รัสเซีย ย้ำชัดไม่ส่งออกน้ำมันให้ประเทศที่กดราคาต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รัฐบาลรัสเซีย ประกาศห้ามส่งออกน้ำมันไปขายยังประเทศที่จำกัดราคาน้ำมันรัสเซียไว้ที่ไม่เกิน 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นมาตรการที่พันธมิตรชาติตะวันตกนำมาใช้ เพื่อตัดแหล่งเงินทุนสำหรับการสู้รบในยูเครน

คำสั่งดังกล่าวจะเป็นการห้ามส่งออกน้ำมันดิบไปยังประเทศที่ตกลงปฏิบัติตามมาตรการจำกัดเพดานราคารัสเซีย โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ ไปจนถึง 1 ก.ค.ปีหน้า ส่วนการสั่งห้ามส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปทั้งเบนซินและดีเซลไปยังประเทศเหล่านี้ คาดว่ารัฐบาลรัสเซียจะประกาศกรอบเวลาการบังคับใช้ในภายหลัง ข้อห้ามการส่งออกน้ำมันนี้ ได้ถูกประกาศในกฎหมายกฤษฎีกาที่ลงนามโดย ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน 

ชาติพันธมิตรตะวันตก ประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย

สภาพอากาศวันนี้! ไทยตอนบน เตรียมรับมือความหนาว อุณหภูมิลดลงถึง 4 องศา

โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการตอบโต้โดยตรงต่อทั้งสหรัฐฯ ชาติอื่นๆ  และ องค์กรระหว่างประเทศ ที่ร่วมมือกันแสดงพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร และขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ โดยก่อนกน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. ประธานาธิบดี ปูติน เตือนว่าการใช้วิธีจำกัดราคาน้ำมันดิบรัสเซียจะส่งผลเสียต่อบรรยากาศการดำเนินธุรกิจด้านพลังงานในระดับโลก ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลน และราคาที่เพิ่มสูงขึ้น โดยผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือประเทศกลุ่มประเทศที่มีความยากจนมากที่สุด 

มาตรการจำกัดราคาน้ำมันดิบที่ผลิตจากทะเลรัสเซียไว้ที่ 60 ดอลลาร์ต่อสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลนี้  เป็นข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกองค์กรพันธมิตรตะวันตก 2 องค์กรสำคัญนั่นคือสหภาพยุโรป หรือ อียู และชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือ G7 ภายใต้มาตรการดังกล่าวที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา  ผู้ค้าน้ำมันต้องสัญญาว่าจะไม่ซื้อน้ำมันดิบรัสเซียในราคาที่สูงกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบารเรลล์ เพื่อรักษาสิทธิ์ในการได้รับบริการทางการเงินจากชาติตะวันตกในด้านสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งน้ำมันไปทั่วโลกเช่นการประกันภัย 

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มองว่าการจำกัดราคาจะยังมีผลกระทบไม่มากนักในเวลานี้ต่อรายได้จากการขายน้ำมันของรัฐบาลรัสเซียเพราะปัจจุบันราคาน้ำมันดิบรัสเซียมีทิศทางการเคลื่อนไหวใกล้เคียงที่ระดับ 60 ดอลลาร์ต่อบารเรลล์อยู่แล้ว แต่ในอนาคตมาตรการเช่นนี้จะทำให้รัสเซียไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ หากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น 

ขณะที่ นาย แอนทอน ซิลูอานอฟ (Anton Siluanov) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรัสเซียยอมรับว่าในปีงบประมาณ2023  รัฐบาลรัสเซียมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณเกิน 2 เปอร์เซนต์ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP  เนื่องจากการจำกัดราคาน้ำมันรัสเซียของชาติตะวันตกส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออก 

ไม่ใช่แค่รายได้จากน้ำมันที่ลดลงเท่านั้น แต่อีกหนึ่งสินค้าพลังงานสำคัญของรัสเซียนั่นคือก๊าซก็มีสถานการณ์ไม่สู้ดีเช่นกัน โดยนาย อเล็กซานเดอร์ โนวัก รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย เปิดเผยว่าปริมาณการผลิตก๊าซในปีนี้จะลดลง 12 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับปี 2021 ขณะที่การส่งออกก๊าซจะลดลง 25 เปอร์เซนต์ สาเหตุหลักเป็นเพราะการยุติการเดินเครื่องของโรงงานผลิตก๊าซเพื่อการส่งออก 

คอนเทนต์แนะนำ
หลายประเทศ ยกระดับคุมเข้มผู้เดินทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่
ค่าเงินบาทเช้านี้ เปิดตลาดแข็งค่าเล็กน้อย รับข่าวจีนเปิดประเทศ

โดยเมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี ปูติน ระบุว่า รัสเซียจะหาทางเพิ่มปริมาณการส่งออกก๊าซให้มากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรที่พันธมิตรชาติตะวันตก  ด้วยการสร้างท่าเรือและท่อก๊าซในพื้นที่ทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ รวมทั้งการเพิ่มปริมาณส่งออกก๊าซให้มากขึ้น ประเทศที่เป็นเป้าหมายในการเพิ่มการส่งออกก๊าซของ ประธานาธิบดี ปูติน คือ จีน เพื่อนบ้านทางตะวันออก และตุรกี ที่มีดินแดนทั้งในยุโรป และเอเชีย

โดยรัสเซียมีแผนจะสร้างศูนย์กลางการส่งก๊าซในตุรกีเพื่อจำหน่ายก๊าซต่อไปยังประเทศใกล้เคียงอื่นๆ  ส่วนประเทศจีน รัสเซียมีโครงการจะสร้างท่อก๊าซ “เพาเวอร์ ออฟ ไซบีเรีย 2” (Power of Siberia 2) โดยมีแนวท่อผ่านประเทศมองโกเลีย ซึ่งจะทำให้รัสเซียส่งก๊าซให้จีนได้มากขึ้นจากปัจจุบันที่ปีละประมาณ 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จะเพิ่มเป็นปีละ 48,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2025 และ 88,000 ล้านลูกบาศก์เมตรในปี 2030 หรือ เท่ากับ 60 เปอร์เซนต์ของการส่งออกก๊าซรัสเซียไปยังประเทศตะวันตกเมื่อปีที่แล้ว

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ