ถ้าเข้าสู่สภาวะ “ลานีญา” จะเกิดอะไรขึ้น ส่งผลต่อไทยอย่างไร?

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ถ้าเข้าสู่สภาวะ “ลานีญา” จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ส่งผลต่อสภาวะอากาศโลก และสภาพอากาศในประเทศไทยอย่างไรบ้าง?

จากกรณีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยข้อมูล สถานการณ์เอลนีโญประจำเดือนเมษายน 2567 โดยระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสภาวะเอลนีโญกําลังอ่อน ทำให้ประเทศไทยมีแนวโน้มอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ในขณะที่ปริมาณฝนใกล้เคียงค่าปกติ และมีความน่าจะเป็นร้อยละ 60 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือน มิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 นั้น

ทำให้หลายคนสงสัยว่าหลังจากเปลี่ยนผ่านสถานการณ์เอลนีโญ ไปสู่สภาวะลานีญา จะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศในประเทศไทยอย่างไรบ้าง

คอนเทนต์แนะนำ
เอลนีโญกําลังอ่อน-อุณหภูมิสูง คาดเกิดลานีญา มิ.ย.นี้
เทียบความต่าง “เอลนีโญ” และ “ลานีญา” ส่งผลต่อโลกและไทยอย่างไร?
กรมอุตุฯ จับตา 4 ปรากฏการณ์ กระทบสภาพอากาศประเทศไทย ถึงกลางปี 67

สภาวะลานีญา กรมชลประทาน
สภาวะลานีญา จะเกิดอะไรขึ้น

โดย ลานีญา (La Nina) เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกันข้ามกับเอลนีโญ กล่าวคือ ลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกตอนกลางของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรต่ำกว่าปกติประมาณ 0.5 องศาเซลเซียสลงไป ซึ่งปรากฏการณ์ลานีญาจะเกิดขึ้นได้ทุก 2-3 ปี และปกติจะเกิดนานประมาณ 9-12 เดือน แต่บางครั้งอาจอยู่ได้นานถึง 2 ปี

ทั้งนี้ลานีญาเกิดจากกระแสลมพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมายังด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกตามเดิม แต่กระแสลมมีความรุนแรงมากกว่าปกติ ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและมีปริมาณฝนตกหนักมากกว่าปกติ ซึ่งในทางตรงข้ามก็ทำให้เกิดภาวะความแห้งแล้งตามแนวชายฝั่งทวีปอมริกาใต้อีกด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา ทำให้กระแสลมและกระแสน้ำอุ่นเกิดความแปรปรวน ซึ่งการเกิดเอลนีโญจะส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ และฝนตกหนักทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ส่วนลานีญาจะส่งผลกระทบให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ส่วนผลกระทบต่อสภาพอากาศไทยปรากฏการณ์ลานีญา จะทำให้ประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ และมีอุณภูมิลดลง

สถานการณ์เอลนีโญ กรมอุตุนิยมวิทยา
สถานการณ์เอลนีโญ ประจำเดือนเมษายน 2567

อย่างไรก็ตาม กรณีปรากฏการณ์ลานีญาในประเทศไทยนั้น มีการคาดการณ์ที่น่าสนใจ โดย ผศ. ดร.จุติเทพ วงษ์เพ็ชร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยให้ข้อมูลไว้ในการแถลงข่าว “แนวโน้มสถานการณ์น้ำ 67 - 68” รับมือภัยแล้ง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม โดยระบุว่าแบบจำลองปริมาณน้ำท่าในปี 2567-2568 มีความเป็นไปได้ 3 รูปแบบ คือ

รูปแบบที่ 1 หากช่วงฤดูฝนของปี 2567 มีการพัฒนาเข้าสู่สภาวะลานีญารุนแรง จะทำให้ปริมาณน้ำสูงถึง 14,000 ล้าน ลบ.ม.

รูปแบบที่ 2 หากช่วงฤดูฝนของปี 2567 มีการพัฒนาเข้าสู่สภาวะลานีญาอ่อน จะทำให้ปริมาณน้ำมีประมาณ 6,000 – 8,000 ล้าน ลบ.ม.

รูปแบบที่ 3 หากในช่วงฤดูฝนของปี 2567 สภาวะลานีญาอยู่ในระดับปกติ และในปี 2568 ปริมาณน้ำจะอยู่ที่ระดับประมาณ 6,000 ล้าน ลบ.ม.

คอนเทนต์แนะนำ
"ปรากฏการณ์เอนโซ" เมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลเปลี่ยน ผลพวงจาก เอลนีโญ-ลานีญา
ดร.เสรี ชี้ อุณหภูมิความร้อนลดลงช่วงกลางปี คาดฤดูฝนปีนี้เจอพายุโซนร้อน 18 ลูก

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ