เศรษฐกิจไทย ครึ่งปีแรก 2564 โต 2% ยังไ่ม่เข้าสู่ภาวะถดถอยแต่แนวโน้มขยายตัวลดลง
สภาพัฒน์ แถลงตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรก 2564 โต 2% ปรับคาการณ์ทั้งปี อยู่ที่ 0.7-1.2% ยืนยันเศรษฐกิจไทยยังไ่ม่เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่แนวโน้มขยายตัวลดลงจากการแพร่ระบาดโควิด-19
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ เปิดเผย ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564 พบว่า เศรฐกิจในช่วงไตรมาส 2/2564 ขยายตัว 7.5% เทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรก 2564 ขยายตัวอยู่ที่ราว 2% ขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2564 ขยายตัวในกรอบ 0.7-1.2%
อัปเดตเยียวยา ม.39 ม.40 ทยอยโอนเงินวันละ 1 ล้านรายเริ่ม 24 ส.ค. ส่วนลดค่าเทอมเริ่มโอน 31 ส.ค.นี้
"ปรับลดค่าทวงถามหนี้" ต่ำกว่า 1,000 บาท ห้ามเรียกเก็บ เริ่ม ก.ย.64
สำหรับ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 มีปัจจัยหลัก คือ
ภาคการผลิต เช่น ภาคเกษตรขยายตัว 2% ตามผลผลิตพืชสำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง เป็นต้น การใช้จ่ายภาคเอกชน ขยายตัว 4.6% การลงทุนรวม ขยายตัว 8.1 % การลงทุนจากภาคเอกชนขยายตัว 9.2% และการลงทุนภาครัฐขยายตัว 5.6% ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัว 36.2%
ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจครึ่งปีแรกขยายตัวราว 2% จากฐานปีก่อนที่ต่ำผิดปกติ และมีการขยายตัวในบางสาขาสำคัญ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคส่งออกเป็นหลัก ส่วนภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม สภาพัฒน์ ยืนยันว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถดถอยแต่โมเมนตัมของการขยายตัวลดลงจากผลกระทบสถานการณ์โควิดระบาดหนัก
อู่ตะเภา ประกาศแต่งตั้ง นายวีรวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนแรก
นอกจากนี้ สภาพัฒน์ ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2564 ขยายตัวลดลงในกรอบ 0.7-1.2% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 1.5-2.5% เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ภายใต้สมมติฐานว่าการแพร่ระบาดภายในประเทศผ่านพ้นจุดสูงสุดในช่วงไตรมาส 3/64 และสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมในหลายพื้นที่ได้มากขึ้น ขณะที่การแพร่ระบาดในต่างประเทศไม่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
แต่ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงสำคัญๆ ประกอบด้วย
1.การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อของผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในหลายประเทศกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังมีการควบคุมการแพร่ระบาดในช่วงก่อนหน้า รวมถึงความไม่แน่นอนเรื่องความล่าช้าในการกระจายวัคซีน
2.ข้อจำกัดด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจท่ามกลางการว่างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่
3.ภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดในพื้นที่การผลิต รวมทั้งปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
4.ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก
ดังนั้น สภาพัฒน์ มองว่า แนวทางบริหารจัดการเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2564 คือ
1.การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้โดยเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ในช่วงที่เหลือของปี ไม่ว่าจะเป็น การตรวจเชิงรุก ในชุมชน หรือ ในกลุ่มแรงงาน การทำ Bubble and Seal ในกลุ่มโรงงาน แยกคนป่วยเพื่อคงการผลิตให้เดินไปได้ การรักษาผู้ป่วยเร่งจัดหายาและเวชภัณฑ์ไม่ให้จากระดับอาการสีเขียว ไปเป็นสีเหลือง หรือสีเหลืองไปเป็นสีแดง จัดหากระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง เป็นต้น
2.การช่วยเหลือเยียวยาประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจในช่วงที่การระบาดของโรคมีความรุนแรงและมีการดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวด ทั้งมาตรการการเงินและการคลัง ซึ่งออกไปแล้วมาตรการ โดยเฉพาะวงเงินกู้ซอฟท์โลน ของ กลุ่มเอสเอ็มอี เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการเดินหน้าธุรกิจต่อไป มาตรการช่วยเหลือภาคแรงงานผ่านมาตรการรักษาระดับการจ้างงาน
เมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายตามสมมติฐาน จะต้องดำเนินการ สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลงโดยให้ความสำคัญกับมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ การจัดพื้นที่สำหรับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการป้องกันการกลับมาระบาดของโรค การแก้ปัญหา และช่วยเหลือผู้ประกอบการ
ให้สามารถกลับมาประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ
ตลอดจน การเร่งขับเคลื่อนภาคการส่งออก การลงทุนภาครัฐและเอกชน หากสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายลง
ประวัติ "วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี" ผู้ว่าฯสมุทรสาคร ผู้นำฝ่าโควิด เปิดโพสต์ลาออก ขอพัก (ไม่ได้แพ้)