รายงานคาดการณ์ของธนาคารโลกที่ได้รับเปิดเผยเมื่อวานนี้ (31 มี.ค.63) ระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงจีนและประเทศไทย อาจจะหดตัวลงเหลือเพียง 2.1 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ปรับลดลงจากเมื่อปี 2019 ที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ 5.8 เปอร์เซ็นต์ และในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ทั้งภูมิภาคอาจประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 1997
อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 1 เม.ย. 63
อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 1 เม.ย. 63
นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า ประชาชนกว่า 11 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะกลายเป็นคนยากจน ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยมีการคาดการณ์ก่อนเกิดวิกฤตโควิด 19 ว่า ประชาชน 35 ล้านคน ในภูมิภาคจะสามารถยกระดับฐานะพ้นจากความยากจนได้ภายในปีนี้
ทั้งนี้ ธนาคารโลกกำลังคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก ว่าจะได้รับผลกระทบเช่นไรบ้าง แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า เศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว ซึ่งอาจจะเลวร้ายยิ่งกว่าวิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2008 หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อวิกฤตแฮมเบอเกอร์
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในอินเดียพุ่งทุบสถิติในวันเดียว