“นากอร์โน-คาราบัค” เผชิญวิกฤตมนุษยธรรม หลังอาเซอร์ไบจานปิด

โดย PPTV Online

เผยแพร่

อีกความขัดแย้งที่เริ่มทวีความตึงเครียดอีกครั้ง คือความขัดแย้งระหว่างสองชาติซึ่งมีที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาคอเคซัสระหว่างยุโรปและเอเชีย คือที่อาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานความตึงเครียดครั้งนี้เกิดบนพื้นที่ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างสองชาติมาอย่างยาวนาน นั่นคือรัฐนาร์กอโน-คาราบัค ที่เกิดการโจมตีปะทะกันจนลุกลามกลายเป็นสงคราม 44 วันในปี 2020 หรือเมื่อ 3 ปีที่แล้ว

สงครามครั้งนั้นจบลงด้วยการลงนามในข้อตกลงหยุดยิงระหว่างสองฝ่าย โดยมีรัสเซียเป็นคนกลาง และให้มีการประกันความปลอดภัยบริเวณเส้นทางหลักที่เชื่อมจากอาร์เมเนียเข้าไปยังรัฐนาร์กอโน-คาราบัค

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานยังคงคุกรุ่นจากการปะทะกันเป็นระยะล่าสุดมีรายงานว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัฐนากอร์โน-คาราบัคประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและเครื่องอุปโภคต่างๆ หลังอาร์เมเนียตั้งด่านตรวจบริเวณทางเส้นทางเข้าไปยังนาร์กอโน-คาราบัค จนนานาประเทศหวั่นว่าจะกลายเป็นวิกฤตมนุษยธรรม

ชายออสซี่สู้จระเข้มือเปล่า ใช้นิ้วจิ้มตาจนรอดชีวิตมาได้

ตำนานเครื่องบินเร็วเหนือเสียง "คองคอร์ด"

ก่อนที่จะไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น มาดูที่ตั้งของทั้งสองประเทศก่อนอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาคอเคซัส ทางตอนเหนือของอิหร่าน และทางตอนใต้ของรัสเซียถึงแม้วัฒนธรรม ภาษา อาหาร จะคล้ายคลึงกัน แต่ 2 ประเทศนี้มีความต่างที่สำคัญคือ ศาสนา เพราะอาร์เมเนียนับถือศาสนาคริสต์ ส่วนอาเซอร์ไบจานนับถืออิสลาม นี่เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ทั้งสองชาติมีความขัดแย้งกันอยู่ลึกๆ แต่อีกปัจจัยสำคัญมาจากปัญหาบนพื้นที่พิพาท

พื้นที่ดังกล่าวคือรัฐนากอร์โน-คาราบัคจากแผนที่ ทางภูมิศาสตร์จะเห็นว่ารัฐนี้ตั้งอยู่ในอาเซอร์ไบจาน และในทางกฎหมายระหว่างประเทศ นากอร์โน-คาราบัคเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน

แต่ในทางพฤตินัยแล้ว รัฐนี้แทบจะเป็นของอาร์เมเนียอย่างสมบูรณ์ เพราะคนที่อยู่ในรัฐนี้ รวมถึงรัฐบาลท้องถิ่นเป็นชาวอาร์เมเนีย อีกทั้งรัฐนากอร์โน-คาราบัคยังมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างใกล้ชิดกับรัฐบาลอาร์เมเนียด้วย

นี่เป็นชนวนเหตุให้อาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานกระทบกระทั่งกันเรื่อยมา นับตั้งแต่มีสถานะเป็นรัฐเอกราชหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายแต่ครั้งล่าสุดที่ความขัดแย้งลุกลามกลายเป็นสงครามคือเมื่อปี 2020 หรือเมื่อสามปีที่แล้ว ซึ่งเป็นที่มาของการตั้งด่านบริเวณเส้นทางจากอาร์เมเนียไปสู่นากอร์โน-คาราบัค และนำไปสู่ภาวะขาดแคลนที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้

ในครั้งนั้น หลังเกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานหลายระลอก โดยต่างฝ่ายต่างระบุว่าอีกฝ่ายเป็นผู้เริ่มก่อนแต่เมื่ออาเซอร์ไบจานเริ่มเปิดฉากยึดพื้นที่รอบๆ พรมแดนของรัฐนาร์กอโน-คาราบัค ความตึงเครียดก็ไต่ระดับ ไปสู่การใช้อาวุธหนักต่างๆ โจมตีใส่กัน อย่างปืนใหญ่พิสัยไกลหรือโดรนสงครามดำเนินไปเป็นเวลา 44 วัน และจบลงที่ชัยชนะเป็นของอาเซอร์ไบจาน เพราะได้เปรียบด้านกำลังจากการใช้โดรนพลีชีพ โดยนักวิเคราะห์ด้านทหารระบุว่าอาเซอร์ไบจานใช้โดรนของตุรกีและอิสราเอล

ในเดือนพฤศจิกายนปี 2020 อาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานก็ได้ทำข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกัน โดยมีรัสเซียเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย เป็นข้อตกลงที่ลงนามสามฝ่าย

ผลที่ตามมาจากสงครามคือ อาร์เมเนียต้องตกลงคืนดินแดนส่วนหนึ่งรอบๆ รัฐนากอร์โน-คาราบัคให้แก่อาเซอร์ไบจาน ส่งผลให้มีเขตแดนที่เล็กลงจากเดิมและต้องให้มีการประกันความมั่นคงบริเวณ “ระเบียงลาชิน” หรือ Lachin corridor ซึ่งเป็นเส้นทางทางบกเดียวที่เชื่อมต่อจากอาร์เมเนียเข้าไปสู่รัฐนากอร์โน-คาราบัค เส้นทางนี้มีระยะทางอยู่ที่ประมาณ 8 กิโลเมตรและกองทัพรัสเซียเป็นผู้รับผิดชอบการรักษาสันติภาพบริเวณเส้นทางนี้สงครามครั้งนั้นมีรายงานผู้เสียชีวิตกว่า 6,500 คน

อย่างไรก็ตาม ในปี 2022 เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานอีกรอบ ข้อตกลงหยุดยิงถูกละเมิด

หลายครั้ง จนในเดือนธันวาคม เส้นทางของระเบียงลาชินถูกปิดล้อมไม่ให้มีการสัญจรโดยพลเรือนชาวอาเซอร์ไบจาน ซึ่งระบุว่าเป็นนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม แต่มีการรายงานว่านักกิจกรรมเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล

และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางการอาเซอร์ไบจานก็ประกาศตั้งด่านตรวจที่ระเบียงลาชินด้วยเหตุผลทางความมั่นคงเพื่อไม่ให้มีการขนส่งอาวุธมีข้อมูลออกมาเช่นกันว่าอาเซอร์ไบจานไม่ยอมให้รถของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศใช้เส้นทางของระเบียงลาชินเพื่อเข้าไปส่งของให้พลเรือน

การปิดล้อมระเบียงลาชินที่กินเวลามาร่วม 9 เดือนส่งผลให้ประชาชนเผชิญต่อภาวะขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงเวชภัณฑ์ต่างๆ และต้องใช้ชีวิตประจำวันอย่างยากลำบากชั้นวางสินค้าตามร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ในสเตพานาแกร์ต เมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐนากอร์โน-คาราบัคว่างเปล่า ไม่มีสินค้าใดๆ วางขายอยู่ จนต้องปิดทำการชั่วคราว

นอกจากนี้ประชาชนยังต้องเผชิญการขาดแคลนพลังงานอย่างไฟฟ้าและน้ำมัน จนไม่สามารถเดินทางไปไหนไกลได้ ประชาชนชาวเมืองสเตพานาแกร์ตรายหนึ่งเล่าถึงผลกระทบที่เธอต้องเผชิญจากการปิดล้อมว่า วันหนึ่งจะมีไฟฟ้าใช้เพียงแค่ 2 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น ส่วนอาหารก็หายาก เพราะไม่มีน้ำมันรถใช้เดินทาง

คอนเทนต์สำหรับคุณ

เนื้อหาคัดสรรคุณภาพ

เนื้อหาสนับสนุน By Bluedot
เนื้อหาสนับสนุน By Bluedot

ขณะที่ทั้งผู้นำอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียเคยออกมาให้สัมภาษณ์ว่า การทำข้อตกลงสันติภาพที่ยืนยาวยังคงเป็นไปได้ แม้ว่าต่างฝ่ายต่างมีมุมมองต่อการแก้ไขปัญหาในรัฐนากอร์โน-คาราบัคต่างกันก็ตาม ส่วนชาติต่างๆ อย่างสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และรัสเซียก็พยายามหาทางให้กระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างสองชาติเดินหน้า

ล่าสุดท่ามกลางสภาวะที่เข้าใกล้วิกฤตมนุษยธรรม อดีตอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศก็ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า การปิดล้อมระเบียงลาชินอาจเข้าข่ายการฆ่าล้างผ่าพันธุ์

ลุยส์ โมเรโน โอแคมโป อดีตอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศหรือ ICC ได้ออกมาแสดงความเห็นต่อสถานการณ์ในรัฐนากอร์โน-คาราบัคว่าอาจเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะการปิดกั้นเส้นทางจากอาร์เมเนียไปสู่รัฐนากอร์โน-คาราบัค นำไปสู่ความหิวโหยและอดอยาก ซึ่งมุ่งเป้าไปที่คนเชื้อสายอาร์เมเนียโดยเฉพาะอดีตอัยการ ICC รายนี้ยังระบุอีกว่า ชาติที่ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และรัสเซียมีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และต้องลงโทษผู้ที่ดำเนินนโยบายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

และความเห็นของอดีตอัยการ ICC คนดังกว่าวได้ถูกนำไปเป็นประเด็นพูดคุยในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวานนี้แม้ว่าจะยังไม่มีมติที่เป็นรูปธรรมออกมา แต่ความเห็นในที่ประชุมเป็นไปในทิศทางที่เป็นห่วงผลกระทบที่ตามมาจากการปิดเส้นทาง อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานจากกรณีนากอร์โน-คาราบัคนั้นร้าวลึกไปกว่าสถานการณ์ที่เห็นในปัจจุบันคำถามคือ ทำไมรัฐนากอร์โน-คาราบัคจึงเป็นชนวนความขัดแย้ง เหตุใดทำไมสองชาติจึงต้องแย่งชิงดินแดนนี้

ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์การก่อตั้งประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ดินแดนที่เป็นที่ตั้งปัจจุบันของอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานถูกผนวกรวมเข้ากับสหภาพโซเวียตแต่โจเซฟ สตาลินผู้นำในเวลานั้นใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง ด้วยการยกรัฐนากอร์โน-คาราบัค พื้นที่ของชาวอาร์เมเนียให้แก่ชาวอาเซอร์ไบจาน เพื่อกดชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ไว้ให้มีปัญหากันเอง ลดความเสี่ยงที่จะลุกขึ้นต่อต้านโซเวียต

สิ่งนี้นำมาซึ่งความขัดแย้งมาโดยตลอดปี 1988 ช่วงเวลาที่โซเวียตใกล้จะล่มสลาย รัฐนากอร์โน-คาราบัคทำประชามติประกาศเอกราช ส่งผลให้อาเซอร์ไบจานไม่พอใจและนำมาสู่สงครามระหว่างอาร์เมเนียปี 1991 โซเวียตล่มสลาย ทั้งอาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจานประกาศเอกราชเป็นประเทศเกิดใหม่ แต่การต่อสู้แย่งรัฐนากอร์โน-คาราบัค ระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจานยังไม่จบ รบต่ออีกเกือบ 6 ปี มีทหารสองฝ่ายเสียชีวิต 30,000 นาย ก่อนที่รัสเซียจะเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยหยุดยิงในปี 1994

ปัจจุบันสถานะของรัฐนากอร์โน-คาราบัค ได้รับรองจากนานาชาติในฐานะดินแดนของอาเซอร์ไบจาน แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะเป็นชาวอาร์เมเนียก็ตาม

ส่วนสาเหตุที่อาร์เซอร์ไบจานไม่ยอมปล่อยรัฐนากอร์โน-คาราบัค คืนให้อาร์เมเนียทั้งๆ ที่คนที่อยู่ที่นั่นไม่ใช่คนเชื้อชาติของตัวเอง เป็นเพราะว่ารัฐนากอร์โน-คาราบัคเป็นพื้นที่ยุทธสาสตร์สำคัญ เป็นทางผ่านของท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของอาเซอร์ไบจานจากทะเลสาปแคสเปียนเข้าไปยังยุโรป ซึ่งธุรกิจนี้นับเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ