ไทยได้อะไร? จากนโยบายให้ชาวต่างชาติพำนักระยะยาว
ไทยได้อะไร? จากนโยบายให้ชาวต่างชาติพำนักระยะยาว โดยใช้ วีซ่าประเภทพิเศษ (Long-Term Visa)
หลังจากที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง โดยให้ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก เข้ามาทำงานหรือพักอาศัย ซึ่งแต่ละกลุ่มที่ต้องการเข้ามา
รัฐบาล ผุดวีซ่า “ผู้พำนักระยะยาว” ดึงต่างชาติศักยภาพสูง 1 ล้านคน หวังกระตุ้น ศก. หลังโควิด
โดยต้องมีเงื่อนไขที่ต้องเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนและการพัฒนาประเทศไทย เช่น ลงทุนขั้นต่ำในพันธบัตรรัฐบาลไทยตั้งแต่ 250,000-500,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีหลักฐานการลงทุนในประเทศไทย มีรายได้ขั้นต่ำ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า มาตรการนี้คาดว่าจะช่วยชดเชยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศและการสูญเสียรายได้จากภาคการท่องเที่ยว โดยคาดการณ์ว่า
ภายใน 5 ปี หากเพิ่มกลุ่มเศรษฐกิจสูง/ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ เข้ามาทำงานหรืออาศัยในไทยได้ 1 ล้านคน จะสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
1. จากการใช้จ่ายภายในประเทศได้ 1 ล้านล้านบาท
2. ลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาท
3.รัฐบาลจะมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท จากการเก็บภาษีรายได้ส่วนบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเกี่ยวกับการลงทุน
โดยวางไว้ 2 แนวทางในการดำเนินมาตรการฯ คือ วีซ่าประเภทพิเศษ (Long-Term Visa) และการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้นักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ยังถูกกำหนดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทุก ๆ 5 ปี ในส่วนการเช่าหรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทย ยังคงยึดหลักการตามมาตรการที่มีอยู่เดิม
สำหรับ 4 กลุ่มเป้าหมาย ที่รัฐบาลมุ่งหวังให้เข้ามาพำนักอาศัยในประเทศไทย คือ
1.กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง
2.กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ
3.กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย
4.กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ