อัปเดตความคืบหน้า "เงินบาทดิจิทัล" ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ
อัปเดตความคืบหน้า สกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชนที่ออกโดยแบงก์ชาติ (retail central bank digital currency: retail CBDC) ของไทยคือ "บาทดิจิทัล" กับผู้ว่าแบงก์ชาติ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผ่านรายการกาแฟดำ
“เงินบาทดิจิทัล” ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีรูปแบบคล้ายเงินสดดิจิทัล คือ ไม่ให้ดอกเบี้ยและอาศัยตัวกลางรับแลก/กระจายเงินให้ประชาชน รวมถึงจะมีเงื่อนไขไม่ให้เกิดการแลกเงินฝากเป็นเงินบาทดิจิทัลได้ในปริมาณมากและรวดเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบการระดมเงินฝาก/การปล่อยกู้ของระบบสถาบันการเงิน
รู้จัก CBDC "เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง" ธปท.ทดลองใช้ ไตรมาส 2/65
ธปท. เผย ผลศึกษาสกุลเงินดิจิทัล “CBDC” จ่อทดลองชำระค่าสินค้าในวงจำกัด ไตรมาส 2 ปี’65
โดยแบงก์ชาติมองว่า “เงินบาทดิจิทัล” จะเข้ามาเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินที่มีอยู่ ไม่ได้มาทดแทนทำให้ทางเลือกใดหายไป
ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า สาเหตุที่แบงก์ชาติมาสนใจ ดิจิทัลเคอร์เรนซี เพราะมองว่ากระแสนี้อย่างไรก็ต้องมาแน่ ซึ่งแบงก์ชาติต้องการสร้างทางเลือกประชาชนที่ปลอดภัย เข้าถึงได้เท่าเทียม และเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ไม่ได้หวังกำไร ต่างจากเอกชนที่ต้องการทำกำไร มีความไม่แน่นอน และไม่ชัดเจนว่าคนจะเข้าถึงได้เท่าเทียมหรือไม่
แบงก์ชาติจึงคิด Option (ทางเลือก) นี้ขึ้นมา ให้เกิดเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างใหม่ให้กับประชาชน ที่สำคัญคือผู้ให้บริการทางการเงิน ทั้งแบงก์ และ นอนแบงก์ เข้ามาเชื่อต่อเพื่อไปพัฒนาเป็นบริการให้กับประชาชนได้
เผยเทคนิครู้เท่าทันภัยคุกคาม “การเงินโลกดิจิทัล” ในยุคคริปโทฯบูม!
ถามว่ามันต่างจากคริปโทเคอร์เรนซีอย่างไร?ดร.เศรษฐพุฒิ อธิบายว่า บาทดิจิทัล ไม่ใช่คริปโทเคอร์เรนซี เพราะคริปโทเคอร์เรนซี คือ ไม่มีอะไรหนุนหลังเลย มีแต่ Algorithm อยู่ข้างหลัง และอันที่สองที่สำคัญ คือ มันไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (Legal tender) แต่ CBDC ทำได้
ขณะที่ในเอกสารของ ธนาคารแหง่ประเทศไทย เคยอธิบายไว้ว่า
“เงินบาทดิจิทัล” ต่างจากคริปโทเคอเรนซีต่างๆ ที่สร้างขึ้นโดยภาคเอกชน ตรงที่ คริปโทเคอเรนซีมูลค่าผันผวนมากและยังไม่มีกฎหมายเงินตรารองรับ ยกเว้นบางประเทศ เช่น เอลซัลวาดอร์ ที่ประกาศเป็นประเทศแรกยอมรับ บิตคอยน์ เป็นเงินตราใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายได้ แต่ภายหลังคนเริ่มออกมาประท้วง เพราะประสบปัญหาความผันผวนของมูลค่าบิตคอยน์ ทำให้ไม่อยากรับชำระมูลค่ากันด้วยบิตคอยน์ตามที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้ “เงินบาทดิจิทัล” ยังแตกต่างจากคริปโทเคอร์เรนซีบางประเภท ที่มีกลไกตรึงมูลค่ากับสกุลเงินหลักหรือสินทรัพย์อื่นให้ราคาผันผวนน้อยลง หรือสเตเบิลคอยน์ (stablecoins) ซึ่งผู้ถือก็อาจไม่สามารถมั่นใจได้ว่า สินทรัพย์ที่ใช้ตรึงมูลค่ามีอยู่จริงและใครจะเป็นผู้รับรองให้
ส่วนความต่างระหว่าง “เงินบาทดิจิทัล” กับ “เงินสด” ที่อยู่รูปธนบัตรและเหรียญกษาปณ์อย่างไร?
คำตอบคือ ปกติเวลาจะใช้เงินสด หลายคนต้องถอนเงินฝากมานับและใช้จ่ายเงินผ่านมือกัน ซึ่งจะต่างจาก “เงินบาทดิจิทัล” ที่ไม่มีอะไรให้จับต้องได้ แต่เป็นเงินที่ออกโดยธนาคารกลาง สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และมีสินทรัพย์ภาครัฐหนุนหลังเหมือนเงินสด ก่อนจะใช้งานได้ประชาชนจะต้องเอาเงินฝาก/เงินสดมาแลกไปเก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัล
วิธีคำนวณภาษี "จากการขายของออนไลน์" ทุกช่องทาง
สำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีสมาร์ทโฟน อินเทอร์เน็ต หรือบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน ก็จะสามารถเข้าถึงใช้งานได้ด้วย เช่น ผ่านการ์ดที่ใช้แตะเพื่อรับจ่ายเงินได้
เมื่อไหร่จะได้ใช้ "บาทดิจิทัล"
ดร.เศรษฐพุฒิ ขอย้ำว่า สิ่งที่เราดูอยู่ตอนนี้เป็นการทดลองแต่เป็นการทดลองแบบใช้จริง แต่ยังอยู่ในวงจำกัด โดยในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ จะเริ่มทดสอบกับแบงก์และนอนแบงก์บางราย
ในทางปฏิบัติ เราอยากให้แน่ใจว่าในเชิงเทคนิคมันสามารถใช้ได้ไม่มีปัญหา และดูว่าจุดที่เป็นความเสี่ยงมีอะไรบ้างและแก้ไขอะไรบ้าง
ในต่างประเทศก็ศึกษาเรื่องนี้ซึ่ง ไทยไม่ถือว่าช้าหรือเร็วไป
ดร.เศรษฐพุฒิ ยืนยัน ว่า ธนาคารกลางของไทยเป็นธนาคารแรกๆ ที่ศึกษาเรื่องนี้ แต่ตอนแรกดูในฝั่งระหว่างธนาคารกับซัพลายเออร์ ธนาคารกลางไทย กับ ธนาคารกลางต่างประเทศ ดูเรื่องของการโอนเงิน เพราะค่าธรรมเนียมการโอนเงินต่างประเทศค่อนข้างสูง จากนั้นก็มีโอกาสที่จะพัฒนา โดยเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกลาง ฮ่องกง จีน ยูเออี ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) และเฟสต่อไปที่กำลังดูอยู่คือ เรื่องการทำ CBDC สำหรับรายย่อย
ขณะที่ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เน้นพัฒนาใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงินระหว่างสถาบันการเงิน (wholesale CBDC) ซึ่งปกติจะตัดชำระกันผ่านบัญชีเงินฝากที่ธนาคารกลาง สำหรับไทยทดลองใช้ wholesale CBDC ได้ผลสำเร็จดีแล้ว ก็เริ่มมีแผนขยับขยายไปยังภาคธุรกิจและประชาชนให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีการเงินใหม่นี้ด้วย
ผลสำรวจธนาคารกลาง กว่า 60 ประเทศโดยธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements) ในปี 2020 พบว่า ธนาคารกลางกว่า 86% สนใจศึกษาพัฒนา CBDC ซึ่งเพิ่มขึ้นมากเกือบ 1 ใน 3 จากการสำรวจครั้งแรกในปี 2017
อั้นไม่อยู่! ไข่ อาหารกระป๋อง ขยับขึ้นราคา ขณะที่ค่าไฟฟ้าจ่อปรับขึ้น 4 บ./หน่วย พ.ค.นี้
มารอลุ้นกันว่า ประเทศไทยจะได้ใช้ "บาทดิจิทัล" กันจริงๆ เมื่อใด