เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 กับ นางสาวพิกุน จันทร์งาม อายุ 45 ปี อาศัยอยู่ที่ต.หนองแจง อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ ตกเป็นเหยื่อ ถูกมิจฉาชีพ หลอกให้กู้เงินผ่านแอปพลิเคชั่นกับธนาคาร ที่โฆษณาผ่านทาง เฟซบุ๊ก โดยมีข้อความเชิญชวน “เสนอให้กู้เงินได้ ขั้นต่ำ 50,000-100,000”
เมื่อนางสาวพิกุน เผลอลองแตะเข้าไปดู จากนั้นทางแอปฯธนาคารดังกล่าว ก็ติดต่อกลับมาหา สุดท้ายเหยื่อหลงเชื่อ จึงทำเรื่องขอกู้เงิน 50,000 บาท
หนุ่มตามหาทอง 45 บาท หล่นหายระหว่างนำไปขาย วอนผู้พบเห็นนำมาคืน
คาดราคาทองอยู่ที่ระดับบาทละ 18,000 -19,000 บาท ถึงสิ้นปี
โดยทางแอปฯ ให้ผู้เสียหาย ถ่ายรูปบัตรประจำตัวประชาชน ถ่ายรูปทะเบียนบ้าน ถ่ายรูปหน้าสมุดธนาคาร ส่งไปให้ จากนั้นให้ผู้เสียหายโอนเงินค่าธรรมเนียม 500 บาท และรอการอนุมัติ แต่หลังจากโอนเงินไปไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ จึงเริ่มเอะใจว่าตนเองจะถูกหลอกจากมิจฉาชีพ ต่อมาผู้เสียหายไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินกับทางธนาคารได้ ก่อนที่ช่วงเวลา 7 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้นเงินหายไปจากบัญชี 18,000 บาท จึงได้แจ้งความที่ สถานีตำรวจภูธรบึงสามพัน
ขณะที่ทาง “เจ้าหน้าที่ของธนาคาร” แจ้งว่า การกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำของมิจฉาชีพ ไม่เกี่ยวข้องกับธนาคาร ทางมิจฉาชีพน่าจะใช้เอกสารที่ผู้เสียหายส่งไปให้ สร้างบัญชีแอปฯธนาคารใหม่ขึ้นมา จึงทำให้เจ้าของตัวจริงไม่สามารถระงับการทำธุรกรรมได้
ทางผู้เสียหายเอง ก็กลัวว่าจะถูกสามีตำหนิ จึงลบทั้งแอปฯเงินกู้ รวมทั้งหลักฐานข้อความในการสนทนาต่างๆ ส่วนที่ยอมออกมาเปิดเผยข้อมูล เพราะไม่อยากให้มีใครต้องตกเป็นเหยื่อ เหมือนกับที่ตนเองโดน
ตำรวจ ย้ำเตือนประชาชน ห้ามบอกรหัส OTP กับใครเด็ดขาดสุ่มเสี่ยงเสียเงินหมดบัญชี
พระใจเด็ด วิ่งแย่งตู้บริจาคเงินคืนจากโจร
ผู้เสียหายรายนี้ ยังเล่าเสริมถึง สาเหตุที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพรายนี้ เพราะโปรไฟล์แก๊งเงินกู้ นั้นดูดี เป็นรูปผู้หญิงยืนคู่ธนาคาร เหมือนเจ้าหน้าที่ของธนาคารที่ถูกแอบอ้างจริงๆ