กลุ่มบริษัท ช.การช่าง เปิดโชว์โครงการทางพิเศษพระราม 3 – ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกมีลักษณะเป็นทางยกระดับเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัช อยู่ในความดูแลของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดจุดร่วม รองรับการเดินทางจากนอกเมืองเข้าในเมือง
โดยตัวสะพานขึงคู่ขนานสะพานพระราม 9 เป็นช่วงการก่อสร้างในสัญญาที่ 4 ภายใต้การดูแลการก่อสร้าง โดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ด้วยมูลค่าสัญญา กว่า 6,000 ล้านบาท รวมเวลาก่อสร้าง 39 เดือน
ปัจจุบันโครงการฯ สร้างแล้วเสร็จตามสัญญา 4 สิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 รวมระยะทาง 2 กิโลเมตร ทำให้มีความคืบหน้าทั้งโครงการราว 60%
เริ่มใช้เต็มรูปแบบปลายปี 68
คาดว่าจะเริ่มเปิดใช้บางส่วนในเดือนมีนาคม 2567 และเปิดใช้เต็มระบบได้ในปลายปี 2568 ซึ่งระหว่างนี้อยู่ในจะดำเนินการขอพระราชทานชื่อสะพานแห่งนี้ไปด้วย
โดยจุดเริ่มต้นจะอยู่บริเวณเชิงลาดสะพานพระราม 9 ฝั่งธนบุรี เป็นสะพานขึง คู่ขนานสะพานพระราม 9 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวของสะพานทั้งหมด 780 เมตร กว้าง 8 ช่องจราจร ข้ามไปฝั่งกรุงเทพฯ สิ้นสุดโครงการฯ ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางโคล่ เชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัช
ทนแรงลมได้ระดับทอร์นาโด ซึ่งประเทศไทยแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้น
สำหรับเทคโนโลยีการก่อสร้าง ผู้บริหาร ช.การช่าง ยืนยันว่า มีมาตรการด้านความปลอดภัยขั้นสูง จัดทำแบบจำลองสะพาน Full Model ทดสอบความแข็งแรงของสะพานต่อแรงลม ซึ่งสามารถรับแรงลมได้ถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเทียบเท่าความแรงของพายุทอร์นาโด ซึ่งประเทศไทยแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้น รวมถึงมีระบบมอนิเตอร์สภาพของสะพาน ตรวจวัดแรงดึง เซนเซอร์เฉพาะจุด พร้อมตรวจวัดดังนั้นสะพานจึงมีความมั่นคงแข็งแรงเป็นอย่างยิ่ง
เสร็จ 100% สะพานขึงคู่ขนานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมความหมายไฟประดับ
“กาแฟดอยช้าง-ดอยตุง” ขึ้นทะเบียน GI ในญี่ปุ่น
แก้รถติดขัดสะสมไม่เกิดการชะลอตัว
ส่วนประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากสะพานแห่งนี้ ช่วยแก้ปัญหาด้านการจราจร ช่วยระบายการจราจรที่ติดขัดสะสม เนื่องจากออกแบบให้มีความลาดชันน้อยกว่าสะพานพระราม 9 ที่ยกระดับจากพื้นดิน แต่ระดับจากชั้นที่ 2 สูงจาพื้นดินประมาณ 10 เมตร ทำให้ผู้ใช้ทางวิ่งขึ้น-ลงได้สะดวก ไม่เกิดการชะลอตัว ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดรถติดขัดในช่วงขาขึ้น ทั้งยังช่วยลดปริมาณรถจากสะพานพระราม 9 เดิม ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังถูกวางเป้าหมายไว้ให้เป็น Landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ด้วยการออกแบบ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และยังสามารถเปลี่ยนสีตามวาระสำคัญของราชวงศ์ไทยได้