เนื้อหมูแพง คาดเกิดจากผลผลิตน้อยลง
สถานการณ์ราคาน้ำท่วม ไม่ส่งผลกระทบแต่ราคาผักที่สูงขึ้นก่อนหน้านี้ ล่าสุด เริ่มส่งผลกระทบมายัง ราคาเนื้อหมู แล้ว โดยในภาคอีสานบางพื้นที่แตะกิโลกรัมละ 185 บาท ด้าน สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ขอภาครัฐอย่าแทรกแซงกลไลราคา ให้ไปคุมการโก่งราคาหน้าเขียงแทน เพราะเกษตรกรขาดทุนมานาน 7-8 เดือน
บรรยากาศการจับจ่ายซื้อเนื้อหมูในตลาดสดเทศบาล 5 เทศบาลนครอุบลราชธานี ตามแผงขายเนื้อหมู ยังมีลูกค้าเข้ามาจับจ่ายซื้อ แต่บางตากว่าก่อนหน้านี้ เนื่องจากเนื้อหมูมีราคาแพงขึ้น เช่น เนื้อช่วงหัวไหล่ เนื้อสะโพก ซึ่งอยู่ในกลุ่ม เนื้อแดง กิโลกรัมละ 130-150 บาท ส่วนสามชั้น เนื้อบด ซี่โครง 140 บาท เนื้อสันนอก สันใน สันคอ 160-185 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ปรับขึ้นมาได้หลายสัปดาห์แล้ว
เขียงหมูโอด! โรงงานขึ้นราคา “หมูจ่อทะลุ 200 บาท/โล”
หลายปัจจัยส่งราคาหมูพุ่งสูงขึ้น
โดยแม่ค้าที่ขายเนื้อหมูในตลาด บอกว่าราคาเนื้อหมูที่ขึ้นราคา ทำให้ลูกค้าขาประจำหายไป และไปซื้อเนื้อสัตว์ที่ราคาถูกกว่า เช่น เนื้อไก่ และ เนื้อปลา ทำให้มียอดขายลดลง จึงต้องการให้เนื้อหมูปรับราคาลง เพื่อให้ยอดขายกลับมา ส่วนสาเหตุที่ทำให้เนื้อหมูมีราคาแพง เชื่อว่า เนื้อหมูจากท้องตลาดน่าจะน้อยลง
ด้านนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวว่าสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติประกาศปรับราคาจำหน่ายสุกรมีชีวิตเป็น 84 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อวันที่ 4 พ.ย.นั้น จากการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พบว่าราคาซื้อขายและส่งมอบยังอยู่ที่ราคาไม่เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัม ตามที่ให้ความร่วมมือกับกรมการค้าภายในไว้
ส่วนด้านปริมาณสุกรในปีนี้ กรมปศุสัตว์แจ้งว่า ปริมาณ ผลผลิตลดลงจากปีก่อน โดยคาดว่าจะมีปริมาณสุกรที่ 15.86 ล้านตัว ลดลงจากปีก่อน 30% หากพบว่าตลาดใดมีปริมาณเข้าสู่ในตลาดไม่เพียงพอจะประสานสมาคมผู้เลี้ยงสุกรนำเนื้อสุกรชำแหละเข้าไปเสริมในตลาดหรือจะจัดจำหน่ายหมูธงฟ้า
ด้าน นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคม ผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์เนื้อหมูว่า น้ำท่วมและโรคระบาดที่เกิดขึ้นส่งผลให้ฟาร์มสุกรขุนได้รับเสียหาย 30% โดยผลจากการเกิดโรคระบาดเพิร์สทำให้แม่พันธุ์เสียหายกว่า 300,000 ตัว แต่การบริโภคของประชาชนก็ต้องการเท่าที่จำเป็นจากผลกระทบของโควิด คาดว่าปลายปี 2564 สถานการณ์จะดีขึ้นจากการเปิดประเทศ
สสจ.สระแก้ว สั่งปิดคลินิกฉีดจอห์นสันแอนจอห์นสัน 7 วัน
รวมถึงเกษตรกรยังประสบปัญหาภาระราคาอาหารสัตว์สูงขึ้นมาก ในขณะที่ ราคาสุกรขุนต่ำกว่าต้นทุน ส่งผลให้ผู้เลี้ยงขาดทุน 7-8 เดือน ราคาที่เหมาะสมที่สะท้อนต้นทุนไม่ควรต่ำกว่า 90 บาทต่อกิโลกรัม ขอรัฐบาลอย่าแทรกแซงกลไกการตลาดราคาจากหน้าฟาร์มในขณะนี้ เพราะไม่ได้เป็นการเอาเปรียบประชาชน ภาครัฐควรไปดูแลราคาหน้าเขียงไม่ให้โก่งราคาเกินควร