaki) โฆษกหญิงทำเนียบขาวระบุว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ไม่ได้วิตกกังวลในเรื่องนี้ ซึ่งสหรัฐฯก็มีความสัมพันธ์กับจีนเช่นกัน อย่างไรก็ตามซากี ยืนยันว่าสหรัฐฯจะพยายาทป้องกันไม่ให้รัสเซียสร้างข้อมูลเท็จขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมในการรุกรานยูเครน
ขณะที่เมื่อวานนี้ เครื่องบินกองทัพสหรัฐฯที่ทำหน้าที่ขนส่งอุปกรณ์และกำลังทหารได้เดินทางจากประเทศเยอรมนีถึงสนามบินเซสชูฟ-จาเซียนกา (Rzeszow–Jasionka Airport) ในประเทศโปแลนด์
การเคลื่อนย้ายกำลังพลและอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นไปตามแผนของประธานาธิบดี โจ ไบเดน นำสหรัฐฯ ที่ประกาศส่งทหาร 3,000 นาย ไปยังประเทศยุโรปตะวันออกที่เป็นสมาชิกองค์การนาโต เพื่อช่วยรับมือกับรัสเซียที่ชาติตะวันตกมีความกังวลว่าอาวส่งกำลังบุกยูเครนในไม่ช้า โดยสนามบินแห่งนี้อยู่ห่างจากพรมแดนยูเคน-โปแลนด์ ไม่ถึง 100 กิโลเมตร โดยกระทรวงกลาโหมโปแลนด์ และกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่าฝ่ายสหรัฐฯจะส่งทหารประมาณ 1,700 นาย เข้ามาประจำการในโปแลนด์ แต่จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ซบิกนิว เรา (Zbigniew Rau) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ ได้เดินทางไปพบกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แอนโทนี บลิงเคน ที่กรุงวอชิงตัน โดยเปิดเผยว่า จะพยายามโน้มน้าวให้สหรัฐฯ คงกำลังทหารที่ส่งมาเพิ่มเติมเป็นการถาวร
ส่วน เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลย์เยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เตือนว่ารัสเซียจะเผชิญกับผลกระทบและความเสียหายอันใหญ่หลวง หากรัสเซียมีท่าทีคุกคามต่อยูเครนมากขึ้น โดยขณะนี้สหภาพยุโรปได้เตรียมมาตรการคว่ำบาตรที่เข้มข้น และคลอบคลุมทุกๆด้าน หากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน เลวร้ายถึงขีดสุด
แม้มาตรการคว่ำบาตรด้านการเงิน และเศรษฐกิจต่อรัสเซียอาจมีผลกระทบต่อปริมาณแก็สที่อาจขาดแคลนมากขึ้น เนื่องจากรัสเซียเป็นแหล่งผลิตและส่งแก็สขนาดใหญ่ให้แก่ยุโรป แต่ ฟอน เดอร์ เลย์เยน ยังแสดงความมั่นใจว่าสหภาพยุโรปจะสามารถรับมือกับผลกระทบนี้ได้ และได้เตรียมการเอาไว้แล้ว โดยขณะได้มีการเพิ่มปริมาณนำเข้าแก๊สธรรมชาติเหลว หรือ LNG จากแหล่งอื่นๆ ทั่วโลก
โดย วอน เดอร์ เลย์เยนระบุว่า ขณะนี้ ยุโรปมีแหล่งนำเข้าแก็ส 20 แห่ง ซึ่งมากกว่าเมื่อปี 2014 ที่แคว้นไครเมียของยูเครนถูกผนวกเข้าเป็นดินแดนของรัสเซีย ซึ่งเวลานั้นยุโรปต้องพึ่งพิงการนำเข้าแก็สจากเพียงแหล่งเดียว