ไทยเผชิญ "เงินเฟ้อ" สูงในรอบ 24 ปี "ส่งออก" ฟันเฟื่องหลักมีแนวโน้มชะลอ
ไทยยังเผชิญเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 24 ปี ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย หวังภาคท่องเที่ยวและบริการกลับมา
เศรษฐกิจโลกปี 2565 มีแนวโน้มปรับชะลอลงจากปีก่อนหลังเผชิญความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นจาก 3ปัจจัยหลัก
บิตคอยน์ ดิ่งต่อไม่หยุด วูบกว่า 10% จ่อหลุดราคา 2 หมื่นดอลลาร์
เช็กราคาน้ำมันวันนี้ (14 มิ.ย.65) ตลาดโลกแนวโน้มพุ่งต่อ จับตาจีนล็อกดาวน์-ประท้วงในลิเบีย
1.สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลทำให้ปัญหาอุปทานคอขวดกลับมา "แย่ลง" และ "ยืดเยื้อ" กว่าที่คาด ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งพลังงานและอาหาร ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
2.มาตรการล็อกดาวน์ และ ควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มข้นจากนโยบายของจีน (Zero Covid) ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศและซ้ำเติมอุปทานโลก จากบทบาทของจีนที่เป็นประเทศผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่และหนึ่งในศูนย์กลางการขนส่งของโลก
3.การดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวของธนาคารกลางหลักที่เร็วและแรงเพื่อสกัดเงินเฟ้อกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเพิ่มความผันผวนในการเงินโลก
จับตา! ปรับเพดานตรึงราคาน้ำมันดีเซล แตะ 38 บาท/ลิตร
"อนุทิน" ขู่ ขายกัญชาให้เด็กต่ำกว่า 20 ปี มีโทษแน่นอน เชื่อ พ.ร.บ.ใหม่เนื้อหาครอบคลุม
คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่เหลือของปีนี้ รวมทั้งหมด 7 ครั้ง ครั้งละ 0.5% ใน 3 รอบการประชุมหน้า ส่งผลให้กรอบของอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ อาจแตะระดับ 3% ภายในสิ้นปีนี้
ส่งออกชะลอลงจากเศรษฐกิจ-การค้าโลก มีความเสี่ยงจากภาวะสงคราม
ภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ชะลอลงและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า จะส่งผลให้การส่งออกที่เป็นฟันเฟืองสำคัญสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลง จากอุปสงค์ในประเทศคู่ค้าชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยตลาดเฉพาะตลาดจีนที่ยังมีความเสี่ยงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่เข้มข้นและจากการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศ
ตลาดยุโรปที่มีความเสี่ยงจากภาวะสงคราม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังการลงทุน ภาคเอกชนที่เดิมประสบปัญหารชะงักของอุปทานและต้นทุนวัสดุและวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น
ด้านแรงงานส่งจากภาครัฐ แม้การก่อสร้างภาครัฐยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีนี้ จากความคืบหน้าของโครงการขนาดใหญ่ แต่ภาพรวมจะมีแรงส่งที่ลดลงเนื่องจากเม็ดเงินสำรับดำเนินโครงการใหม่ภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาทเหลืออยู่เพียง 4.8 หมื่นล้านบาทไว้ใช้จ่าย
เงินเฟ้อเร่งตัวสูงถึง 5.9% เฉลี่ยทั้งปีนี้ ระดับสูงสุดในรอบ 24 ปี กระทบ 7 ล้านครัวเรือน
รายได้ภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเติบโตช้าตามตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่กว่า 7 ล้านครัวเรือนหรือ 1 ใน 3 ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด จะเป็นข้อจำกัดต่อความสามารถในการรับมือกับค่าครองชีพที่เร่งตัวสูงในปีนี้ ปัญหาเงินเฟ้อสูงในปีนี้จะส่งผลซ้ำเติมทำให้สถานะทางการเงินถดถอยลง ทั้งจากสภาพคล่องที่ลดลงและหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นจากครัวเรือนบางส่วนที่ต้องกู้มาใช้จ่ายเพื่อชดเชยรายได้เพียงพอ ถือเป็นความเปราะบางของครัวเรือนไทยที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ภาคธุรกิจเจอต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งยังสามารถส่งผ่านไปยังผู้บริโภคได้จำกัด โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็น
ในส่วนของประเทศไทย คาดว่า กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 0.75% ในไตรมาส 3 ปีนี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพราคาและชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อคาดการณ์ที่เริ่มปรับสูงขึ้น รวมถึงป้องกันการไหลออกของเงินบาทและอัตราค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง
"นับตั้งแต่ปี 2565 จนถึงวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่าลงราว 3.6% ซึ่งเป็นการอ่อนค่าในทิศทางเดียวันและใกล้เคียงกับสกุลอื่นในภูมิภาค รวมถึงแรงกดดันจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และความเสี่ยงภาวะสงคราม ส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าอยุ่ในกรอบ 34.5-35.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 2.9% เป็นการปรับประมาณการขยายตัวจากเดิมที่ 2.7% โดยคาดว่าภาคการท่องเที่ยวและบริการจะฟื้นตัว โดยประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยรวม 7.4 ล้านคนในปีนี้ (จากเดิม 5.7 ล้านคน) รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดี หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย มาตรการต่างๆ ผ่อนคลายลง สินค้าเกษตรมีแนวโน้มขยายตัวดี ตามทิศทางราคาอาหารโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งไทยอาจได้ประโยชน์จากการที่หลายประเทศจำกัดการส่งออกสินค้าเกษตร
อัปเดต โปรแกรมถ่ายทอดสดวอลเลย์บอล เนชั่นส์ ลีก 2022 ได้ที่นี่!
เช็กสถิติวอลเลย์บอลสาวไทย พบ แคนาดา เนชั่นส์ ลีก 2022