ที่ดำเนินเข้าสู่เดือนที่ 6 และยังไม่มีสัญญาณใดๆ ว่าจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากการคว่ำบาตรรัสเซียเป็นประเทศผู้ผลิตพลังงานหลักของโลก และเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสามของโลก รองจากสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย ส่งผลกระทบให้ทั่วโลกเกิดวิกฤติการขาดแคลนพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ และลุกลามไปถึงระบบการขนส่ง การผลิตอาหาร การบริโภค เงินเฟ้อ และค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น
พลังงานเดินหน้า แก้ปัญหาปาล์มน้ำมันตกต่ำ
พาณิชย์จี้เอกชนซื้อปาล์มน้ำมันจากชาวสวนโดยตรงแก้ราคาตก
ตัวอย่างประเทศที่ประสบปัญหาอย่างรุนแรงจนถึงขั้นล่มสลายด้านเศรษฐกิจล่าสุด ก็คือ ประเทศศรีลังกา นอกจากนี้ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปกำลังประสบปัญหาอย่างรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงประเทศที่อยู่ใกล้บ้านของไทย เช่น สปป. ลาว หรือแม้กระทั่งประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงาน
แน่นอนราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นรอบใน 14 ปี ย่อมส่งผลสะเทือนต่อเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานถึง 75% ของความต้องการพลังงานรวม ในขณะที่ประเทศกำลังเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 นักท่องเที่ยวกำลังเริ่มกลับมา แต่ต้องมาเผชิญกับภาวะวิกฤตพลังงาน ซึ่งจะส่งผลให้กำลังซื้อและการใช้จ่ายของครัวเรือนลดลง ภาระต้นทุนวัตถุดิบสำคัญในภาคการเกษตร ภาคการผลิตและอุตสาหกรรม การขนส่ง จะพุ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบด้านการท่องเที่ยว เพราะค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ตั๋วเครื่องบิน ต้องมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมน้ำมัน (fuel surcharge)
นโยบายของรัฐในการอุดหนุนราคาน้ำมันขายปลีกดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตรในปัจจุบัน ในขณะที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ย่อมเป็นภาระทางการคลังอย่างมหาศาล และด้วยเหตุที่ไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ เมื่อราคาน้ำมันโลกสูงขึ้น จึงส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าของประเทศพุ่งสูงขึ้นจากผลของราคาเป็นสำคัญ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อดุลการค้าของประเทศ ทำให้บัญชีเดินสะพัดของไทยยังมีแนวโน้มขาดดุลต่อเนื่องในปีนี้ และความผันผวนของค่าเงินบาท
พลิกวิกฤตพลังงาน เร่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียว
กลุ่มประเทศตะวันตกและทั่วโลกเริ่มปรับกลยุทธ์ โดยการกระจายแหล่งนำเข้าพลังงาน เร่งสร้างเทคโนโลยีผลิตพลังงานสะอาด และลดความต้องการใช้พลังงานฟอสซิล ยิ่งตั้งเป้าเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาดได้เร็วและชัดเจนขึ้น ก็จะช่วยทดแทนการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียได้เร็วขึ้นตามมา
ประเทศไทยควรใช้วิกฤตการณ์ครั้งนี้ เป็นโอกาสในการก้าวสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดในระยะยาวลดการพึ่งพาระบบพลังงานโลก (deglobalization) ลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล เข้าสู่วิถีลดโลกร้อน เช่นที่หลายประเทศใหญ่กำลังเร่งเดินเครื่องเต็มสูบได้ทันการณ์ เพื่อสร้างความมั่นคงและเป็นอิสระทางพลังงาน
นับเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของประชาชนชาวไทย ที่ได้เกิดและอาศัยอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาและพระปรีชาสามารถ พระวิสัยทัศน์ด้านพลังงานทดแทนที่ทรงเริ่มต้นศึกษาวิจัยขึ้นมาหลายสิบปี ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น ทำให้ปัจจุบันประชาชนชาวไทยได้มีทางเลือกในการใช้พลังงานทดแทนที่คนไทยสามารถผลิตได้เอง สามารถลดปริมาณการนำเข้าได้เป็นจำนวนมาก
คุณแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวัง กล่าวถึงพระราชดำริเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "พระองค์ทรงรับสั่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2504 แล้วว่าค่ารถจะแพง ก็แปลว่าน้ำมันจะแพง พระองค์ก็รับสั่งให้ทดลองผลิตแอลกอฮอล์ทำน้ำมันเชื้อเพลิง ทำเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ดีโซฮอล์ ในสวนจิตรลดา...
ตอนนั้นทรงมีพระราชปรารภว่าเมืองไทยกำลังเห่อปลูกต้นยูคาลิปตัส ที่ไหนๆ ก็ปลูกหมด ยูคาลิปตัส 3 ปี จึงจะตัดได้ แล้วท่านก็รับสั่งว่า ระหว่าง 3 ปีเขาจะเอาอะไรกิน แต่ถ้าเผื่อปลูกอ้อย ปลูกทุกปีขายได้ทุกปี แล้วก็เอาอ้อยมาทำแอลกอฮอล์ เอาแอลกอฮอล์มาผสมเบนซิน เราก็ทดลองผสมตั้งแต่ 10 เปอร์เซ็นต์ ทั้งเบนซินทั้งน้ำมันดีเซล ใช้ได้รถยนต์ของโครงการส่วนพระองค์ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์และดีโซลฮอล์"
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพของโครงการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2528 ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าในอนาคตอาจเกิดการขาดแคลนน้ำมัน จึงมีประราชประสงค์ให้นำอ้อยมาผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยพระราชทานเงินทุนวิจัยเริ่มต้นเป็นจำนวน 925,500 บาท
ไบโอดีเซล
เมื่อปี พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็ก กำลังผลิตวันละ 110 ลิตร ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มสาธิตที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมีพระราชดำรัสให้ไปทดลองสร้างโรงงานให้กลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมในพื้นที่จริง
ปีถัดมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มทดลองขึ้นที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ปี พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสให้สร้างโรงงานแปรรูปน้ำมันปาล์มขนาดเล็กครบวงจร ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2533
ในปี พ.ศ. 2543 โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาและกองงานส่วนพระองค์ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มการทดลองนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
จากการทดสอบพบว่า น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล โดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงอื่น ๆ หรืออาจใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลได้ตั้งแต่ 0.01 เปอร์เซ็นต์ ไปจนถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ "การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล"
จากผลความสำเร็จดังกล่าว เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ยื่นจดสิทธิบัตร "การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล"
ปีเดียวกันนั้นสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติอัญเชิญอัญเชิญผลงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3 ผลงาน คือ ทฤษฎีใหม่ โครงการฝนหลวงและโครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม ไปร่วมแสดงในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ "Brussels Eureka 2001" ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม ได้รับเหรียญทองประกาศนียบัตรสดุดีเทิดพระเกียรติคุณพร้อมถ้วยรางวัล พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เพียงประจักษ์ในหมู่พสกนิกรชาวไทยเท่านั้น แต่ยังขจรขจายไปในเวทีนานาชาติอีกด้วย
เชิญติดตามอ่านตอนต่อไป
ไบโอดีเซลคืออะไร
วัตถุดิบสำหรับการผลิตไบโอดีเซล
หลักการผลิตไบโอดีเซล
ขั้นตอนในการผลิตไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์
จากพระราชดำริสู่ประชาชน
ท่านที่สนใจ เชิญร่วม #ตามรอยพระราชา ครั้งที่ 19
ถอดพระอัจฉริยภาพ “จอมปราชญ์แห่งพลังงาน”
โครงการโรงงานสกัดน้ำมันพืชและผลิตไบโอดีเซลครบวงจร จังหวัดเพชรบุรี
สมัครที่ https://bit.ly/3Oy0KJv
Facebook ตามรอยพระราชา-The King’s Journey
https://www.facebook.com/105629054717233