ทำนาอย่างเดียวอยู่ไม่ได้! กรณีศึกษาจากชาวนาญี่ปุ่น ในยุคต้นทุนพุ่ง ขาดทายาทสานต่อพาชมนาข้าวขั้นบันไดสไตล์ญี่ปุ่น พื้นที่พัฒนาสินค้าเกษตรควบคู่การสร้างจุดท่องเที่ยวในชุมชน
นาข้าวขั้นบันได ฮามาโนะอุระ ในจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น พื้นที่ประมาณ 65 ไร่ มีอายุกว่า 400 ปีมาแล้ว นาผืนนี้ได้รับการดูแลโดยกลุ่มเกษตรกรยูหิ ซึ่งเป็นเกษตรกรในพื้นที่
คุณลุงมัสซึโมโต มาซาฮิโระ และคุณลุงมัสซึโมโต นากากิ 2 เกษตรกรจากกลุ่มเกษตรกรยูหิ บอกว่า พวกเขาสานต่อการทำนาผืนนี้มาตั้งแต่รุ่นทวด เมื่อก่อนหลายคนอาจบอกว่าการเป็นเกษตรกรในญี่ปุ่นนั้นเป็นอาชีพที่ทำเงินได้ดี แต่มายุคนี้คุณลุงบอกเลยว่าทำนาอย่างเดียวอยู่ไม่ได้
แจกเส้นทางนั่งรถไฟลอยน้ำเที่ยว “กรุงเทพฯ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์”
มิชลิน คีย์ สัญลักษณ์ใหม่ของมิชลิน ไกด์ ให้โรงแรมที่พักทั่วโลก
ปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นไม่ค่อยได้กำไรจากการขายข้าวมากเท่าไรนัก เนื่องจากต้นทุนการปลูกข้าวปรับสูงขึ้นมาก ทั้งค่าปุ๋ย ค่าเครื่องจักร และต้นทุนการผลิตอื่น ๆ รวมแล้วต้นทุนเพิ่มขึ้นมาประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์
นาผืนนี้ มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 130,000 เยนต่อไร่ ขณะที่รายได้อยู่ที่ 160,000 เยนต่อไร และใน 1 ปีเก็บเกี่ยวได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น คือ ในช่วงเดือนสิงหาคม และเริ่มปลูกอีกครั้งในเดือนเมษายนของปีถัดไป
น่าเศร้า นาขั้นบันได 400 ปี ไร้ทายาทสานต่อ ดันเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ยิ่งไปกว่านั้น คุณลุงมัสซึโมโต ยังบอกว่า ปัจจุบันพื้นที่นาในญี่ปุ่นลดน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะภาคเกษตรกรรมประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน คนหนุ่มสาวไม่ค่อยทำเกษตรกันแล้ว
เพื่อเป็นการอนุรักษ์นาผืนนี้เอาไว้ และเพื่อให้เกษตรกรพอมีรายได้เพิ่มเติมในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว เกษตรกรที่นี่จึงเริ่มพัฒนาที่นาผืนนี้ให้เห็นแหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย อย่างเช่น การเพิ่มระฆังรัก ป้ายขอพร ตู้กดกาชาปอง เป็นกิมมิคดึงดูดนักท่องเที่ยว แทนที่จะมาดูนาเฉย ๆ ก็มีการใส่สตอรี่เข้าไปให้ทริปนี้มีความหมายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการติดไฟบริเวณคันนา เพื่อทำเป็นสถานที่ถ่ายภาพสวย ๆ ก็สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากเช่นกัน
ที่นี่เพิ่งเริ่มพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ไม่นาน เพราะฉะนั้นรายได้หลักตอนนี้ยังคงมาจากการทำนา แต่หลังจากนี้จะต้องบุกตลาดการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่นการนำของที่ระลึกต่าง ๆ มาวางขายให้มากขึ้น เพื่ออนุรักษ์นาผืนนี้เอาไว้ และเพื่อให้ที่นี่เป็นมากกว่านาธรรมดา เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ก็ต้องมาทานอาหาร มาพักโรงแรมแถวนี้ เป็นการสร้างรายได้เข้าชุมชน คนในชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกัน
: คุณลุงมัสซึโมโต
ทั้งนี้ คุณลุงมัสซึโมโต บอกว่า ส่วนหนึ่งที่ทำให้ ฮามาโนะอุระ พัฒนาได้ขนาดนี้เพราะได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาล ที่ต้องการให้เกษตรกรรักษาที่นาเอาไว้ด้วยเช่นกัน