MEA-จุฬาฯ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ พัฒนา ม.อัจฉริยะ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในปัจจุบันทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเอง ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ ที่ติดตั้งบนหลังคา ผู้ใช้ไฟฟ้าเริ่มเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว มาเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าด้วย ล่าสุด การไฟฟ้านครหลวงจับมือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาอาคารในพื้นที่การศึกษา ซึ่งช่วยให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดได้เอง และประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ถึง 18 ล

นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ร่วมลงนามสัญญาต่างตอบแทน โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคาอาคารพื้นที่ทดสอบมหาวิทยาลัยอัจฉริยะด้านพลังงานของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ SAMYAN SMART CITY

MEA จับมือ กสร. สร้างความรู้ใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

MEA เตรียมพร้อมระบบ ดูแลไฟฟ้าช่วงหน้าร้อน

นายจาตุรงค์ กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ดูแลระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พร้อมขับเคลื่อนการสนับสนุนด้านพลังงานหมุนเวียน และคาร์บอนเครดิต ตามนโยบายพลังงานหมุนเวียนของแผนพลังงานชาติ สู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593

MEA จึงได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นผู้ลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาอาคาร ในพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้น 6 อาคาร ขนาดกำลังผลิตติดตั้งรวม 678.78 kWp (กิโลวัตต์) และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าตลอดอายุโครงการทั้งสิ้น 20 ปี สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) โดยจะเริ่มดำเนินการติดตั้งในเดือนตุลาคมเป็นต้นไป

โดยโครงการนี้จะเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ตามมาตรฐานของ MEA จากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมดูแลบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ตลอดจนแนวทางการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพื้นที่ SAMYAN SMART CITY ให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ ผสานคุณภาพชีวิตและธุรกิจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

การไฟฟ้านครหลวงเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นต้นแบบสำหรับสถานศึกษาหรืออาคารต่างๆ ที่มีพื้นที่บนหลังคาเพียงพอ โดยการไฟฟ้านครหลวงยินดีเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโซลาร์เซลล์และมีส่วนลดค่าไฟฟ้าให้ด้วย นับว่าเป็นเรื่องดีสำหรับเจ้าของอาคารที่จะช่วยลดค่าใช้จ่าย และยังเกิดการใช้พลังงานสะอาด ลดมลภาวะได้อีกด้วย

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ