ว่ากันว่า วัตถุประสงค์ของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมานั้น ส่วนหนึ่งคือเพื่อท้าทายขีดจำกัดของมนุษย์ ส่วนหนึ่งคือเพื่อยกระดับการใช้ชีวิตให้สะดวกสบาย และอีกส่วนหนึ่งคือเพื่อยืดชีวิตและหลีกหนีความตาย
นั่นทำให้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ เป็นสิ่งที่ได้รับการให้ความสนใจในการศึกษาและพัฒนาเสมอมา เพราะการยืดอายุขัยให้ได้มากที่สุด ถือเป็นความปรารถนาของใครหลายคน ในขณะเดียวกัน การพยายามหาวิธีที่ง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้นในการรักษาโรคต่าง ๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
ล่าสุดเริ่มมีการพูดถึง “เนวิแคม” (NaviCam) กล้องหน้าตาเหมือนยาแคปซูลขนาดจิ๋วที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตรวจโรคในช่องท้องโดยเฉพาะ โดยสามารถลดความยุ่งยากและต้นทุนได้อย่างมากเมื่อเทียบกับวิธีการเดิม ๆ
NaviCam เป็นกล้องชนิดหนึ่งที่มีลักษณะและรูปร่างคล้ายกับแคปซูล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลืนลงไปได้เหมือนกับการรับประทานยา จากนั้นแพทย์ที่ทำการรักษาจะควบคุมกล้องตัวนี้ ให้มันเคลื่อนตัวไปมาในช่องท้องของผู้ป่วย เพื่อสำรวจและเก็บภาพจุดที่ผิดปกติหรือเป็นแผล ทำให้แพทย์สามารถดำเนินการรักษาได้ตรงจุดและแม่นยำขึ้น
“สวนสัตว์โฮโลแกรม” สวนสัตว์ยุคใหม่ ไม่มีสัตว์ของจริงแม้แต่ตัวเดียว
นวัตกรรมเดือนแห่งความรัก แอปฯ ช่วยจัดงานแต่ง “All About Wed”
“เบี่ยงวิถีฟ้าผ่าด้วยแสงเลเซอร์” นักวิทย์หานวัตกรรมทดแทนสายล่อฟ้า
NaviCam ตัวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนวิธีการรักษาโรคที่เกี่ยวกับช่องท้องแบบเดิม ๆ ที่มักใช้ยาสลบและสอดกล้อง ซึ่งถือว่าเป็นการรบกวนผู้ป่วยแถมยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง
ปัจจุบัน NaviCam ได้รับการพิสูจน์โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) แล้วว่า มีความปลอดภัยสำหรับการรักษา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลามากขึ้นในอนาคต
จากการทดลองใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปกติ 350 คน พบว่า มีผู้ป่วย 325 คนเลือกใช้ NaviCam ตัวนี้ แสดงว่า ผู้ป่วยเองก็ไว้วางใจกับเทคโนโลยีตัวนี้ เพราะการรักษาด้วยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบหรือการสอดกล้องเข้าร่างกายเหมือนวิธีแบบเก่า และตัวกล้องเองก็สามารถย่อยสลายไปเองในร่างกายของผู้ป่วยได้ใน 24 ชั่วโมง หรือในบางกรณีอาจนานถึง 2 สัปดาห์
แต่ตัว NaviCam เองก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานเหมือนกัน เช่น ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอุดตันของทางเดินอาหารหรือรูทวาร ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ที่อายุต่ำกว่า 22 ปี หรือผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงคนที่มีค่า BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 38
ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยบอกว่า การศึกษาครั้งนี้ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นและจะทำการทดลองในผู้ป่วยให้มากขึ้นไปอีกเพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนที่สุด ก่อนนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอนาคต
เรียงเรียงจาก AnX Robotica / Engadget
ภาพจาก AnX Robotica