จากกรณีเมื่อคืนวันที่ 11 ธ.ค. 67 เกิดเหตุการใช้อาวุธปืนยิง นายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรือ สจ.โต้ง เสียชีวิตในบ้านพักของ นายสุนทร วิลาวัลย์ นายก อบจ.ปราจีนบุรี โดยผู้ก่อเหตุเป็นลูกน้องของนายสุนทร
เรื่องนี้ทำให้สังคมโฟกัสการเมืองท้องถิ่นว่าเกิดอะไรขึ้น และจากคลิปเสียงที่หลุดออกมาทำให้มีการคาดเดาว่าอาจเป็นความขัดแย้งเรื่องการแบ่งกันลงสมัครนายก อบจ. หรือไม่ หากใช่ คำถามสำคัญคือ การเมืองท้องถิ่นของบ้านเรา เดิมพันร้ายแรงจนถึงขั้นต้องแลกชีวิตกันเลยหรือ?
ปราจีนบุรี หนึ่งในพื้นที่ผลประโยชน์สูง
คุณวุฒิพงศ์ ทองเหลา สส.ปราจีนบุรี พรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวในรายการเข้มข่าวเย็น ช่วง Exclusive Talk คุยข้ามช็อต ทางช่อง PPTV HD 36 วันที่ 12 ธ.ค. 67 ว่า ปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างมีความดุเดือดในทางการเมือง
“ถามว่ารุนแรงแค่ไหน เล่าย้อนไปสัก 15 ปี เคยมีข่าว อบต. พื้นที่หนึ่ง ครั้งแรกที่ลงเลือกตั้ง เกิดเหตุรถระเบิด ขาขาด ต้องเว้นว่างไม่มี อบต. ไป 4 ปี พอเลือกตั้งอีกครั้ง กำลังจะมี อบต. ก็ถูกกราดยิงอีก ย้อนหาข่าวดูจะเจอ” คุณวุฒิพงศ์กล่าว
สส.ปราจีนบุรีเสริมว่า รายละเอียดในปราจีนบุรีที่หลายคนไม่ทราบคือ ปราจีนบุรีเป็นจังหวัดที่มี GDP ต่อหัวสูงติด 1 ใน 5 ของประเทศ มีเรื่องการประกอบกิจการมากมายในจังหวัด นิคมอุตสาหกรรม ถึงจะยังไม่ได้เข้า EEC (ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก) แต่ปีหน้าปราจีนบุรีจะเป็นจังหวัดที่ 4 ที่จะเข้า EEC แล้ว
คุณวุฒิพงศ์บอกว่า “ปราจีนบุรีไม่มีแค่ 3 ปัญหา คือเรื่องชาติพันธุ์ เรื่องประมง และเรื่องชายแดน นอกนั้นมีครบหมด บ่งบอกว่าปราจีนบุรีมีหลากหลายเรื่องราวปัญหา มีธรุกิจหลายประเทศ เกิดปัญหาตามมาเป็นเงาตามการเตือบโต มีการแข่งขันสูง”
รู้จักโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” พัก-ยกเว้น ดอกเบี้ย 3 ปี ครอบคลุมลูกหนี้ 1.9 ล้านราย
ภรรยา “สจ.โต้ง” รับศพสามี เผยไม่รู้ปมขัดแย้ง-วันเกิดเหตุรู้แค่ไปธุระ!
ปธน.เกาหลีใต้แถลงยืนยัน กฎอัยการศึกเป็นการปกป้องประเทศและประชาธิปไตย
ด้าน รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า โครงสร้างการเมืองท้องถิ่นในหลายพื้นที่ทุกวันนี้ยังผูกติดกับตัวบุคคล ขาดกลไกการคัดสรร ทำให้เมื่อหลายครั้งคุยกันไม่ลงตัวมักจบที่ความรุนแรง เมื่อการเลือกตั้งเป็นแค่พิธีกรรม ทำให้ท้ายที่สุดต้องไปเคลียร์กันข้างหลัง ถ้าฝั่งหนึ่งถือคะแนนเสียง อีกฝั่งไม่มีช่องทางอยากหาลู่ทาง พอคุยกันไม่ลงก็จบแบบที่เห็น
“ในไทย หลายพื้นที่ไม่น้อยเป็นแบบนี้ ภาคตะวันออกเอวมีบ้านใหญ่เยอะ เป็นผลจากภูมิรัฐศาสตร์ การที่ติดชายแดน ติดชายทะเล ช่องทางธรรมชาติเยอะ เกิดเหตุอะไรเข้าออกง่าย รวมถึงมีเรื่องการค้าชายแดนที่มีผลประโยชน์แอบแฝง ทั้งธุรกิจผิดกฎหมาย บ่อนชายแดน สินคาหนีภาษี ของเถื่อน มีเศรษฐกิจนอกระบบเยอะ” รศ.ดร.ยุทธพรบอก
มาเกี่ยวการเมืองท้องถิ่น แปรรูปมาจากการเกิดรัฐในลักษณธรัฐเจ้าพ่อในอดีต สัมพันส่วนกลาง ราชการ หลายครั้งเกิดเรื่องก็จบเงียบ ๆ ยังมีกมคุ้มครองคนในพิ้นที่กังวล
คุณวันวิชิต บุญโปร่ง นักวิชาการรัฐศาสตร์ เสริมว่า หลายจังหวัดในภาคตะวันออก ถ้าไปสำรวจสาแหรกผู้มีอิทธิพล จะพบว่ามาจากธุรกิจนอกระบบทั้งสิ้น มีไม่กี่ตระกูลที่ประกอบสัมมาอาชีพสุจริต
“ความอุดมสมบูรณ์ของการเป็นเมืองชายแดนมีผลมาก เพราะผู้มีอิทธิต้องการทรัพยากร ถ้ามั่งคั่งการเลี้ยงดูปูเสื่อก็ตามมา สามารถสร้างเครือข่ายได้ไว ในประวัติศาสตร์ เจ้าพ่อภาคตะวันออกรู้จักสร้างอำนาจกับจอมพลทั้งหลาย พอมั่งคั่ง ปรารถนาลงเล่นสนามการเมือง บางคนเริ่มจากระดับท้องถิ่น บางคนไประดับชาติ” คุณวันวิชิตกล่าว
นักวิชาการรัฐศาสตร์มองอีกเหตุผลที่ทำให้การเมืองท้องถิ่นดุเดือดคือ ภัยคุกคามจากการเมืองแบบใหม่
คุณวันวิชิตบอกว่า ตระกูลการเมืองในบางพื้นที่เริ่มถูกท้าทาย เริ่มถูกรุกพื้นที่เขตอำนาจ บางตระกูลไม่ได้ปรับตัว ทำให้แพ้การเลือกตั้งระดับใหญ่ ต้องหันกลับมาเล่นสนาม อบจ. นายกเทศมนตรี ให้ยังเป็นคนของตระกูลตัวเองอยู่
ถ้าการเมืองโลกเก่ายังอยู่ ความรุนแรงแบบนี้ก็จะยังเกิด?
คุณวุฒิพงศ์บอกว่า สมัยที่ลงสมัคร สส. ใหม่ ๆ เคยคิดว่าแค่เอานโยบายไปสู้ก็สามารถเอาชนะได้ แต่พอได้เรียนรู้จริง ๆ มีเรื่องเส้นสาย ผลประโยชน์แอบแฝง เป็นเหมือนภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่มาก
“ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ สจ.โต้ง เป็นเหตุใหญ่ อุกอาจ แต่โซเชียลไวมาก ทั้งเสียงทั้งภาพ ประชาชนปะติดปะต่อเรื่องได้ เรื่องระบบอุปถัมภ์ เส้นสาย อำนาจ ซุ้ม มือปืน ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีอยู่ในหลายจังหวัด ไม่ใช่แค่ปราจีนบุรี” สส.ปราจีนบุรีกล่าว
คุณวุฒิพงศ์เสริมว่า “ผมเอง ตอนลงสมัครเลือกตั้ง มีไลฟ์สดคุยชาวบ้าน เขาบอกให้ไปวิ่งเหมือนชัชชาติ เรียกกระแส ผมเชื่อว่านน่าจะวิ่งได้ 2 วัน วันที่ 3 คงไม่รอด”
คุณวุฒิพงศ์บอกอีกว่า การเมืองท้องถิ่นจะมี 3 รูปแบบกว้าง ๆ คือแบบบ้านใหญ่ที่มีอิทธิพลอำนาจจ๋า ๆ กับแบบกลางที่พอพูดคุยได้ และแบบใหม่ ซึ่ง 3 รูปแบบนี้ความจริงมีการกระทบกระทั่งกันหมด แต่วิธีปะทะแตกต่างกัน
ถ้าแบบเดิม มีระบบเครือข่าย มีปัจจัยด้านทรัพยากร ต้องอุ้มลูกเจี๊ยบ สจ. 20 ตัว มีเงินมีหลายอย่างทรัพยากรที่จะต้องให้ หลายอย่างจะเป็นการช่วยดึงคะแนนกลับมาให้นายก อบจ. เมื่อผลประโยชน์และทรัพยากรมาก หากเกิดความขัดแย้ง จึงมักรุนแรง ถ้าเคสที่รุนแรงมากก็อาจจบแบบกรณี สจ.โต้ง
ส่วนถ้าเป็นการเมืองแบบใหม่ จะเป็นการปะทะในลักษณะเขตใครเขตมัน ทีมนี้จะไม่ช่วยทีมนั้นนะ หรืออาจแข่งกันเลย แบ่งเป็นเสี้ยว ๆ บางทีป้ายใช้รูปเดียวกันคนละเบอร์ก็มี ก็หาเสียงสู้ท้าชนกันเลย ว่าประชาชนจะเลือกใคร
นั่นหมายความ ต้องเปลี่ยนการเมืองแบบเก่าให้ได้ ไม่อย่างนั้นความรุนแรงแบบนี้อาจเกิดขึ้นอีก
คุณวันวิชิตบอกว่า ต้องเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งท้องถิ่น เปิดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า การเลือกตั้งนอกเขต เหมือนกับการเลือกตั้งระดับชาติ จะลดความได้เปรียบของการเมืองแบบเก่า เพราะประชาชนที่อยู่ที่อื่นสามารถใช้สิทธิเลือกได้ “เสียงคะแนนธรรมชาติจะมาทำลายระบบจัดตั้ง”
รศ.ดร.ยุทธพรเสริมว่า นอกจากเปลี่ยนระบบเลือกตั้งท้องถิ่น ต้องเปลี่ยนระบบราชการและภาครัฐไม่ให้สนับสนุนการเมืองแบบนี้ “เจ้าพ่อแต่ละพื้นที่เกิดไม่ได้ถ้ารัฐไม่สนับสนุน การเมืองเจ้าพ่อเกิดไม่ได้ ราชกรารสนับสนุน เกิดละเมิดกม
หรืออดีต 60-70 ปีที่แล้ว ก็มทาจากรัฐ เป็นมิตรกับบทบาทอำนาจศก หรือมีบารมีต่าง ๆ
คุณวันวิชิตเห็นด้วย โดยบอว่า ทุกกลไกอำนาจรัฐ นักการเมืองท้องถิ่นต้องการเข้าถึงทั้งนั้น ไม่ใช่แค่ทหารตำรวจ แต่ถ้าได้ทั้งแพ็กเกจ รับประกันหลายอย่างได้ ในขณะเดียวกัน บ้านใหญ่ที่มีบารมีสะสมมาก สามารถเนรมิตอนาคตของข้าราชการให้คุณให้โทษได้
คุณวุฒิพงศ์ย้ำว่าเรื่องเหล่านี้ต้องเปลี่ยน ไม่ใช่แค่ปราจีนบุรีแต่ทุกจังหวัด
“ไม่ใช่เฉพาะปราจีนบุรี ทุกจังหวัดต้องเปลี่ยนผ่าน การเมืองแบบบ้านใหญ่กำลังมีปัญหา กำลังเป็นขาลง ต้องเป็น สส.แบบใหม่ ตระกูลการเมืองต้องปรับตัว วาระการทำงานต้องชัด ทำสิ่งที่แตกต่างให้ประชาชนสนับสนุน” สส.ปราจีนบุรีกล่าว
เขาบอกว่า “การเปลี่ยนแปลงพัฒนาที่เป็นรูปธรรมจะต้องชัด การกดดันหรือบทบาทในสภาต้องทำให้เห็น พูดให้เยอะ สร้างระบบนิเวศแบบใหม่ เริ่บกระบวนการใหม่ ให้โลกเก่าปรับตัวตามเรา ทุกจังหวัดควรเป็นแบบนั้น”