มีผลแล้ว! มาตรการเพิ่มช่วยลูกหนี้เจอพิษโควิด-19 ทั้ง " หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล"
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 สนับสนุนช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับลูกหนี้ได้มากขึ้น โดยสมามคมธนาคารไทยเข้ามาร่วมด้วยนั้น มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2564 คือ
ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ SMEs เข้าถึงมากขึ้น
“ชะลอฟ้อง” ลูกหนี้ NPL จากโควิด 19 ในสินเชื่อ 4 ประเภท
เปิดตัวแอป "เงินกู้คู่คนทำมาหากิน"
1. ปรับปรุงหลักเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟูสำหรับ SMEs ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อกว่าคาดและยังมีความไม่แน่นอนสูง เพื่อช่วยให้บางกลุ่มที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อฟื้นฟู ได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น ได้แก่
1.1 ขยายวงเงินสินเชื่อ SMEs ที่เดิมมีวงเงินสินเชื่อเดิมต่ำ หรือไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงิน เพราะใช้เงินทุนส่วนตัวหรือรายได้ของบริษัทในการประกอบธุรกิจเป็นหลัก เช่น จากเดิม มากกว่าหรือเท่ากับ 20 ล้านบาท ก็ขยายเป็น มากกว่าหรือเท่ากับ 50 ล้านบาท
1.2 เพิ่มการค้ำประกัน ลดค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน ให้กับลูกหนี้กลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น micro-SMEs และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อแก่ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางได้มากขึ้น
โดยสถาบันการเงินสามารถยื่นคำขอสินเชื่อฟื้นฟูมายัง ธปท. ตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2564
ผ่อนปรนการชำระ-ขยายเพดานวงเงิน มีผล ตั้งแต่ 3 กันยายน 2564 ถึงสิ้นปี 2565
2. ผ่อนปรนหลักเกณฑ์ให้ ลูกหนี้รายย่อยชั่วคราว ทั้ง หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เพื่อลดภาระการจ่ายชำระหนี้ ตลอดจนเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ มีผลตั้งแต่ 3 กันยายน 2564 จนถึงสิ้นปี 2565 โดย
2.1 ขยายเพดานวงเงินเป็น 2 เท่าของเงินเดือน สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล กรณีผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 30,000 บาท นอกจากนี้ สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล ผู้กู้สามารถขอสินเชื่อได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ให้บริการ
2.2 คงอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตที่ถูกปรับลดลงในช่วงการแพร่ระบาดก่อนหน้าเหลือร้อยละ 5 ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2565 และ
2.3 ขยายเพดานวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลจากรายละไม่เกิน 20,000 บาท เป็น 40,000 บาท และขยายระยะเวลาการชำระคืนจากไม่เกิน 6 เดือน เป็น 12 เดือน
ส่อง 4 สินเชื่อ ปล่อยกู้ ช่วยร้านอาหาร-ไรเดอร์ กระทบโควิด-19
ด้าน นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า มาตรการแก้ไขหนี้เดิม และเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ SMEs และรายย่อย ถูกปรับให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นและสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ โดยสถาบันการเงินต้องไม่สร้างแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสม (moral hazard) เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิผล โดยลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจริงก็ควรได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามสถานะของลูกหนี้แต่ละราย
ขณะที่ นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ธนาคารสมาชิกพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งรายย่อยและ SMEs ตามมาตรการเพิ่มเติมของ ธปท. ทั้งในเรื่องของการเพิ่มสภาพคล่องหรือแนวทางการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ ขณะนี้เมื่อทางสถาบันการเงินรับทราบรายละเอียดของมาตรการต่าง ๆ ที่ ธปท.ประกาศออกมาแล้ว สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะจัดทำทางเลือกการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แต่ละกลุ่ม (Product program) ให้สอดคล้องกับปัญหาและสถานะของลูกหนี้ และติดตามดูแลช่วยเหลือลูกหนี้อย่างใกล้ชิด