ร้านอโรคยา ซึ่งเป็นร้านขายยาภายในซอยลาดพร้าว 122 ตามชั้นวางยามียาหลายชนิดถูกจัดวางเป็นหมวดหมู่ โดยเฉพาะยาตามกลุ่มอาการของผู้ป่วยโควิด เช่น ยาลดไข้ , แก้ไอ , ละลายเสมหะ , ลดน้ำมูก ที่มักจะมีผู้ป่วย หรือ ญาติของผู้ป่วยเข้ามาซื้อเป็นประจำ
แต่ยาต้านไวรัสโควิดทั้งฟาวิพิราเวียร์ , โมลนูพิราเวียร์ และแพ็กซ์โลวิด ที่แม้กระทรวงสาธารณสุขปลดล็อก ให้ร้านขายยาสั่งเข้ามา และสั่งจ่าย
ทนายตั้มพาเหยื่อ ถูก "หลานอดีตรัฐมนตรี" ล่วงละเมิด พบ "สมศักดิ์"
โรงรับจำนำคึกคัก คนนำของเปลี่ยนเป็นเงินลงทุนเพิ่มมากขึ้น
BANPU เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 3 รุ่น สูงสุด 4.20% ต่อปี ขาย 14-16 และ 19 ก.ย.
เภสัชกร สมชาย ฟื้นฟูไพศาล เจ้าของร้านยา บอกว่า เหตุผลหลักที่ทำให้เขาไม่สต็อกยาต้านไวรัสโควิดมาไว้ที่ร้านในช่วงแรก เพราะการจ่ายยาให้ผู้ป่วย ต้องมีใบสั่งจ่ายยาโดยแพทย์ เนื่องจากยาเหล่านี้ยังถือเป็นยาที่ควบคุมการใช้อยู่ ซึ่งประสบการณ์ที่เปิดร้านขายยามาตลอด 15 ปี แทบไม่เคยเจอคนไข้ ที่นำใบสั่งจ่ายยาโดยแพทย์มาซื้อยาเลย เพราะโรงพยาบาล และคลินิกเวชกรรมส่วนใหญ่จะจ่ายยาให้ผู้ป่วยโดยตรงมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อเป็นยาควบคุมการใช้
เภสัชกรสมชาย ยังบอกอีกว่า เท่าที่พูดคุยกับเครือข่ายร้านขายยาด้วยกัน ส่วนใหญ่จะยังไม่กล้าสต็อกยาเหมือนกัน เพราะไม่รู้ว่าจะมีความต้องการจากผู้ป่วยหรือไม่ ประกอบกับการจะจ่ายยาต้านไวรัสเหล่านี้ จะต้องมีการทำบัญชีบันทึกข้อมูลว่า จ่ายยาให้ใคร รวมถึงจำนวนยาที่จ่ายให้ เพื่อให้ตรวจสอบย้อนกลับได้ ก็ทำให้หลายร้าน เลือกขายเฉพาะยารักษาผู้ป่วยโควิดตามอาการ เพื่อลดการยุ่งยาก แต่ก็เชื่อว่า จะมีส่วนน้อยที่มีการสต็อกยาต้านไวรัสโควิด แต่จะเป็นร้านขนาดใหญ่ๆ เท่านั้น
ผู้ค้าหวัง "คนละครึ่ง เฟส 5" กระตุ้นยอดขายเท่าตัว
กรมชลฯ เพิ่มระบายน้ำ เตือน 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 กันยายน 2565 ลอตเตอรี่ 1/9/65