ทำความเข้าใจ "เอกสารปลอม" กับ "เอกสารเท็จ" ในภาษากฎหมายไม่เหมือนกัน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

งานนี้ต้องรู้ ในภาษากฎหมาย "เอกสารปลอม" กับ "เอกสารเท็จ" มีความหมายไม่เหมือนกันและการลงโทษก็ต่างกัน

กำลังเป็นประเด็นที่ถกเถียงว่าเอกสารที่ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล  อภิปรายไม่ไว้วางใจฯ โดยนำเสนอข้อมูลเรื่อง "ปฏิบัติการไอโอของกองทัพบก พร้อมทั้งได้เปิดเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการ  ซึ่งทางกองทัพภาคที่ 2 ได้ออกมาระบุว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่เป็นเท็จ ที่ได้มีการปลอมแปลงทั้งรูปแบบไม่เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ รวมทั้งการลงลายมือชื่อไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

กองทัพภาคที่ 2 แจงเอกสาร IO เป็นของปลอม

รองโฆษกทบ. ยัน กองทัพภาคที่ 2 จำเป็นต้องฟ้องส.ส.ก้าวไกลใช้ข้อมูลเท็จอภิปรายฯ

งานนี้ทีมข่าว พีพีทีวี นิวมีเดีย ได้มีการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างของคำว่า  "เอกสารปลอม" กับ "เอกสารเท็จ" ในภาษากฎหมายกลับพบว่า 2 คำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน

เอกสารปลอมคือ 
คำนิยามของเอกสารปลอม หมายถึง เอกสารที่ปรากฎข้อมูลว่า ใครเป็นผู้ทำแต่บุคคลดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้ทำจริง หรือเอกสารที่ทำขึ้น โดยผู้ทำเอกสารไม่มีอำนาจทำ แต่แอบอ้างว่าตนมีอำนาจ 

ดังนั้นเอกสารปลอม จึงถือเป็นการลวงหลอกให้ผู้อื่นที่เห็นเอกสารหลงเชื่อว่า ผู้ที่ทำเอกสารคือใคร โดยที่ผู้นั้นไม่ได้จัดทำเอกสารขึ้นจริงๆ และไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้อื่นทำ หรือหลอกว่าผู้จัดทำเอกสารนั้นมีอำนาจทำเอกสารดังกล่าว โดยที่ผู้นั้นไม่มีอำนาจจัดทำจริง

ซึ่งหากเข้าข่ายลักษณะที่ว่า แม้เนื้อหาภายในเอกสารจะเป็นเรื่องจริง แต่ก็ถือว่าเอกสารดังกล่าวเป็นของปลอม 

สำหรับการดำเนินคดี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา มาตรา 264 บัญญัติ ระบุว่า  ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด

เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริงหรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อ ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
 

เอกสารเท็จ คือ 
คำนิยามเอกสารเท็จ คือ เอกสารที่ทำขึ้นโดยปรากฎข้อมูลว่าบุคคลใดเป็นผู้ทำ และบุคคลนั้นจัดทำเอกสารจริง และบุคคลดังกล่าวมีอำนาจจัดทำเอกสาร แต่เนื้อหาในเอกสารไม่ตรงกับความเป็นจริง

ลักษณะของเอกสารเท็จ จึงเป็นการหลอกให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในเนื้อหาที่ปรากฎในเอกสารแต่ไม่ได้หลอกให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในตัวผู้ทำเอกสาร ดังนั้นถ้าผู้จัดทำเอกสารมีอำนาจในการจัดทำเอกสารดังกล่าว ถึงแม้เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวจะเป็นความเท็จ ก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

สำหรับการดำเนินคดี เกี่ยวกับเอกสารเท็จนั้น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาจัดทำเอกสารเท็จ ไม่มีความผิดอาญาตามกฎหมายแต่อย่างใด

แต่ถ้าผู้จัดทำเอกสารเป็นเจ้าพนักงานอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมาย มาตรา 162 และหากเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทำเอกสารเท็จก็อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายมาตรา269

 

 

ข้อมูลจาก 

-ทนายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์  บทความกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณความอาญา 
-ประมวลกฎหมายอาญา 

Bottom-Interactive Bottom-Interactive

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ