อดีตจเรตำรวจ ชี้ ตร.ทำคดีแตงโมล่าช้า

โดย PPTV Online

เผยแพร่

การทำคดีแตงโม นิดา ของตำรวจกำลังถูกตั้งคำถามจากสังคม ว่าเป็นไปตามขั้นตอนปกติ หรือ ช้าไปหรือไม่ เพราะบางประเด็นที่ชาวโซเชียลตั้งข้อสังเกต ตำรวจก็ตามไปตรวจสอบภายหลัง ขณะที่อดีตรองผู้บังคับการจเรตำรวจ มองว่า คดีนี้ตำรวจช้าตั้งแต่แรก ทั้งการรวบรวมพยานหลักฐาน และ การเรียกพยานมาสอบปากคำ

ทีมข่าวรวบรวมเหตุการณ์ที่ชาวโซเชียลมีเดีย ตั้งข้อสังเกต  พบว่า มีทั้งข้อสังเกต การทำงานของตำรวจ และ พิรุธของ 5 คน บนเรือ ซึ่ง พิรุธ! 5 คน บนเรือ มีทั้ง การถูกมองว่า ทำไมไม่เรียกกู้ภัยทันที  ทำไมไม่โยนชูชีพให้แตงโม  รวมถึงเรื่องการต่อว่ากู้ภัยว่าให้ข้อมูลมั่ว รวมถึงการหนีกลับบ้านตอนตี 1 แต่อ้างว่ากลับบ้านตอน ตี 3-4  การที่เรือถูกทำความสะอาดก่อนตรวจพิสูจน์ และ การที่ตำรวจเรียกแต่ยอมไม่มาในทันที บอกว่าขอไปหาทนายความก่อน รวมถึงเรื่องการถูกถ่ายภาพแผลที่ร่างกาย แต่สุดท้ายขอให้สื่อลบภาพ

เจ้าของอู่เรือให้ข้อมูล"แตงโม"พลัดตกเรือ

"แซน" ลั่นไม่ได้โกหก ยันไร้รอยแผล

ส่วนการทำงานของตำรวจ ถูกตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมไม่เก็บหลักฐานตั้งแต่วันแรก  ทำไมต้องเปลี่ยนสถานที่ตรวจร่างผู้ตาย และ ทำไมไม่ตรวจร่างกาย-เก็บปัสสาวะคนในที่เกิดเหตุตั้งแต่ต้น

ทีมข่าวสอบถามไปยัง พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร อดีตรองผู้บังคับการจเรตำรวจและเลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม บอกว่าคดีนี้ การทำงานของตำรวจดูเหมือนจะล่าช้าไปหลายก้าว เช่น กรณีการรวบรวมพยานหลักฐานจากจุดเกิดเหตุ กว่าจะนำเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานเข้าไปที่อู่เรือได้ ก็ผ่านไปหลายชั่วโมง ทั้งที่ต้องเก็บหลักฐานทันที

คำต่อคำ "โบ TK" ฝากถึง "กระติก" พูดความจริงเหตุการณ์บนเรือจน "แตงโม" เสียชีวิต

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่คนบนเรือที่เหลือรีบกลับบ้าน ทั้งที่ยังไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งตามกฎหมายควรจะอยู่ให้ข้อมูลกับตำรวจ เพราะการสอบปากคำทันที จะทำให้ไม่มีโอกาสเตรียมข้อมูลได้ หรือบางประเด็นก็ตามหลังสังคมออนไลน์ที่ออกมาตั้งข้อสังเกต ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจ แต่ตำรวจไม่ดำเนินการ

พ.ต.อ.วิรุตม์ ยอมรับ ความล่าช้า ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน และกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้การไม่อธิบายข้อเท็จจริงได้เท่าที่ควร ท่ามกลางข้อสงสัยของสังคม ก็ยิ่งทำให้สังคมต้องค้นหาความจริงด้วยตัวเอง พร้อมย้ำว่ารู้สึกแปลกใจเรื่องของความเร็วของเรือขณะเกิดเหตุ ว่าสรุปแล้วขับเร็วแค่ไหน

เพราะแม้สื่อมวลชนจะถาม แต่ตำรวจบอกว่าเป็นความลับ ซึ่งส่วนตัวมองว่าประเด็นนี้แบบนี้ไม่ใช่ความลับ ที่เปิดเผยแล้วจะส่งผลเสียต่อรูปคดี และไม่ควรเป็นความลับ เพราะเหตุการณ์นี้เป็นเป็นการเสียชีวิตผิดธรรมชาติ

วันเดียวกัน พลตำรวจโทจิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 กล่าวว่า กรอบการทำงานคดีนี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 เมื่อพนักงานสอบสวน หรืออัยการ สั่งปล่อยตัวชั่วคราว ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่

“เสพข่าวแตงโม” อย่างไรไม่ให้เสียสุขภาพจิตกับสูตร 2 ไม่ 1 เตือน

การปล่อยตัวชั่วคราวนั้น ให้ใช้ได้ระหว่างการสอบสวนหรือจนกว่าผู้ต้องหาถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวน หรือจนถึงศาลประทับฟ้อง แต่มิให้เกิน 3 เดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยตัวชั่วคราว และจะยืดเวลาการปล่อยตัวชั่วคราวให้เกิน 3 เดือนก็ได้ แต่มิให้เกิน 6 เดือน

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ