จีนเปิดตัวบริการอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ ที่ความเร็วในการส่งข้อมูลเร็วกว่าโครงข่ายหลักของหลาย ๆ ประเทศมากกว่า 10 เท่า และเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมคาดการณ์ไว้ถึง 2 ปี
บริการอินเทอร์เน็ตดังกล่าวเป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตใยแก้วนำแสงที่เชื่อมระหว่าง เมืองทางเหนืออย่างกรุงปักกิ่ง เมืองตอนกลางคืออู่ฮั่น และกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ โดย 3 เมืองนี้ สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 1.2 เทราบิตต่อวินาที (tb/s)
ย้อนรอยโครงการ "ตำรวจจีนในอิตาลี" มีจุดเริ่มต้น-จุดจบอย่างไร?
มัดรวม 5 ผลิตภัณฑ์จาก Apple ที่เลิกผลิตในปี 2023
สื่อคาด Samsung เตรียมเปิดตัว 9 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ในตระกูล "Galaxy" ปีหน้า
โครงการนี้ใช้ใยแก้วนำแสงทอดยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร โดยเริ่มใช้งานจริงมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมแล้ว แต่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวาน (13 พ.ย.) หลังจากทดสอบแล้วว่า ดำเนินการได้ปกติ และผ่านการทดสอบการปฏิบัติงานจริงทั้งหมด
ความสำเร็จนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชิงหัว, บริษัทไชนาโมบายล์ (China Mobile), บริษัทหัวเว่ย (Huawei Technologies) และโครงข่ายเพื่อการศึกษาและการวิจัยของจีน (Cernet)
ความสำเร็จนี้ทำลายการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญที่ว่า โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เร็วกว่า 1 เทราบิตต่อวินาทีจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงปี 2025
โครงข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศส่วนใหญ่ในโลกทำงานที่ความเร็วเพียง 100 กิกะบิตต่อวินาที (gb/s) เท่านั้น แม้แต่สหรัฐฯ ที่เพิ่งเสร็จสิ้นการเปลี่ยนผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตก็มีความเร็วที่ 400 กิกะบิตต่อวินาทีเท่านั้น
การเชื่อมต่อระหว่างปักกิ่ง-อู่ฮั่น-กว่างโจวเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแห่งอนาคต (FITI) ของจีน ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้เวลาดำเนินการ 10 ปี
อู๋ เจี้ยนผิง จากสถาบันวิศวกรรมศาสตร์จีน ผู้นำโครงการ FITI กล่าวว่า โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงนี้ “ไม่เพียงแต่เป็นการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังช่วยให้จีนมีเทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้างอินเทอร์เน็ตที่เร็วยิ่งขึ้นไปอีก”
ด้าน หวัง เล่ย รองประธานของหัวเว่ย กล่าวว่า “โครงข่ายอินเทอร์เน็ตนี้สามารถถ่ายโอนข้อมูลที่เทียบเท่ากับภาพยนตร์ความละเอียดสูง 150 เรื่องได้ในเวลาเพียงหนึ่งวินาที”
อู๋บอกว่า โครงการ FITI เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2013 และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล บริหารงานโดยกระทรวงศึกษาธิการ และสร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยชิงหัวและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ อีก 40 แห่ง โดยจะพร้อมให้บริการอย่างสมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้
โครงข่ายอินเทอร์เน็ตใหม่นี้ถือเป็นความก้าวหน้าอีกประการหนึ่งสำหรับจีน ซึ่งมีความกังวลเกี่ยวกับการพึ่งพาเราเตอร์และส่วนประกอบอื่น ๆ ของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
เรียบเรียงจาก SCMP
ภาพจาก Freepik
ซูเปอร์คอมทำนายแชมป์พรีเมียร์ลีก พร้อม 20 อันดับ สเปอร์ส หลุดยาว
ครม.ไฟเขียวจ่ายเงินชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่
"ชิกิต้า" (CHIQUITA) เด็กไทยมาแล้ว! ทีเซอร์แรก BABYMONSTER นับถอยหลังเดบิวต์