ดราม่า แม่ค้า “คนละครึ่ง”ถูกเก็บภาษี 9 หมื่นบาท


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พ่อค้า แม่ค้า ที่เข้าร่วมโครงการกระตุ้นกำลังซื้อของภาครัฐ ได้ยินข่าวนี้แล้ว ค่อนข้างกังวลกับเหตุการณ์นี้ เนื่องจาก มีแม่ค้าขายอาหารทะเลออนไลน์ รายหนึ่ง ออกมาโพสต์ลงโซเชียลว่า เธอถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเกือบ 100,000 บาท เพราะเข้าร่วมโครงการรัฐ

จากกรณี แม่ค้าออนไลน์ ที่ จ.ขอนแก่น โพสต์ข้อความ ตัดพ้อลงโซเชียลว่าถูกเก็บภาษีย้อนหลัง กว่า 92,257 บาท หลังจากเข้าร่วมโครงการ “คนละครึ่ง”และโครงการอื่นๆ ของรัฐบาล

ต่อมา จะแม่ค้า รายนี้ได้ปรับแก้ข้อความเป็น “แนะนำสำหรับแม่ค้าออนไลน์ และแม่ค้าทุกประเภท หากคุณมีรายได้ ให้เข้าปรึกษาเพื่อหาวิธีชำระภาษีที่ถูกต้อง และภายในกำหนด จะได้ไม่มีเบี้ยปรับ หากมีรายได้เกินต้องเสียภาษีตามกฎหนด”  โดยเรื่องนี้ คนในโลกออนไลน์แห่วิพากษ์วิจารณ์ในหลายมุมมอง

"คนละครึ่ง-เราชนะ" โอนเงินช้าหมุนเงินไม่ทัน

วิธีการรับสิทธิ ลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 3 ต้องสมัครยืนยันสิทธิทุกคน เปิด 5 เงื่อนไข ไม่พลาดรับ 3,000 บ...

ในเวลาต่อมา นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เผยว่า กรณีเป็นการแจ้งเพื่อให้ผู้ค้าจ่ายภาษีเงินได้ของรายได้ปี 2563 ไม่ใช่การเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่ปีนี้รัฐบาลได้เลื่อนการยื่นผ่านระบบออนไลน์ออกไปจนถึงสิ้นเดือนมิ.ย.นี้  จึงยืนยันว่ากรณีที่เกิดขึ้นไม่ใช่การเก็บภาษีย้อนหลัง

พร้อมย้ำว่า ”ผู้ที่มีรายได้จากการค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าออนไลน์หรือขายสินค้าทั่วไป เมื่อมีรายได้ต่อปีเกิน 60,000 บาทขึ้นไป ทุกคนก็จะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบฯ และในกรณีที่ไม่ได้ยื่นแบบภายในกำหนดเวลาต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท และเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ"

ทีมข่าว PPTV ไปสัมภาษณ์ เจ้าของเพจ Taxtugnoms นายถนอม เกตุเอม กูรูที่ให้ความรู้เรื่องการเสียภาษีมากกว่า 10 ปี อธิบายว่า การที่แม่ค้าออนไลน์เข้าสู่โครงการของรัฐ ก็มีโอกาสที่จะถูกตรวจสอบรายรับได้ แต่อยากเน้นย้ำให้ทุกคนตระหนักว่า การเสียภาษีเป็นหน้าที่ ของผู้ที่มีรายรับเกินกฎหมายกำหนด และหากผู้ค้าตั้งใจหลบเลี่ยงภาษี กรมสรรพากรก็มีหน้าที่ในการตรวจสอบตามกฎหมาย

เจ้าของเพจ Taxbugnoms ยังแนะนำวิธีการคำนวนภาษี สำหรับ แม่ค้าออนไลน์ ว่า ปกติจะใช้วิธีการคำนวน 2 วิธี คือ 1. วิธีเงินได้สุทธิ มาจาก รายได้ ลบด้วย ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน โดยอาจเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา 60%  หรือค่าใช้จ่ายจริง ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ถ้าคำนวณแล้วเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทตลอดปี ก็จะไม่ต้องเสียภาษี แต่หากเกินก็จะเสียเป็นขั้นบันได 5-35%  ในกรณีมีค่าลดหย่อน หรือ ค่าใช้จ่ายเยอะก็จะเสียภาษีน้อยลง

2.ส่วนอีกรูปแบบ คือ คำนวณแบบเหมา โดยคิดจาก รายได้ คูณ 0.5 %  ซึ่งผู้เสียภาษีจะเสียตามวิธีที่คำนวณแล้วได้ภาษีมากกว่า โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีได้ในออนไลน์ 

ซึ่งกรณีนี้ไม่รวมกับ ถ้ามีการจำหน่ายสินค้าและบริการเกิน 1ล้าน8แสนบาทต่อปี ซึ่งต้องไปขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ด้วย

เช็กสิทธิเราชนะ หมดเขต 30 มิ.ย.เงินเหลือรีบใช้ รับต่อ "คนละครึ่งเฟส 3" เริ่ม 1 ก.ค. ลงทะเบียนด่วน!

คนละครึ่งเฟส 3 ให้ 3,000 น้อยไป ชงเพิ่มเป็น 6,000 บาท เช็กลงทะเบียนรับสิทธิ 2 แบบ

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ