ม.หอการค้า เผย ศก.ไทยย่ำแย่ เจอโควิดพ่นพิษ ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค ดิ่งต่ำสุดรอบ 23 ปี
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 23 ปี หลังโควิด-19 แพร่ระบาด ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ ด้านภาคอุตสาหกรรม ยังกังวลโควิดระบาด เชื่อหากรัฐเร่งฉีดวัคซีน สถานการณ์จะกลับมาดีขึ้น
หุ้นไทย (13 ก.ย.64) ปิดการซื้อขายลดลง -1.59 จุด
ราคาทองวันนี้ – 13 ก.ย. 64 ปรับราคา 3 ครั้ง รูปพรรณบาทละ 28,350
เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงาน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงจาก ระดับ 40.9 เป็น 39.6 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 275 เดือน หรือ 22 ปี 11 เดือน นับตั้งแต่ทำการสำรวจในเดือน ต.ค. 41 เป็นต้นมา เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงย่ำแย่จากวิกฤตโควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก
ซึ่งจะส่งผลกระทบในเชิงลบ อย่างมากต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยบั่นทอนความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือน ส.ค.64 (TCC-CI) อยู่ที่ระดับ 19.8 ลดลงจาก ระดับ 20.7 ในเดือนก.ค. 64 เป็นการปรับตัวลดลงในทุกภาค โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ต่ำสุดในรอบ 32 เดือน นับตั้งแต่ทำการ สำรวจมาตั้งแต่เดือนม.ค. 62 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีฯ เดือน ส.ค.นี้ลดลง มาจากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาในประเทศไทยที่ ยอดผู้ติดเชื้อสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศทั้งปัจจุบันและ ในอนาคต, มาตรการควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 29 จังหวัด เพื่อควบคุมการระบาดไวรัสโควิด ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว และบริการ ซึ่งการสั่งปิดกิจการ ส่งผลให้ธุรกิจเริ่มขาด สภาพคล่องและทยอยปิดกิจการ มีการปลดคนงานเพิ่มขึ้น หรือมีการลดเงินเดือนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังมีความกังวลเสถียรภาพทาง การเมือง ตลอดจนการชุมนุมทางการเมือง
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 76.8 ลดลงจากระดับ 78.9 ในเดือน ก.ค. 64 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 16 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 และปรับตัวลดลงในทุก ภูมิภาคและทุกขนาดอุตสาหกรรม สำหรับดัชนีฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 90.9 จากระดับ 89.3 ในเดือน ก.ค. 64 โดยผู้ประกอบการมองว่าหากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ควบคู่ไปกับการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนครอบคุลมทุกกลุ่ม จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้ และจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อย ๆ ฟื้นตัว
สำหรับค่าเงินบาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาปิดที่ 32.64 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับราคาปิดเมื่อวันศุกร์ที่ 3 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ระดับ 32.62 บาท/ดอลลาร์ สรอ. โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ตามตลาดโลก หลังดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับ เงินสกุลหลัก จากการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณในการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินป้องกันผลกระทบจากการ แพร่ระบาดของโควิด-19 (เทียบเท่าโครงการ QE ของสหรัฐ) นอกจากนี้ทิศทางค่าเงินในเอเชียก็แข็งค่าตามตลาดที่มีการเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น
ไทยฉีดวัคซีนทะลุ 40 ล้านโดส เช็ก 10 เขตกทม.ติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด
โควิด-19 "เดลตา” ในอิตาลี กลายพันธุ์เพิ่มในตำแหน่งลดประสิทธิภาพวัคซีน