เศรษฐกิจไทยเผชิญ 4 วิกฤต รัฐเดินหน้า 12 มาตรการ Quick Win


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ครม.เห็นชอบแนวทางของมาตรการระยะเร่งด่วน (Quick Win) เพื่อรองรับสถานการณ์ในระดับวิกฤตเศรษฐกิจและมาตรการที่ต้องเร่งดำเนินการต่อเนื่อง (Follow-up Urgent Policy)

วิกฤตเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางปัจจัยที่รุมเร้าซึ่งผลการประเมินเครื่องบ่งชี้วิกฤติเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศจากคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ  ทั้งหมด  4 ด้าน คือ 

ครม.อนุมัติ 500 ล้านบาท ปล่อยกู้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งทะเล ดอกเบี้ย 0%

ลดภาษีประจำปี 90% ช่วยแท็กซี่ สามล้อ วินมอเตอร์ไซค์

1.วิกฤตต้นทุนพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ พบว่า ปริมาณน้ำมัน ก๊าซ ไฟฟ้า และสินค้าที่จำเป็นยังไม่ขาดแคลน แต่มีราคาสูงขึ้น และจากการดำเนินงานตามมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขาดสภาพคล่อง

2.วิกฤตการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตและการขาดแคลนวัตถุดิบด้านการเกษตร พบว่า วัตถุดิบด้านการเกษตร เช่น ปุ๋ยและอาหารสัตว์ไม่ขาดแคลน แต่มีราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สินค้าเกษตรบางรายการ เช่น ข้าวนาปีและยางพารามีราคาขายที่ต่ำกว่าต้นทุน 

3.วิกฤตการเงินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ SMEs พบว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เริ่มลดลงตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ แต่รายจ่ายครัวเรือนยังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในหมวดค่าโดยสาร ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วน SMEs ในภาพรวมค่อยๆ ฟื้นตัว แต่ในบางสาขายังไม่กลับสู่ระดับปกติ

4.วิกฤติเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจและการลดลงของขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการรับรองวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต พบว่า ควรต้องเร่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง

ที่ประชุมจึงออก มาตรการระยะเร่งด่วน (Quick Win) เพื่อรองรับสถานการณ์ในระดับวิกฤตเศรษฐกิจและมาตรการที่ต้องเร่งดำเนินการต่อเนื่อง (Follow-up Urgent Policy)  และผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 ส.ค.65 

มาตรการระยะเร่งด่วน (Quick Win) 12 มาตรการ เพื่อรองรับสถานการณ์ในระดับวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น

1.มาตรการขอความร่วมมือจากภาคเอกชนให้ลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง (ตอนบ่ายและช่วงหัวค่ำ)  

2.ลดการใช้ไฟฟ้าของหน่วยงานราชการ

3.เร่งรัดการบังคับใช้ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ พ.ศ. ....

4.จัดจำหน่ายบัตรโดยสารรายเดือน

5.พิจารณาต่ออายุมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันแพง

6.โครงการบริหารจัดการปุ๋ย ประกอบด้วยการชดเชยราคาปุ๋ยให้เกษตรกร สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการให้สถาบันเกษตรกร

7.โครงการส่งเสริมการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในสถานการณ์ปุ๋ยแพง

8.โครงการพักทรัพย์พักหนี้

9.มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู)

10.มาตรการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs

11.การบูรณาการฐานข้อมูลเกษตรกรในหลายมิติ เช่น ฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและฐานข้อมูลพื้นที่ทางการเกษตร ฐานข้อมูลหนี้เกษตรกร

12.การขยายวัตถุประสงค์ของมาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของผู้ประกอบธุรกิจภายใต้วงเงินจาก พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ 
 

มาตรการที่ต้องเร่งดำเนินการต่อเนื่อง (Follow-up Urgent Policy) 10 มาตรการ

1.ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

2.ลดต้นทุนและปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งโดยมุ่งเน้นการขนส่งทางราง

3.ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ภายในประเทศอย่างเต็มประสิทธิภาพ

4.ศึกษาความคุ้มค่าในการร่วมลงทุนตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยโพแทส

5.พัฒนาทักษะทางการเงินในทุกช่วงวัย

6.การดำเนินการของคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย

7.เร่งส่งเสริมการค้าออนไลน์  

8. การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและหุ่นยนต์

9.เจรจา Digital Economic Partnership กับสิงคโปร์

10.ขยายความร่วมมือด้าน BCG เป็นต้น

นายกฯ แจงประเด็นขึ้นค่าไฟ-ราคาสินค้า

ในส่วนของประเด็นเรื่อง "ค่าไฟฟ้า" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัญหาการขึ้นค่าไฟขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อเสริมสภาพคล่องให้เดินหน้าไปได้ โดยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เน้นย้ำว่าประชาชนต้องเดือดร้อนน้อยที่สุด และผู้ประกอบการมีสภาพคล่องในการดำเนินการโดยไม่กระทบกับการบริหารจัดการไฟฟ้าให้ประชาชน

ในส่วนของการปรับขึ้นราคาสินค้าต่าง ๆ ได้มีการหารือร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยให้พิจารณาอย่างรอบคอบ หากมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาต้องเป็นไปตามกลไกต้นทุนการผลิต หากราคาต้นทุนลดลงก็ต้องปรับลดลงด้วย ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการหารือเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน เน้นย้ำประชาชนต้องไม่เดือดร้อนและผู้ประกอบการสามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ควบคู่กัน 

เรื่องที่คุณอาจพลาด
วิดีโอยอดนิยม

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP เศรษฐกิจ

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ