เผย 14 ประเภทคดีหลอกลวงออนไลน์ ที่คนไทยเป็นเหยื่อมากสุด!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ตำรวจไซเบอร์ เผย 14 ประเภทคดีหลอกลวงออนไลน์ ที่คนไทยตกเป็นเหยื่อมากที่สุด ตั้งแต่คอลเซนเตอร์ ถึงโทรหลอกให้รักแล้วโอนเงิน!

วันที่ 17 พ.ย. 66 บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ “ตำรวจไซเบอร์” ร่วมเปิดโปง 12 คดีดังที่เป็นภัยไซเบอร์ ผ่านละครคุณธรรม 12 เรื่อง โดยงานนี้ ได้รับเกียรติจาก พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บัญชาการฯ รักษาราชการแทน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้มาเผยรายละเอียด คดีออนไลน์ที่คนไทย โดนมากที่สุด ถึง 14 ประเภทด้วยกัน

เปิดสเปกกล้อง "Xiaomi 14 ซีรีส์" ถ่ายรูปสวย ด้วยเลนส์ LEICA

แอปเปิลเปิดตัว iPhone 14 สีใหม่ “สีเหลือง” อร่ามงามตา

 

พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ เผยว่า ภัยไซเบอร์ เป็นภัยคุกคามที่พบได้ทุกระดับ ตั้งแต่นักเรียนนักศึกษา จนถึงกลุ่มคนที่เกษียณอายุราชการ ซึ่งจากสถิติตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 65 ถึง 10 พฤศจิกายน 66 พบว่ามีการรับแจ้งความผ่านเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com กว่า 390,863 คดี โดยเป็นคดีออนไลน์กว่า 361,655 คดี สร้างความเสียหายประมาณ 49,000 ล้านบาท และยังมีผู้เสียหายที่ไม่ได้เข้าแจ้งความอีกจำนวนมาก

พร้อมกันนี้ ยังเผยประเภทคดีออนไลน์ 14 แบบ ที่มีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งความมากที่สุด ดังนี้

  • หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ (ไม่เป็นขบวนการ) จำนวน 145,748 คดี
  • หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานฯ จำนวน 47,996 คดี
  • หลอกให้กู้เงิน จำนวน 40,251 คดี
  • หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 29,808 คดี
  • ข่มขู่ทางโทรศัพท์ (Call Center) จำนวน 25,938 คดี
  • หลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน จำนวน 13,987 คดี
  • หลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัลต่าง ๆ จำนวน 11,234 คดี
  • หลอกให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบฯ จำนวน 9,610 คดี

 

  • หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ (เป็นขบวนการ) จำนวน 8,504 คดี
  • ถูกกระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำนวน 3,805 คดี
  • หลอกให้ลงทุนตามพ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ จำนวน 3,196 คดี
  • หลอกให้รักแล้วโอนเงิน จำนวน 2,931 คดี
  • หลอกเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล จำนวน 2,073 คดี
  • ลักลอบเข้ารหัสคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น 115 คดี
  • และคดีออนไลน์อื่น ๆ กว่า 10,584 คดี

 

พร้อมกันนี้ พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ แนะนำวิธีป้องกันภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ 3 ข้อด้วยกัน คือ

  • ไม่เชื่อ อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ
  • ไม่รีบ อย่าเพิ่งเร่งรีบในการโอน
  • ไม่โอน อย่าเพิ่งโอนหากไม่มั่นใจ

ทั้งนี้ ควรมีสติและตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่า การติดต่อดังกล่าวเป็นการติดต่อโดยภาครัฐหรือผู้ให้บริการต่าง ๆ จริง จึงจะดำเนินธุรกรรมหรือโอนเงินไป

ขอบคุณข้อมูลจาก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

ภาพจาก Shutterstock

ช็อก! “ดีเจโก” กรีนเวฟ พลัดตกโรงแรมในซอยสุขุมวิท 20 เสียชีวิต!

เชียร์ "แอนโทเนีย" รอบตัดสิน Miss Universe 2023 เช้า 19 พ.ย.นี้

เปิดรายชื่อ 11 ชาติเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลยูโร 2024

TOP ไอที
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ