เริ่มเป็นประเด็นมาตั้งแต่ สัปดาห์ก่อน หลัง น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เตรียมออกประกาศ ศธ.แยกวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ออกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ให้น่าสนใจ เพื่อบ่มเพาะให้เยาวชนภาคภูมิใจรักความเป็นไทย หวงแหนมรดกทางปัญญา และช่วยกันรักษา ต่อยอดและนำมาปรับประยุกต์ในปัจจุบัน
ฮือฮา! ข้อสอบ โรงเรียนดัง คำถามร้อนแรง ประเด็นการเมือง-สังคม
“ตาลีบัน” สั่งเจ้าของร้านตัดหัวหุ่นโชว์เสื้อผ้า
ซึ่งในวันนี้ 28 พ.ย. 2565สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” และพิจารณาแนวทางขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ปีงบประมาณ 2566 ทั้งให้ต้นสังกัดของสถานศึกษาและสถานศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้มีประสิทธิภาพ
ในร่างฉบับดังกล่าวจะกำหนดให้จัดเวลาเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 40 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 40 ชั่วโมงต่อปี (1 หน่วยกิตต่อปี) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวม 3 ปี 80 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต) และจะมีการแสดงผลการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์แยกออกมา จากเดิมที่รวมอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม.
ทีมข่าวได้สอบถามความเห็นจากนักวิชาการ อย่างผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมองว่า ปัญหาสำคัญของการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนนี้ คือ เนื้อหาวิชาไม่ทันสมัย เป็นเนื้อหาในทางเดียว ไม่สามารถทำให้เกิดกระบวนการวิพากวิจารณ์โต้แย้งได้ ไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการในปัจจุบัน และไม่ให้ความสำคัญกับการคิดวิเคราะห์รวมถึงบุคลากรที่มีความรู้เรื่องวิชาประวัติศาสตร์ก็ยังมีจำนวนจำกัด
อาจารย์พิพัฒน์ ยังระบุว่า หัวใจสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์คือสอนให้คนเข้าใจว่าอดีตเป็นมาอย่างไร จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรในปัจจุบัน เพื่อมองไปสู่อนาคต เพราะโลกเปลี่ยนไปมาก จึงควรสอนให้นักเรียนใช้ประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นทุนทางวัฒนธรรม เป็นฐานความรู้ในการมองโลกกว้างมากขึ้น เพราะประวัติศาสตร์สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทย และในสังคมโลก รวมถึงมองว่า วิชาประวัติศาสตร์ควรจะไปไกลเกินกว่าคำว่ารักชาติ แต่ควรสอนว่าเราควรอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างไร