ชาวบ้าน เผย เคยทอดไส้กรอกพบสีแดงผิดปกติ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




บก.ปคบ. บุกจับแหล่งผลิตไส้กรอกปนเปื้อนในพื้นที่ จ.ชลบุรี พร้อมยึดของกลาง 32 รายการ มูลค่ากว่า 700,000 บาท หลังพบเด็กกินแล้ว เกิดภาวะ "ภาวะเมทฮีโมโกลบินนีเมีย" เพราะไส้กรอกที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เสี่ยงต่อการรับสารโซเดียมไนไตรต์เกินมาตรฐาน

พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผู้กำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า สำหรับเด็กที่กินไส้กรอกเหล่านี้ แล้วมีอาการป่วยมีทั้งหมด 9 คน กระจายอยู่ใน 5 จังหวัด โดยจากการสืบสวนพบว่า ไส้กรอกที่เด็กๆ กินเข้าไปมาจากแหล่งผลิตเดียวกัน กระจายจากโรงงาน ไปที่ตลาดนัดชลบุรี และตลาดมหาชัย และพ่อค้าแม่ค้ามารับไปขายต่อจนมีเด็กป่วยกระจายทั่วประเทศ 

อย.บุกโรงงานไส้กรอกพิษ พบวัตถุดิบไร้มาตรฐานอื้อ ผลิตส่งขายทั่วประเทศ

ศูนย์พิษวิทยา เตือนอย่ากินไส้กรอกไม่มียี่ห้อ-ไม่มีเอกสารกำกับ หลังเด็ก 6 ราย ป่วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน

จากการตรวจค้นเมื่อวานนี้ ( 2 ก.พ.)  พบหญิงคนหนึ่ง แสดงตัวเป็นเจ้าของกิจการโรงงานผลิต ยอมรับว่า ทำการผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังพบผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหลายรายการตรงกับฉลากผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับข้อมูลจากผู้ป่วยที่กินเข้าไปแล้วอาการผิดปกติ ซึ่งฉลากดังกล่าวก็ยังไม่ได้แสดงเลขสารบบอาหาร และเป็นการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง 

“หมู – ไข่ไก่” ปรับราคาลดลงหลังตรุษจีน พาณิชย์ คาดใกล้เคียงต้นทุนเร็ว ๆ นี้

นอกจากนี้ยังพบสถานที่ผลิตไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ GMP ที่กฎหมายกำหนด รวมถึงมีข้อบกพร่อง ไม่มีการควบคุมการผลิต และผลิตออกมาภายภายใต้ 32 ยี่ห้อ สลับกันไปเรื่อยๆ ซึ่งพบแบบนี้มาต่อเนื่อง 5 ปีแล้ว แต่เพิ่งย้ายจากจังหวัดชลบุรีมาแล้ว 1 ปีครึ่ง

ด้าน นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการ อย. ระบุว่า ในผลิตภัณฑ์มีการใส่สารกันเสีย สูงกว่ามาตรฐานเกือบ 30 เท่า เพราะผู้ผลิตใช้วิธีการตักใส่โดยไม่ได้ชั่งตวง

ส่วนบรรยากาศที่ โรงงานผลิตไส้กรอกดังกล่าว ที่ ต.บ้านสวนอ.เมือง จ.ชลบุรี เช้าวันนี้ พบโรงงานดังกล่าวปิดเงียบยังมีคนอยู่แต่ประตูเหล็กปิดไม่มีใครออกมาให้ข้อมูลกับทางผู้สื่อข่าว

สอบถาม น.ส.ประกาย วงษ์สาหร่ายชาวบ้าน เปิดเผยว่า โรงงานนี้มีคนงานประมาณ 10 กว่าคน เคยนำ ไส้กรอกมาให้ลองทอด และ นึ่ง พบว่า มีสีแดงผิดปกติ กลัวเป็นอันตรายจึงทิ้งไป ไม่ได้ให้ลูกกิน

เบื้องต้น จะมีการดำเนินคดีในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 สถานที่ผลิตอาหารไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี โทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และ ผลิตภัณฑ์อาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง โทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

ผบ.ทร.สั่งลงโทษให้ถึงที่สุด นาวาตรี ซ่อนกล้องแอบถ่ายในห้องน้ำรพ.

ด้านนพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย อธิบายว่า ปกติแล้วการทำไส้กรอกจะมีการใส่สารเคมี 2 ตัว คือ สารโซเดียมไนไตรต์ หรือโพแทสเซียมไนเตรท ซึ่งจะช่วยยืดอายุอาหาร และทำให้สีของไส้กรอกน่ากิน แต่ถ้าใส่มากเกินที่กำหนด ผู้บริโภคมีอันตรายได้ ทำให้เกิดภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด  จนร่างกายขาดออกซิเจน โดยเฉพาะในเด็กจะมีอาการเริ่มต้น เช่น เขียวปลายมือ ปลายเท้า ริมฝีปากคล้ำ หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย เวียนหัว ปวดหัว อ่อนเพลีย จะเป็นลม และถ้ารุนแรงก็จะเริ่มหายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้ถ้ารักษาไม่ทัน 

TOP อาชญากรรม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ