ทีดีอาร์ไอ แนะ EEC แจงตั้งบริษัทลูก คลายข้อสังเกตทับซ้อนเอกชน
นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ ให้ความเห็นไม่ได้คัดค้านการจัดตั้งบริษัทลูก อยากให้อีอีซีออกมาชี้แจงเป้าหมายการตั้งบริษัทลูกเพื่ออะไร มีแนวทางบริหารจัดการอย่างไร
กรณีการจัดตั้งบริษัท อีอีซี พัฒนาสินทรัพย์สนามบิน จำกัด ของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ สกพอ. ที่หลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสงสัยว่าจะทับซ้อนกับเอกชนที่ประมูลมาอย่างถูกต้องหรือไม่ จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีคำชี้แจงเพิ่มเติมจากคณะกรรมการ อีอีซี ที่ออกมาอย่างชัดเจน
ส่วนความเห็นของนักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ ให้ความเห็นว่าไม่ได้คัดค้านการจัดตั้งบริษัทลูกดังกล่าว แต่อยากให้อีอีซีออกมาชี้แจงเป้าหมายการตั้งบริษัทลูกเพื่ออะไร มีแนวทางบริหารจัดการอย่างไร
UTA เดินหน้าสร้าง “อู่ตะเภา-เมืองการบิน” ตามแผนแม่บท
EEC ตั้งเป้าลงทุน 3 แสนล้านบาทในปีนี้
ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า คงต้องดูวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง บริษัทลูกแห่งนี้ขึ้นมาว่ามีรายละเอียดอย่างไร จะเป็นประโยชน์ต่ออีอีซีแค่ไหน ซึ่งหากอีอีซีชี้แจงข้อสังเกตส่วนนี้ได้ ก็คงไม่ได้มีแรงต่อต้านมากนัก
แพลลาเดียม แร่หายาก ราคาพุ่งขึ้นกว่าทองคำในช่วงสงครามยูเครน
อีกส่วนหนึ่งที่ต้องติดตาม คือความโปร่งใสในการดำเนินการว่าจะทับซ้อนกับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA หรือไม่ เพราะ UTA ได้ทำสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และ เอกชน (PPP) มาก่อน แต่บริษัทลูกอีอีซี พึ่งมาจัดตั้งในภายหลัง ซึ่งการดำเนินการของบริษัทลูกจะเกี่ยวเนื่องกับสัญญาสัมปทานมากน้อยขนาดไหน เป็นเรื่องที่คณะกรรมการ อีอีซี ต้องออกมาพูดให้ชัดเจน
ดร.สุเมธ จึงย้ำว่า เรื่องการจัดตั้งบริษัทลูกเป็นเรื่องที่ทำได้ ทุกคนไม่ได้คัดค้าน แต่สิ่งสำคัญต้องมีความชัดเจน ถูกต้องตามระเบียบราชการ ความโปร่งใสอยู่ตรงไหน และพิจารณาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการจัดตั้งบริษัทลูกแบบนี้เคยมีมาก่อนแล้ว เหมือนกับกรณีของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อเดินรถ ช่วยให้บริหารจัดการบุคลากรได้ง่าย มีความคล่องตัว แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีข้อจำกัดในการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อจำกัดด้านการลงทุน
วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน "คนแห่ลงทุนทอง" ยอดเปิดบัญชี Gold Wallet ทะลุ 60,000 บัญชี
ส่วนความคืบหน้าโครงการเมืองการบินภาคตะวันออก ของ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) นั้น บริษัท ได้นำส่งแผนแม่บทสนามบินฉบับสมบูรณ์ให้แก่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยในเดือนมิถุนายน 2564 และได้ว่าจ้างบริษัทออกแบบที่มีชื่อเสียง และมีประสบการณ์ในการออกแบบสนามบินขนาดใหญ่ เพื่อออกแบบอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณพื้นที่สนามบินแล้ว