เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด ได้จัดงาน Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 เพื่อมอบรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยให้กับเหล่าคนโซเชียล
ทั้งนี้ รางวัลประเภท BEST BRAND PERFORMANCE ON SOCIAL MEDIA โดยมี 1 ใน 29 กลุ่ม เป็นกลุ่มหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยผู้ชนะได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มหน่วยงานรัฐและวิสาหกิจนี้ มีอีก 6 หน่วยงานที่ผ่านเข้ารอบ และได้รางวัล ประกอบด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ , กรมควบคุมโรค , วุฒิสภา , กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการต่างประเทศ
สำหรับงาน Thailand Social Awards ถูกจัดขึ้นเพื่อให้ความสำคัญกับวงการโซเชียลที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ อีกทั้งยังร่วมส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ และยกระดับวงการโซเชียล ด้วยการมอบรางวัลเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ
ด้าน พล.ต.อ.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับรางวัลที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย จากกลุ่มหน่วยงานรัฐและวิสาหกิจ ที่พิจารณาจากหน่วยงานกว่า 3,000 แห่ง
ผลสำเร็จของรางวัลดังกล่าวเป็นการขับเคลื่อนตามนโยบาย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.ให้ ตร.สื่อสารทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนทุกรูปแบบ สร้างการเข้าถึงที่ง่าย ให้ตำรวจกับประชาชนใกล้ชิดกันบนโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น พร้อมช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รับฟังปัญหานำมากำหนดเป็นแนวทางการทำงาน ในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการมอบรางวัลให้กับบุคคล ภาคเอกชน สื่อมวลชน และอื่นๆอีกมากมาย นับเป็นงานประกาศรางวัลโชเชียลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ที่สื่อถึงเสียงสะท้อนที่มาจากมหาชน
สำหรับเกณฑ์การวัดผล เว็บไซต์ https://thailandsocialawards.com ระบุว่า ได้พัฒนา METRIC เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การวัดผล ร่วมกับคณะที่ปรึกษาจากหลากหลายแวดวงเพื่อความสมบูรณ์ของการตัดสิน ดังนี้
BRAND METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ในอุตสาหกรรมต่างๆ
CONTENT METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของเนื้อหารายการบันเทิงต่างๆ เช่น ละครไทย, ภาพยนตร์ไทย, รายการข่าว, รายการโทรทัศน์
CREATOR METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงาน หรือมีชื่อเสียงอยู่บนโซเชียลมีเดีย รวมทั้งดารา ศิลปิน ไอดอล พิธีกร และอินฟลูเอนเซอร์
โดยวัดจากช่องทางของตัวเอง (Own Channel) ออกมาเป็น Own Score และช่องทางจากการที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earn Channel) ออกมาเป็น Earn Score
ผ่าน 4 แพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook , Instagram , Twitter และ YouTube ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม
โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ Fundamental Factors ประกอบด้วยค่าพื้นฐาน คือFollowers , Reactions , Comment , Share , Views on YouTube , Views on TikTok , Social Voice และ Analytical Factors ประกอบด้วย Comment Ratio , Share Ratio , Sentim