ปภ.เตือน 66 จังหวัด เตรียมรับมือ “พายุฤดูร้อน”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปภ.แจ้ง 66 จังหวัดเหนือ-อีสาน-กลาง-กทม. เตรียมรับมือพายุฤดูร้อน ส่วนภาคใต้เฝ้าระวังคลื่นลมแรงช่วงวันที่ 8 – 12 พ.ค. 66

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (130/2566) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น

คอนเทนต์แนะนำ
ชมสด! พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทางพีพีทีวี ช่อง 36
โปรแกรมซีเกมส์ 2023 ของนักกีฬาไทย ประจำวันเสาร์ที่ 6 พ.ค. 66
เตือนฉบับ 1 "พายุฤดูร้อน" ถล่มตอนบน 8-10 พ.ค. ภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมาก

ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ในลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าบางพื้นที่ และในช่วงวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมอ่าวเบงกอล มีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนกลาง ทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรง และภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยในช่วงวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2566 ได้แก่

  • วันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2566 พื้นที่เฝ้าระวังพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ได้แก่ ภาคเหนือ (ทุกจังหวัด) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ทุกจังหวัด) ภาคกลาง (ทุกจังหวัด) รวมทั้งกรุงเทพมหานคร
  • วันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2566 พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (อ.เมือง สุขสำราญ กะเปอร์) พังงา (อ.เมือง เกาะยาว ทับปุด ตะกั่วทุ่ง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี) ภูเก็ต (อ.เมือง กะทู้ ถลาง) และกระบี่ (อ.เมือง คลองท่อม เกาะลันตา เหนือคลอง อ่าวลึก)

ปภ.จึงได้ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนที่อาจเกิดขึ้นโดยกำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และและจัดทีมปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และแจ้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง

ขณะที่ภาคใต้ได้ประสานให้จังหวัดออกประกาศหรือติดตั้งสัญญาณการแจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล และแจ้งนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำทะเลในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด พร้อมประสานกรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ตำรวจน้ำ แจ้งเตือนชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวังให้มากขึ้น และหากสถานการณ์ในพื้นที่มีแนวโน้มรุนแรง ให้พิจารณาห้ามการเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด

สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามสภาพอากาศ ข้อมูลข่าวสาร ประกาศแจ้งเตือนจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น เพื่อความปลอดภัน ขณะเกิดพายุฤดูร้อนให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรป้องกันผลิตผลทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหาย ส่วนชาวเรือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเล ขอให้ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและเพิ่มความระมัดระวังการเดินเรือในระยะนี้

เอเชียนกมส์2022-B เอเชียนกมส์2022-B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ