โควิด-19 กับ ตลาดแรงงานไทย
ตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ไทยเผชิญกับปัญหาโควิด-19 ส่งผลทำให้ภาคแรงงานได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะภาคบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งมีกำลังแรงงานอยู่หลักล้านคน เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แม้ว่าการแพร่ระบาดจะยังคงอยู่ แต่การจัดการด้านสาธารณสุข จำนวนการฉีดวัคซีนของคนในประเทศ และความรุนแรงของโรค ทำให้รัฐบาบมีแนวโน้มที่จะกลับมาเปิดประเทศและฟื้นการท่องเที่ยวอีกครั้งในไม่ช้า ซึ่งนั่นอาจคาดการณ์ได้ว่า
ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า ตลาดแรงงานไทยมีแนวโน้มทยอยปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม แต่ยังคงเผชิญกับความเปราะบางและฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึง สะท้อนได้จากแนวโน้มรายได้แรงงานนอกภาคเกษตรในปี 2565 และ 2566 ที่คาดว่าจะยังต่่ากว่าช่วงก่อนการระบาดของ โควิด-19โดยเฉพาะกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพอิสระและลูกจ้างภาคบริการ เพราะเป็นผลจากแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การปรับตัวของผู้ประกอบการและแรงงานในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่มีความแน่นอน
ไทยกำลังเจออะไร? จากศึกรัสเซีย-ยูเครน เมื่อผลกระทบตามมาหลังน้ำมันพุ่ง
ครั้งแรกของปีทุเรียนไทยล็อตใหญ่กว่า 500 ตัน เตรียมส่งออกไปจีน
ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้า ตรงนี้เองจะกระทบไปถึงรายได้กลุ่มผู้ประกอบการอาชีพอิสระ รวมทั้งรายได้และการจ้างงานของลูกจ้างในภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติ คาดว่าจะอยู่ที่ 5.6 ล้านคน และทยอยเพิ่มขึ้นในปี 2566 มาอยู่ที่ 19 ล้านคน (ตามคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย)
ออเดอร์ "ข้าวเหนียวมะม่วง" พีค 5 ร้านยอดฮิตคนกดสั่ง LINE MAN
แต่นั่นเป็นสัดส่วนเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40 ล้านคนช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ โควิด-19 อย่างไรก็ตาม ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดเป็นสำคัญ
ในทิศทางเดียวกัน ในเมื่อการแพร่ระบาดยังคงอยู่และความรุนแรงของการแพร่ระบาดยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้ประกอบการเองจึงยังไม่มีความต้องการจ้างแรงงานใหม่มากนัก ขณะเดียวกันผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เริ่มปรับตัวเพื่อลดต้นทุนด้านรแงงานไปอย่างน้อยก็จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุดลง
แบงก์ชาติผ่อนเกณฑ์คนไทยทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ
แต่นายจ้างจะใช้วิธีเพิ่มชั่วโมงท่างานของลูกจ้างเดิมแทนการจ้างงานใหม่ หรือหากจ้างงานใหม่จะใช้วิธีจ้างลูกจ้างชั่วคราวมากกว่าลูกจ้างประจำเพราะมีความยืดหยุ่น
ข้อมูลดังกล่าว สะท้อนได้จากข้อมูลการจ้างงานในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ที่แม้ภาครัฐจะผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่จำนวนลูกจ้างในภาคบริการโดยรวมเพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 1% จากไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ขณะที่จำนวนลูกจ้างในธุรกิจโรงแรมเพิ่มขึ้นประมาณ 10% และส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างชั่วคราว
ทำให้สัดส่วนลูกจ้างชั่วคราวต่อลูกจ้างทั้งหมดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 18% จาก 16% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในภาคการผลิตยังเน้นการลงทุนในระบบ automation เพื่อทดแทนแรงงาน จึงไม่ได้ช่วยให้ภาพรวมมีการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นมากนัก
เพราะหากไปดูภาพรวมตลาดแรงงานในปี 2564 ชี้ว่า นายจ้างบางกลุ่มยังต้องการจ้างงานใหม่ สะท้อนจากอัตราต่าแหน่งงานว่างที่ไม่ได้ปรับลดลง บางสาขาเศรษฐกิจยังประกาศรับสมัครงานและมีแนวโน้มจ้างงานเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนแรงงานข้ามชาติที่ย้ายกลับถิ่นแต่ขณะเดียวกันแรงงานกลับหางานทำได้ยากขึ้น โดยพบว่าผู้ว่างงานเกิน 1 ปี เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 0.6 แสนคน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 เป็น 1.6 แสนคน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ส่วนผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนสูงขึ้นอยู่ที่ 2.7 แสนคน ส่วนหนึ่งเป็นแรงงานที่สำเร็จการศึกษาใหม่และส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่นายจ้าง ต้องการจ้างแรงงานที่ระดับการศึกษาไม่สูงมาก และเดิมใช้แรงงานข้ามชาติเป็นหลัก ซึ่งไม่ดึงดูดแรงงานไทยที่ว่างงาน
ครั้งแรกของปีทุเรียนไทยล็อตใหญ่กว่า 500 ตัน เตรียมส่งออกไปจีน
เรียบเรียงจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย