เปิดสูตร "คำนวณภาษีคริปโท" ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน เพื่อยื่นแบบภาษี
กรมสรรพากร ออกคำแนะนำการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาส่วนของการคำนวณคริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล เพื่อยื่นแบบ โดยยกตัวอย่างการคำนวณ 3 แบบ
คำแนะนำการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาส่วนของการคำนวณคริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล เพื่อยื่นแบบ
สรรพากรคลอดแล้ว "ภาษีคริปโท" พร้อมแจงละเอียดยิบ 24 ประเด็นสับสน
เจาะ"ภาษีคริปโต" พร้อมวิธีกรอกแบบการยื่นภาษี
ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ลอตเตอรี่ 1/2/65
- การจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล ให้แก่บุคคลอื่น เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนถือเป็นเงินได้ มาตรา 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร
- การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลประเภทเดียวกัน ให้ใช้วิธีที่มาตรฐานการบัญชีรับรอง เช่น วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average cost) และให้คำนวณ ต้นทุนแยกตามประเภทของเหรียญ
"เข้าก่อนออกก่อน-ถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่" 2 วิธีหลักใช้คำนวณภาษี
- วิธีเข้าก่อนออกก่อน The first-in first-out (FIFO) คือ การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลโดยคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่ ซื้อมาก่อนจะขายออกไปก่อนตามลำดับ จึงเป็นผลให้รายการคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่เหลืออยู่ ณ วันสุดท้ายเป็นคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่ซื้อมาครั้งหลังสุด
- วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ The moving average cost คือ การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล แต่ละประเภทจะกำหนดจากการ ถัวเฉลี่ยต้นทุน ของคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลประเภทเดียวกัน ณ วันต้นปีกับต้นทุนของคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่ซื้อมาในระหว่างปีซึ่งคำนวณทุกครั้งที่ซื้อคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล
ตัวอย่างที่ 1 คำนวณต้นทุนด้วยวิธีเข้าก่อนออกก่อนในปีแรก และปีถัดมาเปลี่ยนเป็นวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่
ในปีภาษี 2564 นายเอ ซื้อคริปโทเคอร์เรนซี 3 ครั้ง
- วันที่ 3 ก.พ. 64 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 20 บาท
- วันที่ 5 มิ.ย. 64 ปริมาณ 5 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 8 บาท
- วันที่ 15 ต.ค. 64 ปริมาณ 15 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 9 บาท
ขายคริปโทเคอร์เรนซี 2 ครั้ง
- วันที่ 10 ก.ค. 64 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 30 บาท
- วันที่ 16 พ.ย. 64 ปริมาณ 16 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 10 บาท
เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 5 ปี งวด 1 ก.พ.
นายเอ มีหน้าที่ นำเงินได้ จำนวน 121 บาท (100+21) ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร และสำหรับยอดคงเหลือ ปริมาณ 4 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 9 บาท ยังไม่ถือเป็นรายได้ของปีภาษี 2564
ต่อมา ในปีภาษี 2565 นายเอ ซื้อคริปโทเคอร์เรนซี 1 ครั้ง - วันที่ 15 ม.ค. 65 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 16 บาท และขายคริปโทเคอร์เรนซี 1 ครั้ง
- วันที่ 20 ม.ค. 65 ปริมาณ 12 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 17 บาท
แต่ในปีนี้ นายเอ เปลี่ยนวิธี คำนวณต้นทุนจากวีธีเข้าก่อนออกก่อนมาเป็น วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ รายละเอียดดังนี้
นายเอ มีหน้าที่ นำเงินได้จำนวน 36 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากรและสำหรับยอดคงเหลือ ปริมาณ 2 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 14 บาท ยังไม่ถือเป็นรายได้ของปีภาษี 2565
หมายเหตุ: ถ้าหากมีคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลหลายประเภท ให้คำนวณต้นทุนแยกตามประเภทคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลนั้นๆ
ต่อมาเป็นตัวอย่างที่ 2 คำนวณต้นทุนด้วยวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้ง 2 ปี
ในปีภาษี 2564 นายเอ ซื้อคริปโทเคอร์เรนซี 3 ครั้ง - วันที่ 3 ก.พ. 64 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 20 บาท
- วันที่ 5 มิ.ย. 64 ปริมาณ 5 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 8 บาท
- วันที่ 15 ต.ค. 64 ปริมาณ 15 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 9 บาท
และ ขายคริปโทเคอร์เรนซี 2 ครั้ง - วันที่ 10 ก.ค. 64 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 30 บาท
- วันที่ 16 พ.ย. 64 ปริมาณ 16 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 10 บาท
นายเอเลือกวิธี ต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ รายละเอียดดังนี้
นายเอ มีหน้าที่ นำเงินได้จำนวน 128 บาท (140-12) ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร และสำหรับยอดคงเหลือ ปริมาณ 4 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 10.75 บาท ยังไม่ถือเป็นรายได้ของปีภาษี 2564ในปีภาษี 2565 นายเอ ซื้อคริปโทเคอร์เรนซี 1 ครั้ง - วันที่ 15 ม.ค. 65 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 16 บาท นายเอ ขายคริปโทเคอร์เรนซี 1 ครั้ง - วันที่ 20 ม.ค. 65 ปริมาณ 12 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 17 บาท นายเอยังคงใช้วิธีคำนวณต้นทุนด้วยวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ รายละเอียดดังนี้
นายเอ มีหน้าที่ นำเงินได้จำนวน 30 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร
หมายเหตุ: ถ้าหากมีคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลหลายประเภท ให้คำนวณต้นทุนแยกตามประเภทคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลนั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม การคำนวณกำไรหรือขาดทุน กรณีที่ใช้คริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล แลกเปลี่ยนกับคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล ให้ถือว่าทั้ง 2 ฝ่ายขายคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล โดยต้องวัดมูลค่าเป็นสกุลเงิน(fiat money) ก่อน และถือว่ามูลค่าที่ขายคือมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่ได้รับ หากมีกำไรผู้ขาย คริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล ต้องนำกำไรมารวมเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90
ตัวอย่างที่ 3 กรณีใช้คริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล แลกเปลี่ยนกับคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล ในปีภาษี 2564
นายเอ นำคริปโทเคอร์เรนซี X ปริมาณ 8 เหรียญ ซื้อมามูลค่าเหรียญละ 15 บาท แลกกับคริปโทเคอร์เรนซี Y ปริมาณ 12 เหรียญ ของนายบี ที่ซื้อมาในมูลค่าเหรียญละ 9 บาท ณ วันที่แลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี X มีมูลค่า เหรียญละ 20 บาท และคริปโทเคอร์เรนซี Y มีมูลค่าเหรียญละ 14 บาท คำนวณกำไรหรือขาดทุน ดังนี้
นายเอ มีหน้าที่ นำกำไรจำนวน 48 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร
นายบี มีหน้าที่ นำกำไรจำนวน 52 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร
การกรอกภาษีเพื่อยื่นแบบ
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (ผ่านอินเทอร์เน็ต) ให้แสดงเงินได้ในรายการ รายได้จากการลงทุนประเภท ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 (กระดาษ) ให้แสดงกำไรจากการจำหน่าย จ่ายโอน หรือแลกเปลี่ยน คริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลในช่องเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ประเภทอื่นๆ
“กดยืนยัน” คนละครึ่งเฟส4 วันแรก พร้อมใช้จ่ายได้ทันที